7 สัญญาณเตือนเสี่ยง “โรคหัวใจ” อันตรายใกล้ตัวเฉียบพลันถึงชีวิต
“โรคหัวใจ” โรคเรื้อรังที่หากกำเริบขึ้นมาจะรุนแรงเฉียบพลันได้ถึงชีวิต โดยมีปัจจัยกระตุ้นหลากหลายหนึ่งในนั้นคือความเครียดและโรคอ้วน ที่ทำให้เกิดโรคในคนอายุน้อย เช็กอาการสุ่มเสี่ยงพบ 1-2 ข้อรีบพบแพทย์
ปฎิเสธไมได้เลยว่าสภาพแวดล้อมในปัจจุบันทั้งการใช้ชีวิต การงาน และมลภาวะ ทำให้เกิดความเครียดสูงซึ่งเป็นหนึ่งปัจจัยกระตุ้นโรคเรื้อรังต่างๆ นอกจากอายุที่มากขึ้น อย่างเช่นโรคหัวใจที่จะพูดกันในบทความนี้ โดยเฉพาะในคนรุ่นใหม่ที่มีแนวโน้มเป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อย เช็ก 7 อาการเบื้องต้น สัญญาณเสี่ยงโรคหัวใจถ้าหากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบมาพบแพทย์ทันที
สัญญาณเสี่ยงโรคหัวใจ
- เจ็บแน่นๆ อึดอัดบริเวณกลางหน้าอก อาจจะเป็นด้านซ้ายหรือทั้งสองด้าน (มักจะไม่เป็นด้านขวาด้านเดียว)
6 สัญญาณ “โรคหัวใจ”คร่าชีวิตเฉลี่ย 2 คนต่อชม.ใครบ้างเสี่ยง?
“หัวใจขาดเลือด” ที่สายบ้างานต้องเช็ก 4 สัญญาณเตือนก่อนหัวใจวาย
บางรายจะร้าวไปที่แขนซ้ายหรือทั้งสองข้าง หรือจุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน
- เหนื่อยง่าย เวลาออกกำลังกาย หรือเดินเร็ว ๆ
- หายใจเข้าได้ลำบาก อาจจะเป็นตลอดเวลา เป็นขณะออกกำลังกายหรือใช้แรงมาก หรือเป็นเฉพาะในเวลากลางคืน
- ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอกนอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึก
- วูบหมดสติ เป็นลม ไม่ทราบสาเหตุ
- ขาหรือเท้าบวม โดยไม่ทราบสาเหตุ
- อวัยวะเขียวช้ำ ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ
สัญญาณ “หัวใจวาย” และปัจจัยเสี่ยงกำเริบเฉียบพลันอันตรายถึงชีวิต
ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ
- อายุที่มากขึ้น อวัยวะต่างๆ ย่อมเสื่อมไปตามสภาพ
- เพศชายมีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้มากกว่าเพศหญิง
- ผู้ที่เป็นเบาหวานจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ 2-4 เท่า
- ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตที่มากกว่า 140/90 มม./ปรอท จะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงตั้งแต่อายุน้อยกว่า 50 ปี จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนปกติ
- ไขมันในเลือดสูง
- ภาวะอ้วน ในผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 21 จะมีผลต่อสุขภาพหัวใจ และหาก BMI มากกว่า 30 แสดงว่าคุณเป็นโรคอ้วน และมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
หากมีอาการข้างต้น ให้คิดไว้เสมอว่าอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจค่อนข้างชัดเจน แพทย์จะส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจ และทำการรักษาต่อไป ควรมาตรวจคัดกรอง เพื่อให้แน่ใจว่ามีปัญหาโรคหัวใจหรือไม่ กับแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโลและโรงพยาบาลสมิติเวช
ภาพจาก : Shutterstock
รู้จัก 4 โรคประจำตัว “ทักษิณ” หลังราชทัณฑ์รับตัวเข้าเรือนจำ
เช็กอาการ "ความดันโลหิตสูง" กำเริบหลังส่ง"ทักษิณ" ส่ง รพ. กลางดึก