เปลี่ยนคู่นอนบ่อย-ไม่ป้องกัน เสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อะไรบ้าง?
ปัจจุบันรสนิยมความหลากหลายทางเพศเพิ่มขึ้น ทำให้ความเสี่ยงโรคทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้น เผยโรคอันตรายต้องระวัง!
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Diseases) เป็นการติดเชื้อจำพวก ไวรัส แบคทีเรีย และปรสิต เชื้อสามารถส่งต่อจากคนสู่คนผ่านเลือด น้ำอสุจิ อวัยวะเพศ และของเหลวในร่างกาย ซึ่งมักส่งต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้ไม่ว่าใครก็ป่วยได้ ไม่ว่าจะเป็นคู่รัก สามี ภรรยา ตลอดจนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
Safe SEX ปลอดภัย เผยข้อแตกต่างหนองในแท้-เทียมกลุ่มเสี่ยงต้องระวัง!
เรื่องบนเตียงเสี่ยงน้อยแต่ติดเชื้อ HPV ได้ เผย Safe SEX ปลอดมะเร็ง-โรคติดต่อ
ซึ่งมักไม่แสดงอาการในระยะแรกจะไม่ได้แสดงอาการทำให้เราชะล่าใจที่จะดูแลตัวเองและป้องกัน ทำให้เกิดการแพร่เชื้อสู่คู่นอนได้อย่างง่ายดาย หรืออาจเป็นพาหะไม่รู้ตัว
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- เริม (Herpes)
เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ติดต่อกันได้โดยสัมผัสโดนน้ำเหลืองของผู้ป่วย สามารถรับเชื้อได้หากดื่มน้ำแก้วเดียวกัน ใช้ภาชนะร่วมกัน การจูบและการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน อาการที่สังเกตได้คือ เกิดตุ่มใสๆ เล็กๆ บนผิวหนังบริเวณปาก หรือ อวัยวะเพศ เริ่มปวดแสบปวดร้อนแผลและแตกออก นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ร่วมกันด้วย เช่น ปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย มีไข้
- HIV หรือ เชื้อไวรัส Human Immunodeficiency Virus
ที่รู้จักกันในชื่อของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง สามารถติดต่อได้จากสารคัดหลั่งในร่างกายตั้งแต่ เลือด น้ำเหลือง น้ำอสุจิ ดังนั้นการมีเพศสัมพันธ์จึงเป็นกิจกรรมที่สามารถติดโรคนี้ได้ง่ายมาก อาการที่พบบ่อยคืออ่อนเพลีย มีไข้ ปวดตามร่างกาย ไปจนถึงภูมิคุ้นกันร่างกายต่ำจนเกิดกลายเป็นโรคเอดส์ AIDs ที่ผู้ติดเชื้อจะมีระดับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ต่ำกว่า 200 ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจนโรคต่างๆ สามารถเข้ามาแทรกซ้อนได้ง่าย โดยส่วนมากจะเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ
- มะเร็งปากมดลูก เกิดจากเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus)
เชื้อไวรัส HPV มีมากมายกว่า 100 สายพันธุ์และเป็นสาเหตุของโรคอีกหลายชนิดที่ติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ทั้งทางช่องคลอด ทวารหนัก ปาก รวมไปถึงรอยแผล รอยขีดข่วน ที่ได้รับการสัมผัสกับเชื้อไวรัสนี้ก็สามารถติดโรคได้แล้ว อาการที่สังเกตได้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ตกขาวมากกว่าปกติ เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะไม่ออก ปวดบวมที่กระเพาะปัสสาวะ โดยอาการเหล่านี้ มักอยู่ในระยะลุกลามแล้ว
- หูดหงอนไก่
เกิดจากเชื้อไวรัส HPV เช่นกัน สามารถเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อาการของหูดหงอนไก่นั้น โดยระยะเริ่มแรกนั้นแทบจะไม่มีอาการอะไรเลย
- ซิฟิลิส (Treponema Pallidum)
เชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อกันทางแผลและการมีเพศสัมพันธ์ แต่ไม่สามารถติดต่อกันได้จากสารคัดหลั่ง ในระยะแรกจะยังไม่มีอาการที่ชัดเจนเพราะใช้ระยะเวลาฟักตัวประมาณ 2-4 สัปดาห์ ทำให้โรคซิฟิลิสนั้นสามารถแพร่กระจายได้ง่าย เพราะผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ แต่อาการที่สามารถสังเกตได้คือแผลที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนักมีแผลที่เนื้อริมขอบนั้นแข็ง ไม่มีอาการปวด และหายเองโดยไม่ต้องใช้ยา
- หนองใน
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae สามารถติดเชื้อได้จากสารคัดหลั่ง น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด โดยเชื้อหนองในนั้นสามารถติดต่อกันได้จากการใช้ของร่วมกัน และสารคัดหลั่งขณะที่มีเพศสัมพันธ์หากไม่ป้องกัน
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
หากจะบอกว่าการไม่มีเพศสัมพันธ์เป็นวิธีที่ลดความเสี่ยงได้มากที่สุด แต่คงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ดังนั้นวิธีป้องกันจึงสำคัญ
- สวมถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เป็นวิธีที่ง่ายและตรงจุดที่สุด
- คัดกรองประวัติคู่นอน ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย การแพร่เชื้อของโรคต่างๆ นั้นมักมาจากการมีเพศสัมพันธ์ทั้งชายและหญิง การที่เรามีหลายคนก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการรับโรคอีกด้วย
- การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นการคัดกรองโรคและสร้างความมั่นให้กับคู่นอน
- ฉีดวัคซีนป้องกัน อย่างเช่น เชื้อไวรัส HPV เป็นต้น เพราะในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 14 สายพันธุ์ที่สามารถป้องกัน โรคมะเร็งปากมดลูก หูดหงอนไก่ ได้ด้วย
รณรงค์ “รักฉ่ำ ปิดจบด้วยถุง” พิกัดตู้จ่ายถุงยางอนามัยอัตโนมัติ
การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ส่วนใหญ่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ เมื่อแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ผู้ที่ได้รับเชื้อมักไม่แสดงอาการในระยะแรก ทำให้ยากต่อการสังเกตอาการด้วยตัวเอง และที่สำคัญบางโรคยังสามารถส่งต่อไปยังผู้อื่นได้แม้ยังไม่แสดงอาการอย่างเช่น โรคเริม เป็นต้น ซึ่งการเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ปัจจุบันทำได้สะดวกมากขึ้น ที่สำคัญโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิดสามารถแพร่เชื้อไปยังทารกขณะคลอดบุตร และขณะตั้งครรภ์ได้ ดังนั้นคู่รักที่กำลังวางแผนสร้างครอบครัว โดยเฉพาะการวางแผนมีลูกจึงจำเป็นมักตรวจสุขภาพก่อนมีลูกร่วมกันเพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกายของตนรวมถึงช่วยวางแผนป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเสี่ยงเป็นโรคตั้งแต่แบเบาะ
ปัจจุบันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคสามารถรักษาให้หายได้ บางโรคสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ และผู้ป่วยสามารถอยู่ร่วมกันกับคนในครอบครัวและสังคมได้ เมื่อเข้ารับการรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ การตระหนักรู้เรื่องเพศและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จึงเป็นเรื่องที่ควรรู้เป็นอย่างมากในปัจจุบัน เพื่อให้รู้ทันภาวะเสี่ยงและเข้ารับการวินิจให้ทันท่วงทีก่อนที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโลและโรงพยาบาลกรุงเทพ
วิธีกินยาคุมฉุกเฉินที่ถูกต้อง ป้องกันการพลาดตั้งครรภ์ ลดผลข้างเคียง!
“ตับอักเสบบี” อันตรายจากเพศสัมพันธ์อันตราย เสี่ยงมะเร็งตับลุกลาม!