คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ผู้หญิงทุกคนต้องรู้ วิธีเตรียมตัว-ใครควรตรวจ?
ตรวจมะเร็งปากมดลูก เป็นเรื่องที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้เข้าใจและใส่ใจ การตรวจและการป้องกัน ควรตรวจเมื่อใด ความถี่ในการกี่ปี ตรวจเมื่ออายุเท่าไร และไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ควรตรวจหรือไม่ มะเร็งปากมดลูกมักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น จึงควรตรวจคัดกรอง หากพบสาเหตุจะสามารถรักษาได้ทันที
สำหรับผู้หญิงแล้ว มีโรคร้ายแรงมากมายที่เสี่ยงกว่าผู้ชายหลายเท่า อย่างเช่น มะเร็งปากมดลูก ที่เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม แต่มีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่า ทั้งๆที่ทรายถึงสาเหตุว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV หรือ Human Papillomavirus บริเวณเซลล์ปากมดลูก และเชื้อนั้นเกิดการกลายพันธุ์จนพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด และป้องกันได้ตั้งแต่อายุน้อยด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันและการตรวจคัดกรอง
ผู้ประกันตน ขอรับสิทธิตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกฟรี!
พฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยง “มะเร็งปากมดลูก” ทำไมผู้หญิงถึงเสี่ยงทุกคน?
ผู้หญิงทุกคนควรตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะ มะเร็งปากมดลูกมักไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจนในระยะต้นแต่จะสะสมบ่งเพาะและลุมลามก่อนจึงจะแสดงอาการที่ร้ายแรงออกมา
การตรวจ Pap Smear หรือ Pap Test คือการตรวจภายในที่ช่วยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อหาการติดเชื้อที่ช่องคลอด เช็กโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือปัญหาอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่สามารถทราบผลภายในหนึ่งวัน ยกเว้นรอผลตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่จะต้องใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ และหลังตรวจภายในสามารถกลับบ้านได้เลย ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการตรวจมะเร็งปากมดลูก คือช่วง 10-20 วันหลังจากมีประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายสะอาด
วิธีเตรียมตัวตรวจ Pap Smear
- สามารถตรวจภายในได้ทุกช่วงเวลา ยกเว้นช่วงที่มีประจำเดือนควรงดเว้นไปก่อน หรือหลังมีประจำเดือนไปแล้ว 5 วัน ยกเว้นถ้ามีอาการเลือดออกผิดปกติ ก็สามารถตรวจได้ทันที และยิ่งดีเพราะเท่ากับแพทย์จะได้วินิจฉัยว่าเลือดที่ผิดปกตินั้นเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่
- สำหรับคนที่มีปัญหาตกขาวผิดปกติ ไม่แนะนำให้สอดยาเพื่อรักษาก่อนมาตรวจภายใน เพราะจะทำให้ยาค้างอยู่ในช่องคลอด ทำให้ตรวจภายในไม่ได้
- ก่อนตรวจภายในสามารถทานอาหารและน้ำได้ปกติ ไม่จำเป็นต้องงดอาหารและน้ำเหมือนตรวจร่างกาย
- ควรปัสสาวะออกให้หมดก่อนรับการตรวจภายใน เพราะแพทย์จะได้ตรวจขนาดของมดลูกและปีกมดลูกได้อย่างชัดเจน
- งดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนตรวจภายในเป็นเวลาอย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง เพราะอาจส่งผลต่อการตรวจภายในได้
เมื่อไหร่ที่ ควรตรวจมะเร็งปากมดลูก?
- สตรีทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ขึ้นกับว่าเวลาใดถึงก่อนควรเริ่มทำการตรวจแป็ปสเมียร์ หลังจากนั้นทำการตรวจทุก 1-2 ปีสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจแปปสเมียร์ทุกปี หากผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี
- มีอายุมากกว่า 35 ปี
- เคยมีความสัมพันธ์ทางเพศกับคนหลายคน หรือมีคู่รักที่มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นนอกเหนือจากเรา
- เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน หรือ เป็นผู้ที่มีเชื้อ เอช ไอ วี
- สูบบุหรี่หรือเคี้ยวยาเส้นเป็นประจำ
- เคยไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear) แล้วพบว่ามีความผิดปกติเล็กน้อย กรณีนี้ควรไปตรวจซ้ำทุกปีหรือสองปี เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อเยื่อผิดปกตินั้นหยุดการเจริญเติบโตอย่างแน่นอน
สธ.เร่งฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูกในเด็ก ป.5 ที่ตกค้างตามสิทธิ
ทั้งนี้คุณผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ โอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกน้อย การตรวจมะเร็งปากมดลูก อาจมีประโยชน์น้อยในช่วง 4-5 ปี หลังอายุ 21 ปี แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจภายใน ไม่ได้ตรวจหามะเร็งปากมดลูกเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการตรวจรังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งควรตรวจเป็นประจำทุกปีเพราะหากพบเจอความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ นำไปสู่การรักษาได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธอภาพ และมีโอกาสหายขาดสูงกว่า
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
7 สัญญาณ “มะเร็งปากมดลูก” คร่าชีวิตผู้หญิงลำดับต้นๆ แม้มีวิธีป้องกัน
มีเซ็กซ์ปลอดภัยไม่ติดเชื้อ HPV เชื้อก่อมะเร็งปากมดลูก-มะเร็งช่องคลอด