ค่าระดับความแรงของแดดแค่ไหน? เสี่ยงผิวไหม้แดดพัฒนาเป็นมะเร็งผิวหนังได้
แดดเมืองไทยร้อนจนแทบทนไม่ไหว โดยเฉพาะในตอนกลางวัน และรู้หรือไม่ ? ปัจจุบันเกือบทั่วทั้งประเทศมีค่า ความรุนของแดด (UV Index) ค่าความแรงทะลุเพดานความรุนแรงสูงจัด ที่เป็นอันตรายสุ่มเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังและปัญหาดวงตา และควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน เช็กความแรงของแดด
UV Index หรือ ดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลต เข้าใจง่ายๆ คือ “ความแรงของแดด” เป็นการวัดการแผ่รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ในพื้นที่หรือเวลานั้นๆ คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาในปี พ.ศ. 2535 และได้นำมาปรับใช้ใหม่โดยองค์การอนามัยโลก และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกของสหประชาชาติ ใน พ.ศ. 2537
ระดับความรุนแรงของแดด UV Index สามารถจำแนกได้ดังนี้
- สีเขียว ระดับ “ความรุนแรงต่ำ” ค่าเฉลี่ย 0–2.9 สวมแว่นกันแดดในวันที่ท้องฟ้าโปร่ง
ตากแดดนานๆ เสี่ยง “มะเร็งผิวหนัง” จริงหรือไม่? สัญญาณของโรคคืออะไร?
สงกรานต์ปีนี้! เลือก“ครีมกันแดด”ให้เหมาะกับตัวเอง เล่นน้ำสู้แดดไม่ต้องกลัวผิวเสีย!
- สีเหลือง ระดับ “ความรุนแรงปานกลาง” ค่าเฉลี่ย 3–5.9 ควรปกปิดผิวด้วยเสื้อผ้า หากต้องอยู่กลางแจ้งให้หลีกเลี่ยงในช่วงเที่ยงวัน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีแสงมากที่สุด
- สีส้ม ระดับ “ความรุนแรงสูง” ค่าเฉลี่ย 6–7.9 ปกปิดผิวด้วยเสื้อผ้า สวมหมวก สวมแว่นกันแดด ใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 30 และ PA มากกว่า 3+ อยู่กลางแจ้งให้น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
- สีแดง ระดับ “ความรุนแรงสูงมาก” ค่าเฉลี่ย 8–10.9 ใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 30 และ PA มากกว่า 3+ สวมเสื้อผ้ากันแดด สวมแว่นกันแดด สวมหมวกปีกกว้าง และไม่อยู่กลางแดดเป็นเวลานาน
- สีม่วง ระดับ “ความรุนแรงสูงจัด” ค่าเฉลี่ย 11+ ควรระมัดระวังอย่างมาก โดยใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 30 และ PA มากกว่า 3+ สวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว สวมแว่นกันแดด สวมหมวกที่สามารถปกปิดได้มิดชิด และหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งนานกว่า 3 ชั่วโมง
โดยปัจจุบันหลายจังหวัดทั่วทั้งประเทศไทยระดับความรุนแรงของ UV Index สูงจัดระดับ“ความรุนแรงสูงจัด” จึงควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่แดดจัด เช่น 09.00-15.00 น. เพราะถ้าหากโดดแดดในช่วงนี้ ประมาณ 15-20 นาที อาจทำให้ผิวหนังเกรียมแดด (sun burn) อาการผิวไหม้ เริ่มที่ 4 – 6 ชั่วโมงจนแย่ที่สุดที่ 24 ชั่วโมง ได้แก่ คัน ผิวแห้งและแดง จนถึงตุ่มน้ำพอง ควรพบแพทย์ผิวหนัง นอกจากนี้ยังมีปัญหาผิวคล้ำ เนื่องจากแสงแดด ผื่นผิวหนังอักเสบ ฝ้า กระ รอยดำ ผิวเสื่อมสภาพ ที่ปล่อยทิ้งไว้นานอาจสุ่มเสี่ยงเป็นมะร็งผิวหนังได้
หากเกิดปัญหาเหล่านี้ วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ได้แก่
- การหลีกเลี่ยงแสงแดดและความร้อน
- การใช้เสื้อผ้าปกปิด การใช้ร่ม การสวมหมวก เพื่อไม่ให้เป็นมากขึ้น
- ใช้เจลว่านหางจระเข้ หรือ After Sun Gel ที่มีส่วนผสมของสารลดการระคายเคืองทา เช้าและเย็นหลังจากมีอาการจนอาการดีขึ้น โดยเฉพาะจุดที่ไหม้จากแดด
- หากสงสัยว่าเกิดภาวะผิวไวแสงจากยาหรือครีมที่ทาภายนอก แนะนำให้หยุดใช้ยาหรือครีม หากผิวสีคล้ำเนื่องมาจากแดด ผิวจะค่อย ๆ ขาวขึ้นได้เองแต่ใช้ระยะเวลาหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือนหรืออาจใช้ครีมที่มีส่วนผสมของสารลดการสร้างเม็ดสีร่วมด้วย
- สำหรับโรคผิวหนังต่าง ๆ และโรคที่กำเริบขึ้นจากแสงแดด อาจต้องใช้ยาทาและยารับประทานร่วมด้วย ในกรณีของฝ้า กระ และรอยดำต่าง ๆ มีวิธีรักษาหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยา และการใช้เลเซอร์เพื่อกำจัดเม็ดสีส่วนเกิน ทั้งนี้แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องเพราะหากปล่อยทิ้งไว้ในระยะยาวก็จะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งผิวหนังรวมทั้งโรคเกี่ยวกับดวงตาด้วย
“ท้องร่วง ท้องเสีย” ซื้อยาปฏิชีวนะ-คาร์บอน กินเองได้หรือไม่ ?
ท้ายที่สุดแล้วเราควรดูแลผิวตัวเองด้วยการใช้ครีมกันแดด ซึ่งแพทย์แนะนำให้ทาผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป และมีค่า PA 3+ ขึ้นไปเป็นประจำทุกวันทั้งใบหน้าและผิวกาย โดยเฉพาะเด็กอ่อนและผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพผิวหนังอ่อนแอหรือแพ้แสงแดด ควรหลีกเลี่ยงการได้รับแสงแดดระหว่างวัน หากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก สามารถป้องกันตัวเองได้ง่ายๆ ด้วยการสวมหมวก สวมแว่นกันยูวี สวมเสื้อผ้าปกคลุมร่างกาย กางร่ม โดยเฉพาะบุคคลที่ต้องทำงานกลางแดดที่ควรระวังเป็นพิเศษ ควรแบ่งเวลาทำงานและเข้าร่มอยู่เสมอดื่มน้ำเยอะๆ หากรู้สึกหน้ามืด เวียนหัว ตาพร่า ร้อนแต่เหงื่อไม่ออก ให้รีบเข้าที่ร่มในทันทีเพราะนั้นคือสัญญาณภาวะของโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก ที่รุนแรงในถึงชีวิต สำหรับความแรงของแดดเมืองไทยในจังหวัดต่างๆ ที่มีระดับที่สูง สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของ : กรมอุตุนิยมวิทยา
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช และ กรมอุตุนิยมวิทยา
“ท้องร่วง ท้องเสีย” ซื้อยาปฏิชีวนะ-คาร์บอน กินเองได้หรือไม่ ?