หน้าร้อนแบบนี้ต้องระวัง โรคท้องร่วง - อาหารเป็นพิษใน "เด็ก"
โรคท้องร่วงและอาหารเป็นพิษในเด็กน่ากลัวกว่าที่คิด จึงควรระวังการกินอาหารเป็นพิเศษ
อากาศร้อนส่งผลให้เชื้อโรค โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี เราทุกคนจึงควรเฝ้าระวังโรคที่เป็นโรคติดต่อทางอาหารและน้ำเป็นพิเศษ โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วงและอาการอาหารเป็นพิษ ยิ่งในเด็กเล็กด้วยแล้ว...ยิ่งไม่ควรมองข้าม
โรคอุจจาระร่วง หรือที่เราเรียกกันว่า “ท้องเสีย” น่ากลัวกว่าที่คิด
อุจจาระร่วง เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 2 ของเด็กทั่วโลก
โควิด-19 ใน"เด็ก" ติดเชื้อ-หลังหายป่วย ยังมีเรื่องต้องระวัง
ลูกเป็นหวัดบ่อย แนะวิธีดูแลร่างกายช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง
อาจเกิดได้ทั้งจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสโปรโตซัว ปรสิต หนอนพยาธิ และเชื้อไวรัสโรต้า โดยเด็กจะมีการถ่ายอุจจาระเหลวปนน้ำมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายเป็นมูกเลือด 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำปริมาณมากๆ 1 ครั้งต่อวัน ในเด็กบางรายอาจมีอาการไข้ อาเจียน และภาวะขาดน้ำร่วมด้วย
อาการท้องเสียในเด็ก เกิดได้จากหลายสาเหตุ
โดยส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารและจากสารพิษของแบคทีเรีย (Toxin) ซึ่งอาจเกิดจากการทานอาหารไม่สุกดี ค้างคืน อุ่นร้อนไม่เพียงพอ ไม่ถูกหลักสุขอนามัย ดื่มน้ำไม่สะอาดหรือมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคอุจจาระร่วง
ภาวะอาหารเป็นพิษ (Food poisoning) อีกหนึ่งสาเหตุของการถ่ายท้องในเด็ก
เกิดจากการทานอาหารหรือน้ำที่มีสารปนเปื้อน เช่น แบคทีเรียในอาหาร หรือการได้รับสารเคมีบางชนิดเข้าสู่ร่างกาย เช่น สารพิษอื่น ๆ เมื่อร่างกายพยายามขับเอาสารเหล่านั้นออกมา จะทำให้เด็กมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระ ปวดหัว คอแห้งกระหายน้ำ และอาจมีไข้ได้
อาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ควรรีบพบแพทย์
- ท้องเสียต่อเนื่องนานเกิน 3 วัน
- มีอาการปวดท้อง และอาเจียนรุนแรง
- มีไข้สูง
- มีเลือดปนอุจจาระ
- เด็กมีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ปัสสาวะออกน้อย ผิวหนังเย็น ชีพจรเต้นเร็ว และไม่สามารถรับประทานน้ำเกลือแร่ทดแทนได้
ปรับน้ำในร่างกายให้สมดุล...คือหัวใจของการรักษา
การรักษาโรคท้องเสียในเด็ก แพทย์จะประเมินอาการจากภาวะขาดน้ำของเด็ก เพื่อให้น้ำทดแทนและการให้ยารักษาตามอาการอื่นๆ ที่แตกต่างกันในแต่ละราย เช่น อาการไข้ อาเจียน ปวดท้อง เป็นต้น โดยแบ่งเป็น 2 กรณี
- ในกรณีที่สามารถทานอาหารอ่อนๆ และผงเกลือแร่เพื่อทดแทนน้ำ และเกลือแร่ในร่างกายได้ แพทย์จะพิจารณาให้เด็กสามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้
- ในกรณีที่เด็กอาเจียนมากหรือมีภาวะขาดน้ำมาก แพทย์จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อรักษาภาวะขาดน้ำและปรับสมดุลเกลือแร่ในเลือด ไม่ให้เกิดภาวะช็อคจนเสียชีวิต
หน้าร้อนนี้! พ่อแม่ควรรับมือโรคท้องเสียในเด็กอย่างไร
- รับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุกใหม่ หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ทิ้งไว้ข้ามคืน
- หมั่นล้างมือให้สะอาด โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากเข้าห้องน้ำ
- ดื่มน้ำที่สะอาดหรือน้ำต้มสุก
- ปัจจุบันสามารถรับวัคซีนป้องกันโรคท้องเสียได้บางโรค เช่น วัคซีนป้องกันโรตาไวรัส ซึ่งสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรค
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลพญาไท