"ท้องผูกเรื้อรัง" เร่งแก้ไขก่อนก่อนลำไส้พัง-ขั้นไหนควรพบแพทย์
การดูแลระบบขับถ่าย เป็นเรื่องที่จำเป็น และมักพบปัญหาท้องผูกในคนทั่วโลกทุกเพศทุกวัย ขณะที่ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ปล่อยท้องผูกไว้อาจลำไส้พังขณะเดียวกันอาจบอกโรคบางชนิด
ท้องผูกเรื้อรัง หมายถึง ภาวะท้องผูกที่เป็นต่อเนื่องกันนานเกิน 3 เดือน พบบ่อยทั่วโลก ในประเทศไทยพบได้ถึงร้อยละ 25 โดยพบได้ในกลุ่มช่วงอายุ 20 - 40 ปีบ่อยที่สุดถึงร้อยละ 57 เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย นอกจากนี้ยังพบบ่อยในผู้ที่มีภาวะขาดน้ำ ขาดอาหารที่มีกากใยสูง ผู้ที่ไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย และที่สำคัญคือผู้ที่มีภาวะเครียดทางอารมณ์
อาการท้องผูกเรื้อรัง
- ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
- อุจจาระเป็นก้อนแข็ง
- ต้องเบ่งมากกว่าปกติจึงจะถ่ายออก
วิจัยพบคนท้องผูกบ่อย-ถ่ายยาก เสี่ยงมะเร็งลำไส้มากกว่า!
ปวดท้องแบบไหน? บอกตำแหน่ง “ลำไส้อุดตัน”ปล่อยไว้อันตรายถึงชีวิต
- รู้สึกเหมือนมีอะไรอุดตันอยู่ในลำไส้ตรง และขัดขวางการขับถ่ายอุจจาระ
- รู้สึกเหมือนถ่ายอุจจาระได้ไม่สุด
- ต้องกดนวดหน้าท้องเพื่อช่วยให้ถ่ายอุจจาระง่ายขึ้น หรือต้องใช้นิ้วมือช่วยในการถ่ายอุจจาระ
สาเหตุของภาวะท้องผูก แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่
- ท้องผูกปฐมภูมิ คือ ท้องผูกที่เกิดจากการบีบและคลายตัวผิดปกติของลำไส้เอง ตัวอย่างเช่น ภาวะลำไส้แปรปรวน ภาวะลำไส้เฉื่อย หรือ การเบ่งถ่ายอุจจาระผิดวิธี กลุ่มที่สอง
- ท้องผูกทุติยภูมิ คือ ภาวะท้องผูกที่มีสาเหตุจากความผิดปกติเชิงโครงสร้างของลำไส้ หรือ โรคระบบอื่นๆ ส่งผลให้เกิดภาวะท้องผูก ตัวอย่าง เช่น มะเร็งลำไส้, โรคทางสมอง, โรคทางต่อมไร้ท่อ (เบาหวาน ไทยรอยด์) หรือท้องผูกจากยา แต่ทั้งนี้ ภาวะท้องผูกเรื้อรังส่วนใหญ่เกิดจากกลุ่มปฐมภูมิ
เครียดท้องอืดบ่อย สัญญาณ “ลำไส้แปรปรวน” แพทย์ชี้ไม่เชื่อมโยงมะเร็งลำไส้
สำหรับการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการท้องผูกในกรณีที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ร่วมกับมีอาการน้อย ไม่มีอาการสัญญาณเตือน อาจปรับเปลี่ยนสุขนิสัย ได้แก่
- หากปวดอุจจาระ ควรรีบเข้าห้องน้ำทันทีที่ทำได้ อย่ากลั้นเอาไว้
- การดื่มน้ำให้มากพอ อย่างน้อย 2-3 ลิตรต่อวัน ภาวะขาดน้ำจะทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง ยิ่งทำให้การถ่ายอุจจาระยาก
- การรับประทานอาหารเส้นใยสูง คือ ผัก ผลไม้ ทั้งนี้เส้นใยจากอาหาร นอกจากจะเป็นโครงให้อุจจาระมีความฟู ถ่ายง่ายแล้ว เส้นใยจากอาหารยังเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ ลดการรับประทานเนื้อสัตว์และแป้ง เพราะจะส่งผลให้ท้องผูกเป็นมากขึ้น
- ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายด้วยการเดินหรือวิ่งเหยาะๆ ช่วยสนับสนุนให้มีการบีบตัวของลำไส้
- การทำกิจกรรมเพื่อคลายเครียด
หากมีภาวะท้องผูกร่วมกับอาการ
- ถ่ายอุจจาระปนเลือด
- ผอมลงมาก
- คลำได้ก้อนที่ท้อง
- ปวดท้องรุนแรง
- อ่อนเพลีย
- ท้องอืดรุนแรง
อย่างไรก็ตามปัญหามักเริ่มต้นหลังวัย 50 อาการเป็นมากขึ้นหลังจากการรักษาแบบปรับเปลี่ยนสุขนิสัยแล้ว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไทและ กระทรวงสาธารณสุข
6 สัญญาณ “มะเร็งลำไส้” พบอัตราสูง10:1แสนคน คาดเชื่อมโยงพฤติกรรมการกิน
“มะเร็งลำไส้” ทำไมชายวัย 50+ ควรคัดกรอง-ปัจจัยอะไรยิ่งเสี่ยงมากขึ้น?