สงกรานต์นี้อุ่นใจ พกยา-สมุนไพรไทย ติดตัวเดินทางกลับบ้าน
เทศกาลสงกรานต์ 2566 วนมาถึง หลายคนวางแผนที่จะกลับภูมิลำเนาหรือเดินทางท่องเที่ยวในสถานที่ไกล ๆ และแน่นอนการเดินทางนั้นย่อมเสี่ยงที่จะมีอาการปวดหัวตัวร้อน วินเวียนขึ้นได้ เพราะอากาศที่ร้อนช่วงเดือนเมษายน แนะยาสามัญประจำบ้านและสมุนไพร พกติดไว้รับมือทุกสถานการณ์
อาการเจ็บป่วยระหว่างเดินทางเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดคิด ดังนั้น เภสัชกรจึงได้แนะนำกลุ่มยา 5 กลุ่มที่ควรพกไปด้วยในการท่องเที่ยวแต่ละครั้ง อย่างไรก็ตามยาทั้ง 5 กลุ่มนี้ ควรได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมจากแพทย์หรือเภสัชกรเพราะอาจจะเป็นอันตรายขณะขับรถได้
- กลุ่มยาแก้ปวดเมื่อย ตัวอย่างของยากลุ่มนี้ ได้แก่ Paracetamol (พาราเซตามอล) ซึ่งยาตัวนี้ช่วยบรรเทาทั้งอาการปวดไม่รุนแรง และลดไข้ หากนักเดินทางมีกิจกรรมที่เสี่ยงทำให้เกิดอาการปวดมาก หรือมีการอักเสบของกล้ามเนื้อ
สงกรานต์ปีนี้! เลือก“ครีมกันแดด”ให้เหมาะกับตัวเอง เล่นน้ำสู้แดดไม่ต้องกลัวผิวเสีย!
สงกรานต์ 2566 ปีใหม่ไทยกับ 8โรคร้ายยอดฮิตที่ต้องระวัง!
- กลุ่มยาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ดังนี้ ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย ตัวอย่างของยากลุ่มนี้ ได้แก่ อาทิ ORS (ผงเกลือแร่) Ultracarbon (อัลตราคาร์บอน) Imodium (อิโมเดียม) Simethicone (ไซเมทิโคน) ยาธาตุน้ำขาว ใช้แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย เป็นต้น
- กลุ่มยาป้องกันเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน ได้แก่ Dimenhydrinate (ไดเมนไฮดริเนต), Diphenidol (ไดเฟนิดอล) ช่วยป้องกันอาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน โดยแนะนำให้รับประทานยากลุ่มนี้ก่อนออกเดินทางอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
- กลุ่มยาแก้แพ้ เป็นยากลุ่มต่อมาที่ค่อนข้างจำเป็นสำหรับนักเดินทาง ยากลุ่มนี้มีหลายตัว เช่น Hydroxyzine (ไฮดรอกไซซีน), Cetirizine (เซทิริซีน), Fexofenadine (เฟกโซเฟนาดีน) ช่วยลดอาการผื่นคัน และลดน้ำมูกได้ สำหรับนักเดินทางบางท่านที่ต้องการใช้ยาทาภายนอก อาจพิจารณาการใช้ยาทากลุ่มสเตียรอยด์
- กลุ่มยาประจำตัว ไม่ว่าจะเป็น ยาลดความดัน ยาลดไขมัน ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด หรือยาอื่น ๆ ที่ต้องรับประทานทุกวัน ควรจัดเตรียมยากลุ่มนี้ให้เพียงพอสำหรับการเดินทางแต่ละครั้ง
ด้านกรมแพทย์แผนไทย ได้แนะนำว่า ในช่วงอากาศร้อนจัดช่วงเทศกาลเสี่ยงฮีทสโตรกจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจและอาจเกิดอาการต่างๆ เช่น การเสียเหงื่อ รู้สึกไม่สบายตัว จิตใจไม่สบาย หงุดหงิด และหากร่างกายอ่อนเพลียอาจทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย
ข้อแนะนำประชาชน
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
- สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ไม่อยู่ในที่ชุมชน หรือ มีคนแออัด
- ดื่มน้ำเพื่อชดเชยการเสียน้ำในร่างกาย ควรเลือกดื่มเครื่องดื่มสมุนไพรที่มีรสเย็น เช่น น้ำต้มใบเตย น้ำย่านางหรือ รับประทานผลไม้ที่มีรสเย็น เช่น แตงโม แตงไทย เป็นต้น
- พกยาสมุนไพร เช่น ยาหอม ยาดมสมุนไพร พิมเสนน้ำ เพื่อช่วยคลายร้อน ยาหอมเทพจิตร
- ดื่มน้ำที่ลอยดอกไม้โดยดอกไม้ที่นิยมใช้คือดอกมะลิ จะช่วยทำให้ชื่นใจ แก้กระหาย แก้อ่อนเพลีย ช่วยคลายเครียด ช่วยให้นอนหลับสบาย ช่วยคลายร้อน และ บำรุงหัวใจได้ดี อีกด้วย
กรมแพทย์แผนไทยฯ เผย 4 สมุนไพร พกติดรถ ติดตัว เดินทางเที่ยวปีใหม่
อย่างไรก็ตามเทศกาลสงกรานต์คือเทศกาลรวมญาติที่หลายคนล้วนตั้งใจที่จะกลับภูมิลำเนาเพื่อพักผ่อนกายและใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือประเมินร่างกายตัวเองและรถยนต์ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมที่สุด ไม่ไหวอย่าฝืน ง่วงระหว่างทางควรหาที่พัก ดื่มไม่ขับโดยเด็ดขาด เพื่อให้สงกรานต์นี้เป็นความทรงจำที่ดี ไม่เกิดเหตุสลดตามมา เพราะไม่ว่ายาชนิดไหนก็ไม่สามารถรักษาชีวิตจากความประมาทได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
แนะวิธีการเก็บรักษายา ไม่ให้เสื่อมก่อนวันหมดอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว
เตือนสงกรานต์ ดื่มต้องไม่ขับโดยเด็ดขาด ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม