เชื้อ HPV ก่อมะเร็งปากมดลูก ไม่ใช่แค่เรื่องของผู้หญิง ผู้ชายก็เสี่ยงมะเร็งได้
มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมาก ในผู้หญิงและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่หญิงไทยอันดับต้นๆของโรคมะเร็ง ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยฉีดวัคซีน HPV แต่รู้หรือไม่? ไม่ใช่เฉพาะผู้หญิงแต่ผู้ชายก็ควรฉีดวัคซีนชนิดนี้เช่นกันเพราะความเสี่ยงก่อโรคมะเร็งได้ไม่ต่างกัน
มะเร็งปากมดลูก เป็นที่ยอมรับกันว่า สาเหตุของการเป็นมะเร็งปากมดลูกนั้น เกิดจากการติดเชื้อ Human Papilloma Virus หรือเชื้อไวรัส HPV ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเมื่อร่างกายได้รับเชื้อกลไกตามธรรมชาติก็จะพยายามกำจัดเชื้อให้หมดไป แต่หากกำจัดเชื้อออกไปได้ไม่หมด เชื้อก็จะซ่อนตัวและบ่มเพาะอยู่ในร่างกายได้นานกว่า 10 ปี เมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปกติให้กลายเป็นรอยโรค และเป็นมะเร็งปากมดลูกในที่สุด
มีเซ็กซ์ปลอดภัยไม่ติดเชื้อ HPV เชื้อก่อมะเร็งปากมดลูก-มะเร็งช่องคลอด
สธ.เร่งฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูกในเด็ก ป.5 ที่ตกค้างตามสิทธิ
การบ่มเพาะเชื้อที่ดีจะประกอบด้วยปัจจัยทางสุขภาพ อาทิ ระบบภูมิคุ้มกันที่ลดลงตามอายุที่มากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่จะพบมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงวัยทำงานช่วงอายุ 40-60 ปี
เชื้อ HPV ไม่ใช่เรื่องเฉพาะผู้หญิงแต่เป็นการติดต่อทางเพศสัมพันธ์
เราสามารถติดเชื้อ HPV หรือ Human Papilloma Virus ที่บริเวณเยื่อบุผิวหนัง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดโรคบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย โดยเชื้อจะอาศัยอยู่ในเซลล์เยื่อบุผิวหนัง และในเยื่อมูกตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ปาก คอ ด้านในของผิวหนัง และท่อปัสสาวะขององคชาต ช่องคลอด ปากมดลูก และภายนอกอวัยวะเพศ รวมถึงทวารหนัก โดยเชื้อไวรัสนี้มักติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์
ซึ่งในปัจจุบันมีการวิจัยพบว่า การมีเพศสัมพันธ์ด้วยปาก (Oral Sex) จะทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งช่องปาก (Oral Cancer) ได้ด้วย และการได้รับเชื้อ HPV ในกลุ่ม “ชายรักชาย” ก็สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นมะเร็งทวารหนัก หรือมะเร็งอวัยวะเพศได้ เพศชายจึงนับเป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นกัน และไม่ว่าจะเป็นเพศใด หากเปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือแม้แต่การมีความสัมพันธ์กับคนๆ เดียว แต่คนๆ นั้นเคยมีคู่นอนหลายคน ก็ย่อมมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อสูงขึ้น
นอกจากนี้ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Immunodeficiency) เช่น มีเชื้อ HIV อยู่ในร่างกาย หรือคนที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันจากการรักษาโรค เช่น เพื่อลดการต่อต้านอวัยวะจากกระบวนการปลูกถ่ายอวัยวะ ก็มีโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เช่นกัน
ฉีดวัคซีน HPV ช่วยได้ แต่ควรฉีดเมื่อไหร่ดี ?
สามารถรับได้ทั้งหญิงและชาย เริ่มได้ตั้งแต่อายุระหว่าง 9-26 ปีเป็นต้นไป สำหรับช่วงอายุ 9-15 ปี จะต้องรับวัคซีน 2 เข็ม หากอายุมากกว่า 15 ปีแล้วและยังไม่เคยได้รับวัคซีน HPV มาก่อนเลย จะต้องฉีด 3 เข็ม
7 สัญญาณ “มะเร็งปากมดลูก” คร่าชีวิตผู้หญิงลำดับต้นๆ แม้มีวิธีป้องกัน
ตกขาวแบบไหน? ผิดปกติรุนแรง สัญญาณมะเร็งปากมดลูก ที่ผู้หญิงควรระวัง
ติดเชื้อ HPV ยังไม่เท่ากับ มะเร็ง ?
ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (CDC) พบว่าเชื้อ HPV คือเชื้อไวรัสที่มีสายพันธุ์มากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่
- กลุ่มสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ (Low risk type) เป็นสายพันธุ์ที่ไม่ทำให้กลายเป็นมะเร็ง
- กลุ่มสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง (High risk type) เป็นสายพันธุ์ที่สามารถทำให้เซลล์เยื่อบุปากมดลูกผิดปกติ จนนำไปสู่มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) ได้ในที่สุด
ปัจจุบันมีการพัฒนาการตรวจค้นหาเชื้อ HPV ที่มีความแม่นยำอย่างมาก ซึ่งหากพบว่าติดเชื้อ HPV ควรพบแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาก่อนลุกลามเป็นโรคร้ายต่างๆ ที่เสี่ยงทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
เมื่อรู้แบบนี้แล้ว เราคงต้องเปลี่ยนมุมมองต่อการรับ 'วัคซีน HPV' กันใหม่ เพราะไม่ใช่เพียงแค่ผู้หญิงเท่านั้นที่เสี่ยงเป็น มะเร็งปากมดลูก จากการติดเชื้อ HPV ในผู้ชายก็สามารถเป็นมะเร็งทวารหนักหรือมะเร็งอวัยวะเพศได้จากเชื้อนี้ ทั้งการรับวัคซีนยังเป็นการป้องกันตนเองและป้องกันการเป็นพาหะแพร่เชื้อโรคไปยังคู่นอน การได้รับวัคซีนเร็วเท่าไหร่ ร่างกายก็จะมีภูมิคุ้มกันเร็วเท่านั้น และยังเพิ่มโอกาสการมีภูมิคุ้มกันก่อนเสี่ยงรับเชื้อ ซึ่งย่อมดีกว่าอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท และ โรงพยาบาลเปาโล
พฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยง “มะเร็งปากมดลูก” ทำไมผู้หญิงถึงเสี่ยงทุกคน?
คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ผู้หญิงทุกคนต้องรู้ วิธีเตรียมตัว-ใครควรตรวจ?