เช็กสัญญาณ “ต่อมหมวกไตล้า” จากการเสพติดความเครียดที่ควรรีบรักษา!
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมหลายคนอาจเกดความเครียดที่สะสมโดยไม่รู้ตัว จนกลายเป็นการเสพติด เกิดการติดเชื้อหรือทางการแพทย์เรียกว่า ภาวะต่อมหมวกไตล้า
ภาวะ ‘เสพติดความเครียด’ (Adrenal Addict) เกิดจากความเครียดสะสมและเรื้อรัง คล้ายกับที่พบได้ในคนที่ติดออกกำลังกายอย่างหนัก ในระยะแรกผู้มีภาวะดังกล่าวมักจะยังไม่รู้ตัว เนื่องจากร่างกายมีความทนทานสูงต่อกับความเครียดที่เข้ามาในแต่ละวัน รู้ตัวอีกทีก็ล้มป่วย ติดเชื้อเฉียบพลันจนต้องเข้าโรงพยาบาล ทางการแพทย์ระบุว่าอาการดังกล่าวเรียกว่า ภาวะต่อมหมวกไตล้า หรือ Adrenal Fatigue
6 ประเภท ภาวะวิกฤตทางอารมณ์ ความเครียด วิตกกังวลสูงต้องดูแล
กลไกสมอง สาเหตุการ“นอนไม่หลับ”ภาวะเครียดและโรคเรื้อรัง
Freepik/freepik
เครียดสะสม

ความเครียดแบ่งเป็น 4 ระดับ
- Mild Stress เครียดระดับต่ำ เป็นความเครียดที่ไม่คุกคามต่อการดําเนินชีวิตอาจมีความรู้สึกเพียงแค่เบื่อหน่าย ขาดแรงกระตุ้น และมีพฤติกรรมที่เชื่องช้าลง
- Moderate Stress เครียดระดับปานกลาง เป็นความเครียดในระดับปกติที่ไม่ก่ออันตราย และไม่แสดงออกถึงความเครียดที่ชัดเจน ส่วนใหญ่จะสามารถปรับตัวกลับสู่ภาวะปกติได้เองจากการได้ทํากิจกรรมที่ชื่นชอบ ซึ่งช่วยคลายเครีย
- High Stress เครียดระดับสูง เป็นความเครียดที่เกิดจากเหตุการณ์รุนแรงหากปรับตัวไม่ได้ จะทําให้เกิดความผิดปกติตามมาทางร่างกาย อารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย หงุดหงิด พฤติกรรมการนอนและการรับประทานอาหารเปลี่ยนไป จนมีผลต่อการดําเนินชีวิต จึงควรหาใครสักคนคอยอยู่เป็นเพื่อนรับฟังปัญหา และระบายความรู้สึก รวมถึงมีผู้ใหญ่สักคนแนะนําาให้คําาปรึกษาอย่างใกล้ชิด
- Severe Stress เครียดระดับรุนแรง เป็นความเครียดระดับสูงและเรื้อรังต่อเนื่องจนทําาให้คนคนนั้นมีความล้มเหลวในการปรับตัว และก่อให้เกิดความผิดปกติและเกิดโรคต่างๆที่รุนแรงขึ้นมาได้ เช่น อารมณ์แปรปรวน มีอาการทางจิต มีความบกพร่องในการดําเนินชีวิตประจําวัน ซึ่งอาจมีอาการนานเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปี ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์
ภาวะต่อมหมวกไตล้าเป็นอาการผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่งที่มีความเครียดเรื้อรังเป็นตัวกระตุ้น โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่ถูกลืม เนื่องจากภาวะนี้มักจะไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและทันท่วงที ในการวินิจฉัยภาวะต่อมหมวกไตล้าจะต้องมีการวัดระดับของฮอร์โมนต่อมหมวกไต (Adrenal Hormones) 2 ตัวที่มีชื่อว่า คอร์ติซอล (Cortisol) และ ดีเอชอีเอ (Dyhydroepiandrosterone – DHEA) ซึ่งสามารถวัดได้จากผลเลือด Cortisol และ DHEA คือ ฮอร์โมนแห่งความเครียดในร่างกายมนุษย์ ปัจจุบันนี้การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้าจะมุ่งเน้นไปที่การปรับให้ฮอร์โมน 2 ตัวนี้ให้อยู่ระดับที่สมดุล
อาการภาวะต่อมหมวกไตล้า
- ขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อยากงีบหลับช่วงกลางวัน
- ง่วงแต่นอนไม่หลับ
- มีอาการวิงเวียนศีรษะเวลาเปลี่ยนท่าทาง (ลุก – นั่ง)
- อยากทานของหวานและของเค็ม
- ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
- ปวดประจำเดือนบ่อย
- เป็นภูมิแพ้กำเริบบ่อย ๆ
- ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก
- เครียด ซึมเศร้า
- คุมอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่น้ำหนักไม่ลดลง
- รู้สึกดีขึ้นทันทีเมื่อได้กินน้ำตาล
- ผิวแห้งและแพ้ง่าย
ถ้าคุณมีอาการผิดปกติที่ตรงกับอาการแสดงดังต่อไปนี้อย่างน้อย 5 ข้อ แสดงว่าคุณกำลังมีความเสี่ยงสูง
“ฝันร้ายบ่อย”อาจเกิดจากปัญหาการนอนเครียดสะสม เสี่ยงวิตกกังวลสูง
การปฏิบัติตัวเมื่อมีภาวะต่อมหมวกไตล้า
- นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ควรเข้านอนก่อน 5 ทุ่ม
- รับประทานอาหารเช้าก่อน 10.00 น. (หลัง 10.00 น. ระดับ Cortisol จะลดลง ทำให้ยิ่งอ่อนเพลีย Cortisol จะทำงานดีขึ้นเมื่อมีน้ำตาลในเลือดเพียงพอ)
- รับประทานมื้อเล็ก ๆ และบ่อย ๆ แทนการทานอาหารมื้อหลัก ๆ เพียง 1 – 2 มื้อ
- ออกกำลังกายแบบหนักปานกลาง การออกกำลังกายที่หนักเกินไปจะส่งผลให้ต่อมหมวกไตล้ามากยิ่งขึ้น
- หาวิธีคลายความเครียด เช่น หางานอดิเรกทำ เดินทางไปเที่ยว เป็นต้น
- อาหารเสริมและสมุนไพรบางชนิดสามารถช่วยลดอาการต่อมหมวกไตล้าได้ เช่น Ashwaghandha (โสมอินเดีย) L-theanine (สารสกัดจากชาเขียว) Phosphatidylserine (สารสกัดจากถั่วเหลือง) วิตามิน C วิตามิน B3 วิตามิน B5 วิตามิน B6
อย่างไรก็ตามไม่ควรปล่อยให้ตัวเองเครียดจนเกินไป หาเวลาให้ตัวเองเอนจอยกับชีวิตเพื่อสุขภาพจิตที่ดีสุขภาพกายแข็งแรงนะคะ ^^
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพและ กรมสุขภาพจิต
เครียดสะสม ละเลยอาจนำไปสู่จิตเวชไม่รู้ตัว เช็กอาการเยียวยาจิตใจได้!
“ความเครียดสูง” เสี่ยงพัฒนาซึมเศร้า-วิตกกังวล อันตรายถึงขั้นฆ่าตัวตาย