ยาแก้แพ้แบบง่วง และ ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง แตกต่างกันอย่างไร?
เดี๋ยวแดด เดี๋ยวฝน จนทำให้ร่างกายอ่อนแอภูมิต่ำลงอย่างช่วยไม่ได้ หลายคนคิดว่ากินยาแก้แพ้แล้วหาย เผยข้อแตกต่างระหว่างแบบง่วงและไม่ง่วง และข้อควรระวังก่อนกิน!
กลางวันแดดออก ตกเย็นฝนตก สภาพอากาศแปรปรวนจนหลายคนปรับตัวไม่ทัน ตากแดดตากฝนกันอย่างไม่ทันตั้งตัว นอกจากการดูแลสุขภาพกลับถึงบ้านอาบน้ำ สระผม นอนในที่นอนอุ่นๆ หาเวลาออกกำลังกาย และกินอาหารให้ครบ 5 หมู่แล้วที่จำเป็น แต่บางครั้งสภาพร่างกายก็ไม่ไหว จนป่วยไปตามๆกัน จนต้องซื้อยาแก้ปวด ลดไข้ แก้แพ้ต่างๆสต๊อกเอาไว้ วันนี้เราจะมีเจาะลึกเรื่องยาแก้แพ้กันนะคะว่า สรุปแล้ว แพ้แบบไหนควรกินเพื่อให้ยามีประสิทธิภาพสูงสุด
“ซื้อยามากินเอง” เสี่ยงโรคไต เผยกลุ่มยาอันตราย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนกิน
ยาคลายกล้ามเนื้อ กินอย่างไรให้ปลอดภัย กินเยอะไปเสี่ยงเป็นพิษต่อไต!
Freepik/freepik
กินยาแก้แพ้

ยาแก้แพ้ในปัจจุบันมี 2 ชนิด
- ยาแก้แพ้แบบง่วง คือ ยาแก้แพ้ชนิดดั้งเดิม แต่ยังมีขายกันอยู่ในท้องตลาดทั่วไป สาเหตุที่ยาตัวนี้ทำให้ง่วงเพราะสารในตัวยาจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดไปสู่สมอง มีฤทธิ์กดประสาททำให้ง่วงซึมนั่นเอง นอกจากนี้ ในบางรายอาจได้รับผลข้างเคียงของยา มีอาการ มือและเท้าบวม ตัวบวม ปัสสาวะคั่ง ท้องผูก เนื่องจากร่างกายดูดซึมฤทธิ์ของตัวยามากเกินไป ทั้งยังออกฤทธิ์เร็ว และ หมดฤทธิ์เร็ว ทำให้เราต้องทานยา วันละหลายเม็ดอีกด้วย
- ยาแก้แพ้แบบ ไม่ทำให้ง่วงซึม เป็นตัวยาที่พัฒนาขึ้นใหม่ ทำหน้าที่ต่อต้านสารก่อภูมิแพ้โดยตรง ดูดซึมเข้าสู่สมองน้อยกว่าแบบดั้งเดิมหรือไม่ดูดซึมเลย จึงไม่ทำให้ง่วงซึม ผลข้างเคียงของยาก็มีโอกาสเกิดน้อยกว่า นอกจากนี้ ตัวยาถึงจะออกฤทธิ์ช้ากว่าตัวดั้งเดิม แต่ก็หมดฤทธิ์ช้า ทำให้ทานยาเพียงหนึ่งหรือสองเม็ดต่อวันเท่านั้น
สรรพคุณของยาแก้แพ้
-
บรรเทาอาการน้ำมูกไหล ไอ จาม จากการแพ้อากาศ เช่น ยาคลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ยาบรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine)
-
บรรเทาอาการผื่นคัน ลมพิษ เช่นยา ฮัยดร็อกซิซีน (Hydroxyzine) ซึ่งยาในกลุ่มนี้มีมีผลกดสมอง จึงไม่ควรใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เพราะอาจทำให้เด็กแคระแกร็น ไม่สูงได้
-
ช่วยลดน้ำมูก ทำให้น้ำมูกแห้ง จึงมักนำมากินในตอนเป็นไข้หวัด น้ำมูกไหล แต่ไม่ได้ช่วยให้หายเป็นไข้หวัด ควรใช้กรณีที่มีน้ำมูกใสเท่านั้น ควรระวังการใช้ในเด็กเล็ก
ยาเสริมธาตุเหล็กฟรี ที่ได้รับหลังบริจาคเลือด ควรกินหรือไม่?
กินยาแก้แพ้อย่างไรให้ถูกต้อง ?
-
ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่ง หรือปรึกษาร้านยาที่มีเภสัชกร
-
ปริมาณการกินยาแก้แพ้ ขึ้นกับตัวยา ซึ่งปริมาณของยาแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน
ข้อควรรระวังยาแก้แพ้
- ไม่ควรทานยาแก้แพ้ร่วมกับเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้ไปเพิ่มประสิทธิ์ภาพในการกดประสาท ทำให้ง่วงซึมมากกว่าเดิม
-
ยาแก้แพ้บางชนิดอาจทำให้ปากแห้ง จมูกแห้ง ปัสสาวะลำบาก และง่วงซึม จึงควรงดการขับขี่รถยนต์ ทำงานหรืออยู่ใกล้เครื่องจักร หากจำเป็นต้องทำงานหรือไม่สามารถนอนพักได้ อาจใช้ยาแก้แพ้ชนิดที่ไม่ทำให้ง่วงซึม
-
ยาแก้แพ้มักทำให้เสมหะมีความเหนียวข้นมากกว่าเดิม หากกินยาแก้แพ้ แล้วมีอาการไอมากขึ้น ควรหยุดกินยาทันที
-
ไม่ควรกินยาแก้แพ้เอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อเลือกชนิดและขนาดการกินที่เหมาะสม เมื่ออาการภูมิแพ้ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อปรับลดยา
- หากอาการไม่ดีขึ้น หรือเป็นเรื้อรังจนต้องทานอาหารต่อเนื่องหลายสัปดาห์ ควรไปพบแพทย์
วิธีรักษาอาการแพ้ที่ดีที่สุด สาเหตุว่าเราแพ้อะไรและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้นั้น การทานยาแก้แพ้ทุกครั้งไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ในบางทีที่เรามีอาการน้ำมูกไหล มีไข้ คันตามร่างกาย อาจไม่ได้เกิดจากอาการแพ้ แต่มาจากสาเหตุอื่น
การซื้อยาทานเอง เพียงเพราะคิดว่าเป็นอาการแพ้ ทานยาก็หาย อาจไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดเสมอไป ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ ใช้ยาตามที่แพทย์และเภสัชกรสั่งเพื่อการรักษาที่ถูกวิธี หรือ หากต้องการเจาะจงหาสาเหตุการอาการแพ้ที่แท้จริง สามารถทำการ ทดสอบสารก่อภูมิแพ้ด้วยการสะกิดผิวหนัง และการเจาะเลือดได้อีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต และ โรงพยาบาลพญาไท 1
อาการดื้อยา ติดยานอนหลับ กินนานไม่ระวังเสี่ยงผลข้างเคียง!
นอนไม่หลับ! ใช้ “ยาแก้แพ้” ได้หรือไม่? รู้จักชนิดและผลข้างเคียงของยา