อนามัยโลกประกาศ “ฝีดาษลิง” เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินระดับโลก

โดย PPTV Online

เผยแพร่

องค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดของโรค “ฝีดาษลิง” ในพื้นที่บางส่วนของแอฟริกา เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลก

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การระบาดของโรค "ฝีดาษลิง" ในพื้นที่บางส่วนของแอฟริกา กลายเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่เป็นข้อกังวลระหว่างประเทศ หลังจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งแอฟริกา (Africa CDC) ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขไปก่อนหน้านี้

การประกาศดังกล่าวมีขึ้น หลังจาก เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ WHO ได้เปิดเผยถึงความเป็นไปได้ที่ฝีดาษลิงจะแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในแอฟริกา และที่อื่น ๆ ของโลกว่าเป็นสิ่งที่น่ากังวล

คอนเทนต์แนะนำ
แอฟริกาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน “ฝีดาษลิง” ระบาด
แอฟริกาเผชิญวิกฤต "ฝีดาษลิง" ระบาดหนัก จ่อประกาศสภาวะฉุกเฉิน

อนามัยโลกประกาศให้ฝีดาษลิงเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินระดับโลก AFP/Cynthia S. Goldsmith/Centers for Disease Control and Prevention
เชื้อไวรัสฝีดาษลิง (แฟ้มภาพ)

ผู้อำนวยการใหญ่ของ WHO ได้ย้ำว่า การประสานงานระหว่างประเทศในการตอบสนองต่อการแพร่ระบาดดังกล่าวถือเป็นสิ่งสำคัญในการหยุดยั้งการระบาดของโรค และช่วยชีวิตผู้คนได้ 

ทั้งนี้การประกาศให้ฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินทำให้นักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะนำไปสู่การเร่งรัดการวิจัย การให้ทุน และการแนะนำมาตรการด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศอื่นๆ มากขึ้น

สำหรับโรคฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่อร้ายแรง และคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วอย่างน้อย 450 คน ระหว่างการระบาดครั้งแรกในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ก่อนที่จะแพร่กระบาดไปยังพื้นที่บางส่วนของแอฟริกากลางและตะวันออก 

การแพร่ระบาดดังกล่าวทำให้นักวิทยาศาสตร์กังวลเกี่ยวกับผลกระทบของโรคฝีดาษลิงสายพันธุ์ใหม่ และตั้งคำถามถึงความรวดเร็วของการแพร่กระจาย และอัตราการเสียชีวิตของผู้คนที่พุ่งสูงขึ้น

ทั้งนี้โรคฝีดาษลิงสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสใกล้ชิด เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสร่างกาย และการพูดคุย หรือหายใจใกล้กับผู้อื่น

ส่วนอาการมีลักษณะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ และมีแผลที่ผิวหนัง ร้ายแรงสุดคืออาจถึงแก่ชีวิตได้ และอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ผู้ติดเชื้อ 4 ใน 100 คน 

เชื้อไวรัสฝีดาษลิง แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์แอฟริกากลางหรือเคลดวัน (Clade I) และสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก หรือเคลดทู (Clade II) ซึ่งทั้งสองสายพันธุ์อาจทำให้เสียชีวิต แต่จากสถิติ สายพันธุ์เคลดวันจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่า 

นอกจากนี้ ยังมีการตรวจพบเชื้อไวรัสฝีดาษลิงที่แยกย่อยมาจากสายพันธุ์เคลดวัน เรียกว่า “เคลดวันบี” (Clade Ib) ทางตะวันออกของดีอาร์คองโก รวมถึงในเคนยา รวันดา และยูกันดา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เชื้อที่กลายพันธุ์นี้มีบทบาทในการระบาดระลอกปัจจุบัน

เปิดขั้นตอน! เลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ขานชื่อเปิดเผย-ไม่มี สว.ร่วมด้วย

เปิดประวัติ “อุ๊งอิ๊งค์” แพทองธาร ชินวัตร ว่าที่นายกฯ คนที่ 31 ของไทย

"วิษณุ" เผย คำชี้แจง "เศรษฐา" ช่วยดูกันหลายตา รับตัวเองไม่มีความสามารถ อาจจะพลาดได้

Bottom-PL-24 Bottom-PL-24

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ