"มะเร็งปากมดลูก" รักษาหายหากรู้ทัน เช็กวิธีคัดกรอง-ป้องกันตามช่วงอายุ
ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก ทุกคน แต่รู้หรือไม่ ? เราสามารถป้องกันได้ เช็กความเสี่ยง และ วิธีการรักษา รู้ทันตั้งแต่เนิ่นๆ รักษาได้หายขาด
รู้หรือไม่ ? มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งอันดับ 2 ที่เฉลี่ยพบผู้ป่วยราว ปีละ 6,000 ราย คร่าชีวิตผู้หญิงไทยถึง 7 คนต่อวัน แม้จะทราบว่าจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า เอชพีวี (Human Papilloma Virus; HPV) ซึ่งสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ ก็ตาม แต่ที่น่ากังวล คือการไม่รู้ตัวว่าได้รับเชื้อ HPV เพราะในบางรายเชื้อ HPV จะใช้เวลาถึง 10 ปีในการก่อตัวเป็นมะเร็ง และกว่าที่อาการจะออก มะเร็งก็ลุมลามเกินกว่าจะแก้ไขได้
7 สัญญาณ “มะเร็งปากมดลูก” คร่าชีวิตผู้หญิงลำดับต้นๆ แม้มีวิธีป้องกัน
พฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยง “มะเร็งปากมดลูก” ทำไมผู้หญิงถึงเสี่ยงทุกคน?
ความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก
- มีคู่นอนหลายคนหรือมีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีคู่นอนหลายคน
- กินยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน (ถ้านานกว่า 5 ปีจะมีความเสี่ยงสูง)
- มีจำนวนการตั้งครรภ์และการคลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง
- มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส หนองใน เริม เป็นต้น
- สูบบุหรี่
- ขาดการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- ขาดสารอาหารบางชนิด โดยฉพาะผู้หญิงที่รับประทานผักและผลไม้น้อย มีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงกว่า
ดูแลป้องกันมะเร็งปากมดลูกตามช่วงอายุ
- กลุ่มอายุ 9 – 26 ปีที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ สามารถป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัส HPV ได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก และช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ปากมดลูกเกิดความผิดปกติจนในที่สุดเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็ง
- กลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปี ควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกภายใน 3 ปี หรือเริ่มตรวจเมื่ออายุครบ 21 ปี และควรทำการตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปีจนถึงอายุ 30 ปี
- กลุ่มอายุมากกว่า 30 ปี ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีการต่อไปนี้
- การตรวจทางเซลล์วิทยา (Pap Test) เพียงอย่างเดียว ถ้าได้รับผลการตรวจคัดกรองทุกปีเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี หรือมากกว่า สามารถเว้นระยะการตรวจคัดกรองเป็นทุก ๆ 2 – 3 ปีได้
- การตรวจทางเซลล์วิทยา (Pap Test) ร่วมกับการตรวจหาเซลล์ผิดปกติ ตรวจหาไวรัสเอชพีวี (HPV DNA Test) ถ้าผลการตรวจคัดกรองทั้งสองปกติ สามารถรับการตรวจทุก ๆ 3 ปีได้ แต่หากพบความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง จำเป็นต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
- ลิควิเพร็พ (Liqui Prep) เป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งเป็นการปรับปรุงในการทำ PAP Smear จากวิธีการเดิมในการตรวจคัดกรองหาเซลล์มะเร็งปากมดลูก
- การส่องกล้องตรวจความผิดปกติของปากมดลูก เรียกว่า คอลโปสโคปี (Colposcopy) เมื่อมีผลตรวจแปปสเมียร์ผิดปกติ
ตกขาวแบบไหน? ผิดปกติรุนแรง สัญญาณมะเร็งปากมดลูก ที่ผู้หญิงควรระวัง
รักษามะเร็งปากมดลูก
- การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า
- การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น
- การจี้ด้วยเลเซอร์
- การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด
ทุกวิธีที่กล่าวมาข้างต้นจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากมะเร็งอยู่ในระยะก่อนลุกลาม แต่หากเมื่อมะเร็งได้ลุกลามแล้ว จำเป็นต้องตัดมดลูกหรือทำการฉายแสง หรือเคมีบำบัดภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ฉะนั้นผู้หญิงทุกคนควรให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพประจำปี และ การตรวจภายใน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
“ผู้หญิงข้ามเพศ” มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือไม่ ?
เชื้อ HPV ก่อมะเร็งปากมดลูก ไม่ใช่แค่เรื่องของผู้หญิง ผู้ชายก็เสี่ยงมะเร็งได้