อาการแบบไหน ? ควรกินยาแก้แพ้ เปิดสรรพคุณและผลข้างเคียงที่ต้องรู้
ยาแก้แพ้ ยาสามัญประจำบ้าน ที่ต้องกินให้ถูกต้อง ลดผลข้างเคียงที่อาจก่ออันตรายได้ เผยชนิด สรรพคุณ และ ข้อควรระวัง
เป็นประจำทุกปีที่ช่วงนี้ฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้นทำให้หลายคนมีอาการ คันคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม ผื่นขึ้น เลี่ยงไม่ได้ที่หลายคนหยิบยาแก้แพ้มากินทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคจากแพทย์ แม้ยาแก้แพ้จะเป็นยาสามัญประจำบ้าน แต่การรู้จักสรรพคุณของยา (ขนาน) ขนาด (จำนวน) วิธีกิน และการสังเกตอาการก็ยังมีความจำเป็น เพราะหากกินยาไม่ตรงกับโรคหรือกินน้อยเกินไปโรคก็จะไม่หาย ส่วนการกินยามากเกินไปก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวม และเป็นอันตรายกับร่างกายได้
ยาแก้แพ้แบบง่วง และ ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง แตกต่างกันอย่างไร?
อย. เปิดผลตรวจกัมมีช่วยให้นอนหลับยี่ห้อหนึ่ง เจอ"เมลาโทนิน" ยาอันตราย

ยาแก้แพ้ เช่น คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) โดยทั่วไปปรากฏอยู่ใน 2 รูปแบบคือ
- ชนิดเม็ด เหมาะสำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่
- ชนิดน้ำเชื่อม เหมาะสำหรับเด็กเล็กที่อายุตั้งแต่ 2 ขวบ
ซึ่งยาแก้แพ้นั้นเหมาะกับการกินเพื่อลดอาการแพ้ที่ไม่รุนแรง เช่น ไอ จาม คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ จากการแพ้อากาศ ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ หรือขนสัตว์ รวมถึงอาการลมพิษ ผื่นคัน ที่เกิดจากการแพ้อาหาร เป็นต้น
สรรพคุณของยาแก้แพ้
- บรรเทาอาการน้ำมูกไหล ไอ จาม จากการแพ้อากาศ เช่น ยาคลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ยาบรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine)
- บรรเทาอาการผื่นคัน ลมพิษ เช่นยา ฮัยดร็อกซิซีน (Hydroxyzine) ซึ่งยาในกลุ่มนี้มีมีผลกดสมอง จึงไม่ควรใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เพราะอาจทำให้เด็กแคระแกร็น ไม่สูงได้
- ช่วยลดน้ำมูก ทำให้น้ำมูกแห้ง จึงมักนำมากินในตอนเป็นไข้หวัด น้ำมูกไหล แต่ไม่ได้ช่วยให้หายเป็นไข้หวัด ควรใช้กรณีที่มีน้ำมูกใสเท่านั้น ควรระวังการใช้ในเด็กเล็ก
กินยาแก้แพ้อย่างไรให้ถูกต้อง
- ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่ง หรือปรึกษาร้านยาที่มีเภสัชกร
- ปริมาณการกินยาแก้แพ้ ขึ้นกับตัวยา ซึ่งปริมาณของยาแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน
10 เรื่องต้องรู้ก่อนใช้ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด
ข้อควรระวัง เมื่อต้องกินยาแก้แพ้
- ยาแก้แพ้บางชนิดอาจทำให้ปากแห้ง จมูกแห้ง ปัสสาวะลำบาก และง่วงซึม จึงควรงดการขับขี่รถยนต์ ทำงานหรืออยู่ใกล้เครื่องจักร หากจำเป็นต้องทำงานหรือไม่สามารถนอนพักได้ อาจใช้ยาแก้แพ้ชนิดที่ไม่ทำให้ง่วงซึม
- ยาแก้แพ้มักทำให้เสมหะมีความเหนียวข้นมากกว่าเดิม หากกินยาแก้แพ้ แล้วมีอาการไอมากขึ้น ควรหยุดกินยาทันที
- ไม่กินยาแก้แพ้ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกับยาที่มีฤทธิ์กดสมอง ยาระงับประสาท เช่น ยานอนหลับ ยากันชัก
- หญิงมีครรภ์และให้นมบุตร ไม่ควรกินยาแก้แพ้เอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อเลือกชนิดและขนาดการกินที่เหมาะสม
- เมื่ออาการภูมิแพ้ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อปรับลดยา
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 1
เตือน! “ยาทรามาดอล” ยาควบคุมพิเศษ ใช้ผิดอาจทำให้เสพติดได้
“มะเขือบ้า” พืชมีพิษทุกส่วน เผยสรรพคุณ-อาการรับพิษและวิธีปฐมพยาบาล