กลุ่มโรค NCDs จากพฤติกรรมใช้ชีวิตไม่ติดต่อเรื้อรังแต่อันตรายถึงชีวิต
พฤติกรรมก่อโรคไม่รู้ตัว ไม่เกินจริงกับคำนี้ ชวนรู้จัก โรค NCDs หรือ “โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” ที่อาจนำมาซึ่งภาวะติดเตียง อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้
โรค NCDs หรือ non-communicable diseases คือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แต่จะสะสมร้ายแรงนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำ อาจ เกิดภาวะติดเตียง พิการและอาจจะถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งแม้ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อหรือแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ และมักจะเป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมการใช่ชีวิตแบบผิดๆ ทวีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นอาการเรื้อรังในที่สุด
กินจุ-กินบ่อย-กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน สัญญาณเบาหวาน รู้ทันรักษาทัน!
“ไขมันในเลือดสูง” สาเหตุโรคหัวใจ ที่ผู้หญิงเสี่ยงเสียชีวิตเฉียบพลันมากกว่า!
กลุ่มโรค NCDs คือโรคอะไรบ้าง
- โรคเบาหวาน ภาวะที่น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติอย่างควบคุมไม่ได้ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น ตาบอด ไตวาย แผลเรื้อรังที่เท้า
- โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง เกิดจากการเกาะของคราบไขมันภายในผนังหลอดเลือดส่งผลให้หลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองไม่เพียงพอ นำไปสู่โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย หลอดเลือดสมองตีบ หรือหลอดเลือดสมองแตก อัมพฤกษ์ อัมพาต
พฤติกรรมเด็กเปลี่ยน อัตราเด็กอ้วนพุ่งสูงขึ้น! ในช่วงปิดเทอม
-
โรคถุงลมโป่งพอง ถุงลมในปอดเกิดการอักเสบ จนทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซผิดปกติ มักเกิดจากการสูบบุหรี่
- โรคมะเร็ง เกิดจากเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติ ที่พบมากคือ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่
- โรคความดันโลหิตสูง เป็นภาวะความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติ เกิดจากอายุที่มากขึ้น ขาดการออกกำลังกาย ทานอาหารรสเค็ม ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งขึ้น แล้วเกิดภาวะหลอดเลือดตีบ
- โรคอ้วนลงพุง เกิดจากระบบการเผาผลาญผิดปกติ รับประทานของหวาน ของมัน ของทอดมากเกินไป และขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้ไขมันสะสมบริเวณใต้ผิวหนังและในช่องท้อง ทำให้มีรอบเอวใหญ่ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ใน เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และนอนกรนได้
พฤติกรรมเสี่ยงที่พาไปสู่โรค NCDs
กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนี้ มีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการกิน การทำงาน ความเครียด หรือแม้กระทั่งการพักผ่อน หากเราใช้ชีวิตอย่างไม่ระมัดระวัง ละเลยการดูแลสุขภาพ ความเสี่ยงในการเกิดโรคก็มีมากขึ้น
ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงได้โดยการปรับพฤติกรรม โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม เน้นการรับประทานผักและผลไม้ที่ไม่หวานจัดหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง ให้ได้สัปดาห์ละ 5 ครั้ง หรือรวม 150 นาที รวมทั้งการงดดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ พักผ่อนให้เพียงพอ ที่สำคัญควร ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอเพื่อวางแผนการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ หากพบรอยโรยด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท
ภาพจาก : shutterstock
วิจัยพบคน กทม. มีพฤติกรรมเนือยนิ่งสูง 79% คาดจากพฤติกรรมติดจอ
4 วิธีช่วยแก้อาการหิวก่อนนอน ทำให้เป็นนิสัยช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้!