5 โรคระบบทางเดินอาหาร อาจกระทบสุขภาพมากกว่าที่คิด!
ระบบทางเดินอาหารเกี่ยวข้องกับหลายอวัยวะในร่างกาย อาทิ ตับและถุงน้ำดี เผย 5 โรคที่ควรระวัง ปัจจัยและแนวทางรักษา เพราะการปวดท้องครั้งนี้อาจไม่ธรรมดา!
ระบบทางเดินอาหาร เป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในร่างกาย ที่มีหน้าที่สำคัญอย่างมาก เพราะทั้ง ย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหารต่างๆ การขับถ่ายของเสีย โดยเป็นระบบที่ใหญ่และประกอบไปด้วยอวัยวะหลายส่วน ในร่างกายเพราะเริ่มตั้งแต่ ช่องปาก คอหอย กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ถุงน้ำ ดี และตับอ่อน แนะรู้จักกับ 5 โรคของระบบทางเดินอาหารกัน ที่อาจถึงเวลาต้องได้รับการดูแลแล้ว!
- โรคกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer) อาการปวดจุกแน่นใตลิ้้นปี่ เหนือสะดือ ปวดใต้ซี่โครงด้านซ้าย บางรายเจ็บแน่นหน้าอกร่วม
หลักการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ให้อายุยืน สุขภาพกายและใจแข็งแรง
หกล้มใน “ผู้สูงอายุ” ไม่ใช่เรื่องเล็ก อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้

โดยมักมีอาการเป็นๆ หายๆ สัมพันธ์กับมื้ออาหาร อาจปวดก่อนทานอาหารในเวลาหิว หรือปวดหลังอาหารเวลาอิ่ม อาการเหล่านี้จะดีขึ้นเมื่อได้รับประทานอาหาร โรคนี้จะมีอาการรุนแรงขึ้นถึงขั้นอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมีดังนี้
- เชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลโร ซึ่งติดต่อได้จากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาดปนเชื้อโรค
- การทานยาแก้ปวด หรือยาแก้ปวดข้อกระดูก (Aspirin และ NSAID) รวมถึงยารักษาสิว ที่มีฤทธิ์รุนแรงทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหารได้
- การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
- รับประทานอาหารเผ็ด หรือทานอาหารไม่ตรงเวลา
- ภาวะเครียด
- ติดเชื้อทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ อาการปวดท้องที่ควรพบแพทย์ทันที เช่น ถ่ายดำ หรือถ่ายมีเลือดปน น้ำ หนักลด ตัวซีด เหลือง (ดีซ่าน) ปวดรุนแรงนานเป็นชั่วโมง มีอาการอาเจียนรุนแรงติดต่อกัน หรืออาเจียนมีเลือดปน เจ็บ หรือกลืนลำบาก
- มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร คลำพบก้อนในท้อง หรือต่อมน้ำเหลืองโต
หากผู้ป่วยมีอาการป่วย ปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียด แสบท้องเรื้อรังมานานกว่า 2 สัปดาห์ ควรมาพบแพทย์
- โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease) คือภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการอักเสบของหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบบริเวณหน้าอก ใต้ลิ้นปี่ ที่เรียกว่า Heart Burn ในบางรายก็ร้างไปถึงคอ เหมือนมีก้อนบางอย่างมีจุกอยู่ที่ลำคอ ตอนเช้ามีรสขมหรือรสเปรี้ยวในปาก แสบลิ้น เสียงแหบ ในตอนกลางคืน มีอาการ ไอ กระแอม หอบหืด รุนแรงจนนอนไม่หลับ
สาเหตุของโรค เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น การกินอาหารรสเปรี้ยว อาหารมักดอง ทานมื้อหนักจนอิ่มเกินไป แล้วนอนเลย และความเครียด เป็นต้น
- โรคลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) เนื่องจากผู้คนไม่ค่อยให้ความสนใจไวรัสตับอักเสบบี ที่สามารถติดต่อได้จากมารดาสู่ทารก หากมารดาไม่สามารถว่าตนมีเชื้ออยู่ในร่างกาย ก็สามารถแพร่เชื้อสู่ทารกในครรภ์ได้ซึ่งเป็นการแพร่เชื้อที่พบมากที่สุด
นอกจากนี้เรายังสามารถได้เชื้อจากทางเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดมาร่วมกัน การเจาะส่วนต่างๆ ตามร่างกายโดยอุปกรณ์ไมผ่านการฆ่าเชื้อ หรือจากการใช้อุปกรณ์ที่ปนเปื้อนเลือด สารคัดหลั่ง เช่น มีดโกนกรรไกรตัดเล็บ เป็นต้น เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะฟักตัวอยู่ในตับ ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบบี ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการชัดเจนนัก จะมีเพียงไข้ต่ำๆ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย และจะค่อยๆ รุนแรงขึ้น ด้วยอาการ ตัวเหลือง ตาเหลือง โดยเราสามารถตรวจคัดกรองโรคด้วยการตรวจหาพังผืดในเนื้อตับหรือ Fibroscan
- โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome) เป็นภาวะที่มีความผิดปกติในการบีบตัวของลำไส้ใหญ่มากเกินไปส่งผลให้มีอาการปวดท้อง มวนท้อง ถ่ายบ่อย ท้องผูก ท้องเสีย โดยไม่มีสาเหตุ แม้โรคนี้จะไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง แต่หากผู้ป่วยเป็นเรื้อรัง กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้
ข้อควรระวังเมื่อต้องดูแลผู้ป่วย “นอนติดเตียง” ป้องกันแผลกดทับ-สำลัก
- โรคนิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones) เป็นโรคที่บ่อยได้บ่อยในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยนิ่วในถุงนี้ดีนั้นเกิดจาก ตกกระตอนของหินปูนหรือแคลเซียมในถุงน้ำดี เป็นก้อนแข็งๆ ขนาดอาจจะเล็กเท่าเม็ดถั่วเขียวหรือใหญ่เท่าลูกกอล์ฟก็ได้ ซึ่งก้อนนิ่วนั้นสามารถมีมากกว่า 1 หรือถึง 100 ก็เป็นได้
อาการที่มักพบ คือ อาเจียน คลื่นไส้ อาการทางระบบทางเดินอาหารต่างๆ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แสบร้อนที่หน้าอก มีลมในกระเพาะอาหาร ปัสสาวะสีเข้ม บางรายปวดท้องรุนแรงเฉพาะส่วนส่วนบนด้านขวา ปวดเป็นระยะนานตั้งแต่ 15 นาทีไปจนถึง หลายชั่วโมงก็มี
อย่างไรก็ตาม โรคระบบทางเดินอาหารเป็นโรคที่เรามองไม่เห็น เพราะเกิดจากอวัยวะที่อยู่ภายใน อาการที่แสดงออกมานั้นคือสัญญาณเตือน แม้ว่าจะเป็นอาการเล็กน้อยที่ดูไม่ได้สำคัญก็ตาม แต่นั้นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนถึงอันตรายที่เกิดขึ้นภายในก็ได้
ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต
แพทย์เตือน! โรคมือ เท้า ปาก แนวโน้มเพิ่มแนะสัญญาณอันตรายรีบพบแพทย์!
6 กลุ่มเสี่ยงฮีทสโตรกผู้สูงอายุ-ดื่มแอลกอฮอล์ ทำไมถึงเสี่ยงมากกว่า?