เช็กอาการนำ “ฝีดาษวานร” การติดต่อโรค ระยะฟักตัว และ วิธีป้องกัน
"ฝีดาษวานร" กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง หลัง WHO เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลก หลังมีการระบาดในพื้นที่บางส่วนของแอฟริกา ขณะที่ไทยพบผู้ป่วยต้องสงสัย สายพันธุ์ clade 1 ที่รุนแรงกว่าเดิม
โรคฝีดาษวานร (Monkeypox) เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะบนทวีปแอฟริกา โดยเชื้อไวรัสนี้แพร่เชื้อไปยังสัตว์อื่น และสามารถแพร่จากสัตว์ไปสู่คนได้ ซึ่งการรายงานที่พบโรคนี้ครั้งแรกเกิดจากลิงในห้องทดลอง จึงเรียกว่าหรือฝีดาษวานรนั่นเอง
อาการที่ควรเฝ้าระวังของโรคฝีดาษวานร
- มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- ต่อมน้ำเหลืองโต
- หลังจากมีไข้ประมาณ 1-3 วัน จะมีตุ่มเล็ก ๆ คล้ายผื่นขึ้นตามตัว
ไทม์ไลน์ผู้ป่วยสงสัย “ฝีดาษวานร clade 1” ย้ำไทยมีระบบป้องกันรัดกุม
กรมวิทย์ ยันฝีดาษวานรในไทยยังอยู่ในกลุ่ม Clade 2 อัตราการเสียชีวิตต่ำ

ซึ่งตุ่มเหล่านี้จะอักเสบและแห้งไปเองใน 2 – 4 สัปดาห์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ ดังนี้
- มีตุ่มนูนแดงคล้ายผื่น
- ภายในตุ่มมีน้ำใสอยู่ภายใน รู้สึกคัน แสบร้อน
- ตุ่มใสกลายเป็นหนอง เมื่ออาการรุนแรงขึ้น ตุ่มหนองเหล่านั้นจะแตกออกและแห้งไปเอง
ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องเสีย อาเจียน เจ็บคอ ไอ หอบเหนื่อยร่วมด้วย บางรายที่ภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีโรคประจำตัวอาจมีภาวะแทรกซ้อนทำให้อาการรุนแรงอันตรายถึงชีวิตได้
การติดต่อของโรคฝีดาษวานร อาการของโรคจะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ 7-14 วัน
- สัตว์สู่คน สามารถติดต่อได้จากสัตว์กัดแทะทุกชนิด โดยติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง น้ำหนอง ตุ่มหนองของสัตว์ ผื่นสัตว์ การถูกสัตว์ติดเชื้อกัดหรือข่วน การรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์ติดเชื้อและปรุงไม่สุก
- คนสู่คน โดยการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งอย่างไอ จาม ผื่น ตุ่มหนอง น้ำหนอง สิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อของผู้ป่วย รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์
วัคซีนป้องกันฝีดาษวานร เทียบ 2 วิธีการฉีดต้านเชื้อโรคได้ราว 66-89%
ป้องกันโรคฝีดาษวานร
- หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์หลังจากสัมผัสสัตว์เลี้ยงหรือสิ่งต่าง ๆ
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย
- สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงการแพร่ระบาด
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยหรือสัตว์ที่อาจเป็นพาหะของโรค
- การฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้
หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำในการปฏิบัติตนสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
อนามัยโลกประกาศ “ฝีดาษลิง” เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินระดับโลก
ฟิลิปปินส์พบผู้ป่วย “ฝีดาษวานร” รายแรกในรอบ 8 เดือน ยังไม่ทราบสายพันธุ์