“ตรวจภายใน” ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม และวิธีเตรียมตัวก่อนขึ้นขาหยั่ง
การตรวจภายใน ผู้หญิงหลายคนยังคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นหากไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ก็ไม่จำเป็นต้องไปตรวจ จึงทำให้ผู้หญิงหลายคนอาจเสี่ยงเป็นโรคต่างๆได้ เนื่องจากไม่มีอาการเตือนในระยะเริ่มแรก แต่เมื่อลุกลามหรือรุนแรงก็อาจแสดงเตือนขึ้นมา และอาจทำให้สายเกินที่จะแก้ไขได้อีกด้วย เช็กเลยใครบ้างควรตรวจ!
สำหรับผู้หญิงแล้วการตรวจภายนจะเป็นทั้งการตรวจคัดกรองโรค หารอยโรคและป้องกันหาความผิดปกติของอาการต่างๆ เช่น ปวดอุ้งเชิงกราม ตกขาว ปวดประจำเดือน โดยแพทย์จะทำการตรวจตรวจระบบสืบพันธุ์เพศหญิงตั้งแต่อวัยวะภายนอก ถึงอวัยวะภายใน เพื่อให้แน่ใจว่ายังปกติดี และยังสามารถตรวจโรคที่เกิดขึ้นกับระบบสืบพันธุ์เพศหญิงได้อีกด้วย เช่น ช่องคลอดอักเสบ ประจำเดือนมาผิดปกติ เนื้องอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งโรคเหล่านี้หากตรวจพบความผิดปกติในระยะเริ่มต้นก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้
4 โรคภายในที่พบมากในผู้หญิงยุคใหม่! เช็กก่อนลุกลามเป็นมะเร็ง !
ผู้หญิงเสี่ยงมะเร็งมากกว่าผู้ชาย? เช็ก 5 มะเร็งที่พบมาก-สัญญาณเตือน
ใครบ้างที่ควรตรวจภายใน ?
- ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่อายุ 25 ปี หรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 3 ปี
- ผู้หญิงที่เคยผ่าตัดถุงน้ำรังไข่มาก่อน
- ผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็ง หรือเกี่ยวกับมดลูก รังไข่ และช่องคลอด
- มีความผิดปกติของประจำเดือน เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมามากหรือน้อยผิดปกติ ไม่มีประจำเดือน เคยมีประจำเดือนแล้วหายไปโดยไม่มีการตั้งครรภ์ หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดหลังหมดประจำเดือน
- มีตกขาวผิดปกติ เช่น สีผิดปกติ มีกลิ่นเหม็น คัน หรือมีน้ำไหลออกทางช่องคลอด
- มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เช่น มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ จำเป็นต้องตรวจภายในไหม ?
การตรวจภายในสำหรับผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนแพทย์จะเลือกวิธีการตรวจที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบกระทั่งความเป็นส่วนตัว โดยจะเลือกใช้เครื่องมือที่มีขนาดเล็ก หรือใส่น้ำยาหล่อลื่น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการเจ็บ หรือปวดในขณะกำลังตรวจ ซึ่งในระหว่างตรวจผู้เข้ารับบริการอาจรู้สึกตึงๆ หรือเจ็บเล็กน้อย เพราะการตรวจภายในไม่ได้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นการตรวจโรคทางนรีเวชอื่นที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วย
- เนื้องอกมดลูก เป็นการเจริญเติบโตของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกที่ผิดปกติเกิดได้ทั้งด้านนอกผนังมดลูก อยู่ในเนื้อมดลูกหรืออยู่ในโพรงมดลูก เนื้องอกมี 2 ชนิด คือ ชนิดธรรมดาและชนิดที่เป็นมะเร็ง
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นการที่เยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญนอกเหนือจากภายในโพรงมดลูกปกติ ซึ่งโดยปกติแล้วเยื่อบุโพรงมดลูก จะมีการหลุดลอกตามรอบประจำเดือน ส่งผลให้ขณะมีประจำเดือนอาจมีอาการปวดท้องรุนแรง
- ถุงน้ำรังไข่ ที่เกิดจากการทำงานตามปกติของรังไข่เพื่อสร้างไข่ที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ของฝ่ายหญิง จะเป็นถุงน้ำที่โตขึ้นแล้วแตกทำให้เซลล์ไข่ไหลออกมา หลังจากนั้นถุงน้ำนี้ก็จะค่อยๆ ยุบตัวไปเอง
- โรคทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองในแท้ โรคหนองในเทียม โรคเริม โรคพยาธิในช่องคลอดจากการติดเชื้อ หรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV)
ผู้หญิงรูปร่าง “ลูกแพร์-แอปเปิล” เสี่ยงมะเร็ง-โรคหัวใจกว่าหลายเท่า
มือใหม่ต้องรู้ การเตรียมตัวก่อนขึ้นขาหยั่งตรวจภายใน
- งดใช้ยาเหน็บ หรือใช้ยารักษาอาการช่องคลอดแห้ง (อย่างน้อย 72 ชม.)
- ไม่จำเป็นต้องโกนขน
- ตรวจภายในจะตรวจได้ หลังจากที่ประเดือนหมดสนิทก่อน
- ไม่จำเป็นต้องงดน้ำ หรืออาหารก่อนมาตรวจภายใน
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนเข้ารับบริการ
- สวมใส่เสื้อผ้าที่ใส่สบาย และไม่รัดแน่จนเกินไป
ซึ่งการตรวจภายในจะใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที โดยแพทย์จะส่งเซลล์ที่ได้ไปยังห้องปฏิบัติการ และส่งต่อไปอัลตร้าซาวด์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ แต่จะขึ้นอยู่กับความผิดปกติของแต่ละรายบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่สามารถทราบผลภายในหนึ่งวัน ยกเว้นรอผลตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่จะต้องใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์
เพราะฉะนั้น เลิกกลัว เลิกอาย ตรวจภายใน ไม่ได้เจ็บอย่างที่คิด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะหากต้องรักษาโรคร้ายแรงมากกว่านี้อาจเจ็บกว่าการเจอโรคตั้งแต่เนิ่นๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล