เครียดท้องอืดบ่อย สัญญาณ “ลำไส้แปรปรวน” แพทย์ชี้ไม่เชื่อมโยงมะเร็งลำไส้
เคยสังเกตกันไหมว่าหลายต่อหลายครั้งที่เราเครียดหรือมีความกังวลใจ เรามักจะมีอาการปวดท้อง ท้องผูก หรือถ่ายเหลว นั้นคืออาการของลำไส้แปรปรวน (IBS) ที่มีปัจจัยกระตุ้นหลากหลายแต่ไม่ได้เป็นสัญญาณของมะเร็งลำไส้
ลำไส้แปรปรวน หรือ Irritable bowel syndrome (IBS) เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของลำไส้ใหญ่ที่พบได้บ่อย แม้ ลำไส้แปรปรวน จะเป็นภาวะเรื้อรัง แต่ก็มีวิธีรักษา โดยการควบคุมอาการให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ
อาการของโรคลำไส้แปรปรวน
- ปวดท้อง
- การถ่ายอุจจาระผิดปกติ (ถ่ายเหลวบ่อยครั้ง หรือ ท้องผูก)
- ท้องอืด มีแก๊ส
สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน (IBS)
แม้สาเหตุของการเกิดโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) จะยังไม่ชัดเจน แต่มีหลายปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเป็น IBS
วิจัยพบคนท้องผูกบ่อย-ถ่ายยาก เสี่ยงมะเร็งลำไส้มากกว่า!
“ท้องร่วง ท้องเสีย” ซื้อยาปฏิชีวนะ-คาร์บอน กินเองได้หรือไม่ ?
ปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรคลำไส้แปรปรวน (IBS)
- การแพ้อาหาร สำหรับบางคนอาหารบางประเภทสามารถกระตุ้นการเกิดโรค IBS ได้
- ความเครียด
- ฮอร์โมน ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรค IBS สูงกว่าเพศชาย เนื่องจากผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจึงมีแนวโน้มที่จะพบโรคลำไส้แปรปรวนได้มากกว่า
ซึ่งอาการดังกล่าวจะแตกต่างจากโรคลำไส้อื่น ๆ เนื่องจากIBS ไม่ส่งผลต่อความเสี่ยงเพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนใหญ่พบว่าโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ทำให้มีอาการไม่สบายเล็กน้อย มีผู้ป่วยเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่มีอาการรุนแรง การปรับเปลี่ยนอาหารหรือการลดความเครียด กังวล เป็นการจัดการกับโรคลำไส้แปรปรวน (IBS)การรักษาเกิดโรคลำไส้แปรปรวน (IBS)
ปวดท้องแบบไหน? บอกตำแหน่ง “ลำไส้อุดตัน”ปล่อยไว้อันตรายถึงชีวิต
การรักษาโรค IBS ทำได้หลายวิธี
- ดูแลเรื่องการรับประทานอาหาร โดยหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่เป็นปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรค จำกัดแลคโตสที่ส่งผลให้ภาวะ IBS แย่ลง
- เพิ่มปริมาณกากใยอาหารในการบริโภคประจำวัน เพื่อช่วยระบบย่อยอาหารให้ทำงานดีขึ้น
- จัดการความเครียด เนื่องจากความเครียดส่งผลกระทบให้ IBS แย่ลง แนะนำให้เข้ากลุ่มขอคำปรึกษาหรือการสนับสนุน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ใช้ยา (แก้อาการท้องเสีย ยาต้านความวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า เป็นต้น) แม้ว่ายาจะไม่สามารถรักษาโรค IBS ได้ แต่ก็ช่วยให้จัดการกับภาวะลำไส้แปรปรวนได้ง่ายขึ้น
- เพิ่มแบคทีเรียที่ดี (Probiotic)เป็นภาวะที่สามารถจัดการได้ ด้วยการดูแลเรื่องการรับประทานอาหารและการปฏิบัติตนที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ ดังนั้นหากพบอาการผิดปกติ ไม่ควรละเลย ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและรับการรักษาที่ถูกต้อง เพื่อจะได้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ สำหรับบางคน
ขณะที่ผู้ป่วยบางรายอาจมีความจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา แต่ไม่ว่าในกรณีใดควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกวิธี อย่างไรก็ตามโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ไม่ใช่อาการของโรคที่ร้ายแรงกว่า เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือ ลำไส้อักเสบเรื้อรัง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช
แจกสูตรดีท็อกซ์ ด้วยผัก-ผลไม้ 3 อย่าง ลดอาการท้องผูกเรื้อรัง
6 สัญญาณ “มะเร็งลำไส้” พบอัตราสูง10:1แสนคน คาดเชื่อมโยงพฤติกรรมการกิน