แพ้อากาศกับไข้หวัด หน้าหนาว อาการแตกต่างกันอย่างไร? แพทย์แนะวิธีดูแลสุขภาพ
ช่วงอากาศเปลี่ยน หลายพื้นที่เริ่มมีอากาศเย็นในช่วงเช้า ทำให้เกิดแพ้อากาศขึ้นมาได้ แต่หลายคนสับสนว่าแตกต่างกับไข้หวัดอย่างไร? แพทย์เผยวิธีสังเกตุและเทคนิคดูแลสุขภาพ
โรคแพ้อากาศ หรือ โพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เนื่องจากร่างกายใช้จมูกเพื่อกรองฝุ่นและสิ่งแปลกปลอม รวมทั้งยังช่วยปรับอุณหภูมิอากาศก่อนเข้าสู่หลอดลมและระบบทางเดินหายใจ เมื่อเยื่อบุโพรงจมูกสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้และอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ จนเกิดการระคายเคืองส่งผลให้โพรงจมูกอักเสบ ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อากาศจะมีการตอบสนองต่อกลิ่นหรืออากาศที่หายใจเข้าไปค่อนข้างสูงและไวกว่าคนปกติโดยเฉพาะกับเกสรดอกไม้ ไรฝุ่น ควัน ขนสัตว์ ซึ่งโรคภูมิแพ้ชนิดนี้ถือเป็นโรคภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยที่สุด
หน้าหนาวปรับตัวไม่ทัน เช็ก 6 โรคที่ต้องระวัง ป่วยง่ายกว่าฤดูอื่น
หน้าหนาวทำไมท้องเสียบ่อย ? เผยอาการท้องเสียเฉียบพลันไวรัสโรต้า
Freepik/zilvergolf
แพ้อากาศ

อาการโรคแพ้อากาศ
พบบ่อย คือ น้ำมูกไหลโดยน้ำมูกมีสีใส จาม คันในจมูก คัดจมูก เสียงขึ้นจมูก หากมีอาการมากอาจหายใจติดขัดทางจมูกจนต้องอ้าปากหายใจ มีเสมหะไหลลงคอ กระแอมบ่อยเพราะมีเสมหะติดคอ แต่จะไม่มีอาการไข้ร่วมด้วยบางครั้งอาจมีอาการคันตา มีอาการเรื้อรังเป็นๆ หายๆ มักเป็นในช่วงเช้าและกลางคืน
นอกจากนี้ บางรายยังมีอาการปวดศีรษะ หูอื้อ เจ็บหูด้านหลัง รู้สึกมึนและอ่อนเพลียหลังตื่นนอน รวมถึงมีภาวะแทรกซ้อนจากโรค เช่นไซนัสอักเสบ นอนกรน และหูชั้นกลางอักเสบ
ภูมิแพ้กับไข้หวัดอาการต่างกันอย่างไร
- ภูมิแพ้ทางเดินหายใจหรือแพ้อากาศ
มักมีอาการจาม น้ำมูกใสๆไหล คัดจมูก คัดจมูก หรือคันตา คอ หู หรือที่เพดานปาก อาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น จมูกไม่ได้กลิ่น , น้ำมูกไหลลงคอ โดยอาการจะมักเป็นช่วงกลางคืนหรือช่วงเช้า พอสายๆอาการดีขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ในห้องนอน เช่น ไรฝุ่น บางรายอาจจะมีอาการตอนที่ใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงอย่างแมวหรือสุนัข โดยไม่ได้มีอาการตลอดเวลา โดยมักมีอาการ เป็นๆหายๆ และมักมีระยะเวลาของโรคยาวนานมากกว่า 2 สัปดาห์
- ไข้หวัด
กมีการจาม คัดจมูก น้ำมูกใสช่วงแรก หลังจากนั้นน้ำมูกจะข้นขึ้นเรื่อยๆ โดยอาการจะเป็นทั้งวัน แต่จะไม่คันจมูกหรือคันตา นอกจากนี้มักมีไข้ ไอ หรือเจ็บคอร่วมด้วย ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมักจะดีขึ้นหรือหายภายใน 3-10 วัน
การรักษาภูมิแพ้
ควรเริ่มจากต้นเหตุ โดยหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และดูแลสุขภาพให้แข็งแรงรวมถึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรค โดยแพทย์มีแนวทางการรักษาหลากหลายวิธี
- รับประทานยา เพื่อลดอาการแพ้ ลดน้ำมูก รวมทั้งยาที่ลดอาการคัดจมูก ซึ่งควรรับประทานภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อป้องกันผลข้างเคียงของยา หรือการใช้ยาร่วมกับยาชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอื่น
- ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก เพื่อช่วยลดการอักเสบของโพรงจมูก ทั้งนี้ควรให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยและสั่งยาเท่านั้น
- ฉีดวัคซีนภูมิแพ้ (Allergen Immunotherapy) หรือการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดโดยแพทย์ฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกายครั้งละน้อยๆ หลาย ๆ ครั้งโดยจะเพิ่มขนาดขึ้นตามลำดับจนกว่าอาการแพ้ของผู้ป่วยจะทุเลาลง ส่วนใหญ่แนะนำในผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล และต้องรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง เพื่อการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด
อากาศเปลี่ยน ฝุ่นPM2.5 หนา ปรับตัวไม่ทัน เสี่ยงป่วยหนักซ้ำโรคเติม
การดูแลสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้ทางเดินหายใจ
- หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำหอมกลิ่นแรง ควันบุหรี่ ควันธูป ควันรถ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการภูมิแพ้หนักขึ้น รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการเผชิญการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความชื้นเฉียบพลัน อย่างเช่น หลังจากเดินตากแดดร้อนๆมา โดยเราควรยืนในที่ร่มเพื่อให้ร่างกายปรับอุณหภูมิก่อน จึงค่อยเดินเข้าไปในห้องแอร์ที่มีอุณหภูมิต่ำมากๆ
- ทำความสะอาดบ้าน โดยเฉพาะห้องนอนและเครื่องนอน สำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้ที่ไวต่อฝุ่นละอองต่างๆ การทำความสะอาดบ้าน โดยเฉพาะห้องนอนถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ควรเปลี่ยนผ้าปูที่นอนและปลอกหมอน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง รวมไปถึงการแต่งบ้านให้มีของใช้น้อยๆ เพื่อลดการกักฝุ่น ตลอดจนการเปิดกระจก หรือผ้าม่าน เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายทำให้อาการภูมิแพ้อากาศค่อยๆ หายไป
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการนอนหลับพักผ่อน คือการที่ให้ร่างกายได้ชาร์ตแบตหลังจากถูกใช้งานมาตลอดทั้งวัน
- ทานอาหารดีมีประโยชน์ ทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะโปรตีน ผัก และผลไม้ จึงเป็นเหมือนอาหารเสริมที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช ศรีนครินทร์ และ โรงพยาบาลเปาโล พระประแดง
โนโรไวรัส VS โรต้าไวรัส สาเหตุท้องเสียในเด็ก ระบาดหนักหน้าหนาว
6 เคล็ดลับป้องกันภูมิแพ้กำเริบหน้าหนาว อากาศเปลี่ยน แต่ไม่ป่วยง่าย