ข้อแตกต่าง ยาพาราเซตามอล และ ยาไอบูโพรเฟน แก้ปวดเหมือนกันแต่ใช้ต่างกัน!
ยาพาราเซตามอล และ ยาไอบูโพรเฟน นับเป็นยาที่มีคุณสมบัติบรรเทา/รักษาอาการปวดเหมือนกัน แต่การใช้และการออกฤทธิ์ในรายละเอียดแตกต่างกัน เผยการเลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้อง ปลอดภัยป้องกันผลข้างเคียงสุขภาพ
เมื่อมีอาการปวดหัวไม่สบาย สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงคือยาสามัญประจำบ้าน อย่างยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ที่นับว่าค่อนข้างปลอดภัย แต่ต้องกินในขนาดที่เหมาะสม ซึ่งนอกจากยาพาราเซตามอลแล้ว ปัจจุบันยังมีตัวยาที่ออกฤทธิ์คล้าย ๆ กัน นั้นคือ ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) จนหลายคนอาจสับสนว่าเหมือนกัน ต่างกันอย่างไร ทานแทนกันได้หรือไม่?
ยาพาราเซตามอล VS ยาไอบูโพรเฟน
ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)
- อาการที่ควรใช้ยา : ช่วยบรรเทาอาการปวด ลดไข้
พาราเซตามอล ยาบรรเทาปวด/ลดไข้ สามัญประจำบ้าน กินให้ถูกหลักไม่เป็นพิษต่อตับ
ไขความลับ พาราเซตามอล รักษาอาการปวดตรงจุดได้อย่างไร ?
- วิธีรับประทานในผู้ใหญ่ : ครั้งละ 10 – 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 4 - 6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน ไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเกิน 5 วัน
- กลไกการทำงาน : ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และคาดว่าออกฤทธิ์กับสารเคมีบางชนิดในสมอง ในระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้อาการปวดบรรเทาลง พร้อมกับยับยั้งศูนย์ควบคุมอุณหภูมิร่างกายทำให้ไข้ลดลงได้
- ระยะเวลา : เริ่มออกฤทธิ์ใน 11 นาที
ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
- อาการที่ควรใช้ยา : บรรเทาอาการปวด ลดไข้ และต้านการอักเสบ
- วิธีรับประทานในผู้ใหญ่ : ควรรับประทานหลังอาหารทันที และต้องได้รับคำแนะนำโดยแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น
- กลไกการทำงาน : ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cyclooxygenase (COX) โดยไปยับยั้งการจับของเอนไซม์กับ arachidonic acid ทำให้การสร้าง prostaglandins ซึ่งเป็นสาร ตัวกลางในการปวดและอักเสบลดลง
ระยะเวลา : ฤทธิ์ลดไข้ของยาน้ำแขวนตะกอนไอบูโพรเฟนเริ่มเห็นผลที่ 1 ชั่วโมงหลังได้รับยาและให้ผลสูงสุด 2-4 ชั่วโมง
ข้อควรระวังการใช้ยา
- ยาพาราเซตามอล ผู้ป่วยโรคตับไม่ควรใช้ยา ผู้ที่ดื่มเหล้าเป็นประจำ อาจมีความเสี่ยงเกิดพิษต่อตับจากยาได้มากขึ้น ผู้ที่แพ้ยาพาราเซตามอลเกิดผื่น ลมพิษ บวมที่บริเวณหน้า ริมฝีปาก ควรหยุดใช้ยาทันทีและรีบไปพบแพทย์
มียาหลายชนิดที่มีตัวยาพาราเซตามอล เป็นส่วนผสมอยู่ เช่น ยาแก้ไข้หวัดแบบเม็ดรวม ดังนั้น จึงควรเลือกใช้ยาให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้ได้รับยาเกินขนาด เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา
- ยาไอบูโพรเฟน อาจทำให้เกิดแผลหรือมีเลือดออกในทางเดินอาหาร และทางเดินอาหารทะลุ จึงควรรับประทานยาทันทีหลังอาหาร อย่าใช้ยานี้ก่อนปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหากกำลัง ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เป็นโรคตับ โรคไต โรคกระเพาะอาหาร โรคหอบหืด โรคโลหิตจาง มีติ่งเนื้องอกในจมูก กำลังใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือเป็นผู้สูงอายุ เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากยามากกว่าผู้อื่น
หากมีอาการปวดเนื้อ ปวดตัว เป็นไข้ โดยไม่มีอาการอักเสบร่วม สามารถเลือกรับประทานยาพาราเซตามอล ได้ในปริมาณที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ ซึ่งยาพาราเซตามอล ขนาด 500 มิลลิกรัม เม็ดสีเหลือง ที่ได้รับการพัฒนาและการผลิตที่ได้มาตรฐาน จะมีคุณสมบัติในการแตกตัวที่ดีมีค่าการละลายที่มาตรฐาน ทำให้เพิ่มโอกาสดูดซึม และออกฤทธิ์ทำให้หายปวดเร็วขึ้นตามไปด้วย ที่สำคัญยาพาราเซตามอล เป็นยาที่ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร เด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ สามารถทานได้
ถึงแม้ยาพาราเซตามอล และยาไอบูโพรเฟนจะมีข้อบ่งใช้ในการแก้ปวดเหมือนกัน แต่การใช้ในรายละเอียด เช่น ข้อบ่งใช้ ข้อควรระวัง หรือผลข้างเคียงนั้นมีความแตกต่างกันมาก ในการใช้ยาแต่ละประเภทจึงควรให้ความสำคัญในการอ่านฉลากยาก่อนบริโภค และรับประทานยาตามคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อไม่ให้รับยาเกินขนาด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้
ขอบคุณข้อมูลจาก :
1.กระทรวงสาธารณสุข. (2561, 14 เมษายน). ข้อมูลยาสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ยาไอบิวโพรเฟน(Ibuprofen)ชนิดรับประทาน ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาผง ยาแขวนตะกอนและยาน้ำเชื่อม.https://ndi.fda.moph.go.th/uploads/drug_doc/Ibuprofen_tab-syr_SPC_7-2-60_edit_14-4-61.pdf
2.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ( 2566,13 มกราคม). ยา Paracetamol กับยา Ibuprofen ต่างกันอย่างไร https://dis.fda.moph.go.th/detail-infoGraphic?id=209011