ภาวะสมองตาย คืออะไร ? หนึ่งในเงื่อนไข “บริจาคอวัยวะ” ให้กับผู้อื่น
สมองตาย หนึ่งในคุณสมบัติผู้บริจาคอวัยวะ เผยการวินิจฉัยเสียชีวิตแล้วแต่อวัยวะยังทำงานสมบูรณ์และช่องทางการบริจาคด้วยตนเอง
ภาวะสมองตาย (Brain Stem) คือ ภาวะที่แกนสมองถูกทำลายจนสูญเสียการทำงานอย่างสิ้นเชิงและถาวร ไม่สามารถรักษาให้ฟื้นคืนชีพได้อีก ทางการแพทย์จึงถือว่าเสียชีวิตแล้ว
สาเหตุของสมองตาย แบ่งออกเป็น 2 สาเหตุ คือ
- เกิดจากอุบัติเหตุอย่างรุนแรง
- ไม่ใช่อุบัติเหตุ เช่น เลือดออกในสมอง ติดเชื้อในสมอง ความดันในกะโหลกศีรษะสูง เนื้องอกในสมอง
ส่งผลให้ก้านสมองตาย อาจจะเกิดจากการที่สมองใหญ่บวมแล้วไปกดเบียดก้านสมอง ส่งผลให้เลือดไม่สามาถไปเลี้ยงสมอง และสมองไม่ทำงาน
ขั้นตอน-ช่องทางในการบริจาคอวัยวะ แก้วิกฤติการขาดแคลนอวัยวะในไทย
กุศลอันยิ่งใหญ่! ผู้ป่วยอายุ 15 ปี สมองตาย บริจาคอวัยวะทุกส่วน ช่วยหลายชีวิต
Freepik/freepik
ส่งต่ออวัยวะ

ภาวะสมองตาย แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ
- สมองใหญ่เสียหาย
- ก้านสมองเสียหาย
- เสียหายทั้งหมด คือ ก้านสมอง สมองใหญ่ และสมองน้อย
ซึ่งการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีภาวะสมองตายหรือไม่ ต้องตรวจโดยแพทย์ไม่น้อยกว่า 3 คน และทำการตรวจ 2 ครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
กฎหมายว่าด้วยเรื่อง “ภาวะสมองตาย” ของแต่ละประเทศนั้นก็ไม่เหมือนกัน อย่างประเทศไทยกำหนดไว้ว่า ถ้าก้านสมองตาย ไม่ทำงาน คนไข้คนนั้นก็จะได้รับการวินิจฉัยว่าคนไข้เสียชีวิตได้ แต่ในบางประเทศอย่างโปรตุเกส จะยึดว่าสมองเสียหายทั้งหมด ทั้งก้านสมอง สมองใหญ่และสมองน้อย จึงจะวินิจฉัยว่า คนไข้เสียชีวิตแล้ว
การวินิจฉัยสมองตาย
คนไข้จะไม่มีการตอบสนองของการตรวจทางระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับก้านสมอง กล่าวคือ คนไข้ไม่ขยับเขยื้อนตัว ไม่มีการตอบสนองของก้านสมอง เช่น การตอบสนองของตา การตอบสนองของใบหน้าทั้งหมด และตรวจการหายใจของคนไข้ แพทย์จะดูว่าคนไข้สามารถหายใจเองได้หรือไม่ โดยการปลดเครื่องช่วยหายใจออกเป็นเวลา 10 นาที ซึ่งแพทย์ผู้ประเมินจะสังเกตการตอบสนองของผู้ป่วยสมองตาย ว่าไม่มีการกลับมาหายใจได้เองอีก ในระหว่างนั้น แพทย์จะส่งตรวจค่าปริมาณออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดพร้อมกันไปด้วย
การวินิจฉัยดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ แพทย์จะต้องกลับมาประเมินซ้ำอีก 6 ชั่วโมง ถ้าผลการตรวจทุกอย่างยังเหมือนเดิม ก็สามารถวินิจฉัยได้ว่า “คนไข้สมองตาย” ซึ่งแปลว่า “คนไข้เสียชีวิตแล้ว”
การบริจาคอวัยวะ แพทย์จะรับอวัยวะจากผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตาย แต่ยังให้เครื่องช่วยหายใจอยู่ และตราบใดที่ร่างกายยังมีออกซิเจนไหลเวียนในเลือด เลือดก็ยังไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ให้ทำงานได้ตามปกติ ดังนั้นจึงสามารถนำอวัยวะของผู้ที่มีภาวะสมองตาย ไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะใหม่เพื่อความอยู่รอด
วาเลนไทน์ 2568 กาชาดชวนบริจาคโลหิต พร้อมลุ้นรับของที่ระลึก
คุณสมบัติของผู้บริจาค
- อายุไม่เกิน 65 ปี
- เสียชีวิตจากภาวะสมองตาย
- ปราศจากโรคติดเชื้อรุนแรงและโรคมะเร็ง
- ไม่เป็นโรคเรื้อรังซึ่งทำให้อวัยวะเสื่อม
- อวัยวะที่นำไปปลูกถ่ายทำงานได้ดี
- ปราศจากเชื้อโรคซึ่งอาจจะถ่ายทอดทางการปลูกถ่าย เช่น ไวรัสตับอักเสบบีหรือเอดส์ เป็นต้น
ช่องทางการบริจาคอวัยวะ
- ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ชั้น 5 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ
- บริจาคผ่านเครือข่ายฯ อาทิสำนักเหล่ากาชาดจังหวัด หรือ สำนักงานกิ่งกาชาด ทุกจังหวัด,โรงพยาบาลประจำจังหวัดในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ, สำนักงานเขต เทศบาล และเมืองพัทยา ที่ให้บริการทำบัตรประจำตัวประชาชน
- กรมการขนส่งทางบก โดยผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะแล้วสามารถขอเพิ่มสัญลักษณ์ ของสภากาชาดไทย "กากบาทแดงบนพื้นสีขาว" และเพิ่มข้อความ "บริจาคอวัยวะ" ให้แสดงบนหน้าใบอนุญาตขับรถ
- แอปพลิเคชัน “บริจาคอวัยวะ” ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาด
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
สภากาชาดแจง บริจาคเลือด 24 ครั้งรับสิทธิรักษาตลอดชีวิต ไม่ใช่เรื่องจริง
อาหารบำรุงเลือด สำหรับผู้ต้องการบริจาคโลหิต ป้องกันขาดธาตุเหล็ก