อากาศเปลี่ยน ฝุ่นPM2.5 หนา ปรับตัวไม่ทัน เสี่ยงป่วยหนักซ้ำโรคเติม
ไทยเป็นเมืองร้อนที่ไม่ได้หนาวเหมือนประเทศอื่น แต่จะอากาศเย็นเป็นพักๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอากาศบ่อย หลายคนปรับตัวไม่ทัน ทำให้ป่วยแบบไม่รู้ตัว แพทย์เผยอาการที่ควรพบแพทย์โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว แนะวิธีป้องกันให้สุขภาพแข็งแรงเสมอ
หลายวันมานี้ ไทยมีอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ในช่วงเช้าอากาศค่อนข้างเย็น แต่ตกเที่ยงตกบ่ายกลับร้อนระอุเหมือนเดิม ทำให้หลายคนปรับตัวไม่ทัน ภูมิต้านทานลดต่ำลง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงอย่างเด็ก ผู้สูงวัย และผู้ที่เป็นโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ หอบหืด ถุงลมโป่งพอง การดูแลสุขภาพจึงสำคัญ
โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เกิดได้จากทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
- อาการ เริ่มจากหวัดทั่วไปมัก มีไข้ น้ำมูก ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ
หน้าหนาวปรับตัวไม่ทัน เช็ก 6 โรคที่ต้องระวัง ป่วยง่ายกว่าฤดูอื่น
หน้าหนาวทำไมท้องเสียบ่อย ? เผยอาการท้องเสียเฉียบพลันไวรัสโรต้า

หากอาการไอรุนแรง อาจมีการติดเชื้อทางเดินหายใจที่บริเวณหลอดลม หากมีน้ำมูกข้น ปวดจมูก และระหว่างคิ้ว ได้กลิ่นลดลง มีกลิ่นเหม็น(ไซนัสอักเสบ) , อาการปอดอักเสบ หรือปอดอาจมีติดเชื้อ มักมีอาการเหนื่อย เจ็บหน้าอก
วิธีการป้องกัน ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงไปที่ชุมชน หรือหากต้องใกล้ชิดผู้ป่วยควรใส่หน้ากากอนามัย รวมทั้งผู้ป่วยเองก็ควรใส่หน้ากากอนามัย เพื่อลดการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
สังเกตอาการตัวเองภายใน 1-2 วัน หากมีความรุนแรงของอาการมากขึ้น หรือมีอาการหอบ เหนื่อย ซึมลง ทานข้าวไม่ได้ จำเป็นต้องมาพบแพทย์ทันที
โรคภูมิแพ้ หอบหืดหรือ คนที่มีโรคทางเดินหายใจอยู่ก่อน เช่น ถุงลมโป่งพอง หากอากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลันอาจทำให้ตัวโรคกำเริบได้
- อาการภูมิแพ้ คล้ายๆ กับหวัด แต่มักไม่มีไข้ มีน้ำมูกและเสมหะมีลักษณะใส เจ็บหรือระคายเคืองคอเล็กน้อย ความรุนแรงของโรคน้อยกว่ากลุ่มโรคติดเชื้อ หอบหืด หรือถุงลมโป่งพองกำเริบ อาจเริ่มจากใจ แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงดัง
- วิธีการป้องกัน ใช้ยาที่กิน หรือสูดพ่นอยู่ก่อนอนอย่างสม่ำเสมอ รักษาตามอาการ พักผ่อนให้เพียงพอ หากยังไม่ดีขึ้นควรมาพบแพทย์
ยาลดกรดไม่เหมือนยาธาตุน้ำขาว ใช้บรรเทาและรักษาอาการไม่เหมือนกัน
อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ฝุ่นละออง “PM 2.5” อาจกลับมาอีกครั้ง
ฝุ่นพิษขนาดเล็ก ไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือที่เรียกว่า ฝุ่นละออง PM 2.5 เกิดขึ้นเมื่ออากาศนิ่ง ไม่ถ่ายเท ทำให้ฝุ่นสะสมอยู่ในอากาศจำนวนมาก “ฝุ่น” ยิ่งขนาดเล็กยิ่งอันตราย เพราะสามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจ และปอดได้โดยตรง สามารถนำเชื้อโรค สารพิษ หรือแม้กระทั่งสารก่อนมะเร็งเข้าสู่ปอด โดยปัญหามลพิษทางอากาศอาจกลับมาอีกครั้ง หากสภาพอากาศยังไม่คงที่ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง ส่วนบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ ไม่ควรทำกิจกรรมภายนอกอาคารเป็นเวลานาน หรือป้องกันโดยการสวมหน้ากากอนามัยชนิดN95 ที่สามารถป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ดีกว่าหน้ากากอนามัยทั่วไป
5 วิธีรับมือในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน
- เมื่ออากาศเย็นควรใส่เสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- คนที่มีโรคประจำตัว ควรทานยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมอาการของโรคเดิมให้ปกติ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 2
เลือกน้ำเกลือล้างจมูกอย่างไร ไม่ระคายเคือง ลดคัดจมูกจากฝุ่น PM2.5
อาการแบบไหน ? ควรกินยาแก้แพ้ เปิดสรรพคุณและผลข้างเคียงที่ต้องรู้