อาหารบำรุงเลือด สำหรับผู้ต้องการบริจาคโลหิต ป้องกันขาดธาตุเหล็ก
ธาตุเหล็ก นับเป็นการธาตุที่เด่นในเรื่องการบำรุงเลือด ป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เผยเคล็ดลับการกินอาหารธาตุเหล็กสูง เพิ่มการดูดซึมมากขึ้น
การบำรุงเลือด เป็นเรื่องสำคัญ เพราะช่วยป้องกันโลหิตจาง หากโลหิตจางรุนแรงอาจส่งผลกับการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจล้มเหลวได้ จึงไม่ควรละเลย หนึ่งในสาเหตุของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คือ การได้รับธาตุเหล็กน้อย เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เลือด ตับ เช่น คนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติหรือรับประทานผักที่มีสารต่อต้านการดูดซึมของธาตุเหล็กเป็นจำนวนมากซึ่งความต้องการธาตุเหล็กในแต่ละช่วงวัยจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ สรีรวิทยา
“ไข่ผำ” ซุปเปอร์ฟู้ดขนาดจิ๋ว คุณค่ามาโภชนาการสูง อาหารแห่งอนาคต
ส้มโอ ผลไม้วิตามินซีสูงปกป้องเซลล์ ไฟเบอร์เยอะช่วยบำรุงลำไส้
การสูญเสียทางประจำเดือน และการเจริญเติบโต ดังนั้นปริมาณเหล็กที่ร่างกายควรได้รับ ผู้ใหญ่ชาย 1.04 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ใหญ่หญิง 9.4 – 24.7 มิลลิกรัมต่อวัน
แหล่งธาตุเหล็กและการดูดซึมธาตุเหล็กในอาหารประกอบไปด้วย 2 รูปแบบ คือ
- สารประกอบฮีม (Heme Iron) ธาตุเหล็กในรูปฮีมร่างกายสามารถดูดซึมได้โดยตรงและสามารถถูกดูดซึมไปใช้ได้สูงกว่าร้อยละ 20 – 30 มีอยู่ในอาหาร เช่น เลือด เนื้อสัตว์ ตับ เครื่องในสัตว์ ไก่ ปลา อาหารทะเล
- สารประกอบที่ไม่ใช่ฮีม (Non – Heme Iron) ธาตุเหล็กในรูปที่ไม่ใช่ฮีม การดูดซึมจะขึ้นกับปัจจัยส่งเสริมหรือขัดขวางการดูดซึมที่มีในอาหารด้วยกันและถูกดูดซึมไปใช้ได้น้อยเพียงร้อยละ 3 – 5 มีอยู่ในอาหาร เช่น พืชผัก ข้าว ถั่วเมล็ดแห้ง ไข่แดง นม
“มันเทศ” ไฟเบอร์สูงลดเสี่ยงมะเร็งลำไส้ ปรุงให้ดีเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน
แนวทางการเลือกทานอาหาร
- อาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กที่อยู่ในรูปองค์ประกอบของฮีม ซึ่งมีมากในเนื้อสัตว์ เลือด ตับ เครื่องในไก่ ปลา กุ้ง หอย
- กินเนื้อสัตว์วันละ 6 – 12 ช้อนกินข้าว เนื่องจากเนื้อสัตว์ต่าง ๆ นอกจากจะมีเหล็กสูงแล้วยังมีผลทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กที่ไม่ใช่ฮีมจากอาหารอื่นดีขึ้น
- กินผลไม้วันละ 3 – 5 ส่วน โดยเฉพาะผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กที่ไม่ใช่ฮีมจากอาหารได้มากขึ้น
- เลือกผักผลไม้สด เพราะความร้อนในการประกอบอาหารจะทำลายวิตามินซีได้
- ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น พริกหวาน ส้ม มะละกอ สับปะรด ฝรั่ง สตรอเบอรี่ ลิ้นจี่ เงาะ จะช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดียิ่งขึ้น
- ในผักใบเขียวหลาย ๆ ชนิด มีธาตุเหล็กสูง เช่น ผักโขม คะน้า ตำลึง ปวยเล้ง บรอกโคลี
- ไม่ควรดื่มนมวัวหรือนมถั่วเหลืองพร้อมมื้ออาหาร หรือพร้อมยาเสริมธาตุเหล็ก เพราะแคลเซียมในนมและไฟเตทในนมถั่วเหลืองจะทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กจากยาลดลง
ทั้งนี้ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางควรปรึกษาแพทย์และเข้ารับการรักษา เพื่อให้อาการดีขึ้น เน้นย้ำการออกกำลังกายและกินอาหารครบ 5 หมู่ด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ จันทบุรี และ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ช่วยคุมโรคไม่ให้กำเริบ
“ดอกขจร” ผักพื้นบ้านยอดนิยม ปรุงได้หลากหลายเมนู ประโยชน์สรรพคุณเด่น