แพทย์เผยผู้สูงอายุป้องกัน "อัลไซเมอร์" ได้ด้วยการหมั่นบริหารสมอง
แพทย์เผยยิ่งสูงวัยยิ่งเสี่ยงอัลไซเมอร์อันตรายที่คร่าชีวิตผู้ป่วยรองลงมาจากโรคมะเร็ง แต่สูงอายุไม่จำเป็นต้องสมองเสื่อม ป้องกันชะลอได้ด้วยการอ่านหนังสือ หมั่นบริหารสมอง
การอุบัติของโรคร้ายที่คร่าชีวิตมนุษย์ แบบไม่รู้ตัวและรู้ตัว เริ่มขยายลุกลามมากขึ้น ๆ แม้บางโรคจะเริ่มควบคุมได้ แต่ก็มีโรคใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาทดแทน ค้นดูสาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุดก็ต้องยกให้ “อุบัติเหตุ” รองลงมาคือ “โรคมะเร็ง” แต่ไม่อีกกี่ปีข้างหน้า โรคที่น่ากลัวพอ ๆ กับโรคมะเร็งจะเริ่มแสดงตัวชัดเจนขึ้นอย่าง “โรคสมองเสื่อม”
อัลไซเมอร์ สัญญาณและปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ใช่แค่เรื่องของอายุ
9 สัญญาณ “อัลไซเมอร์” คนอายุน้อย ขี้ลืมและพฤติกรรมสับสนแบบไหนอันตราย?

ดร. นพ.โยธิน ชินวลัญช์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านอายุรกรรมสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพ อธิบายปรากฏการณ์โรคสมองเสื่อมที่จะเกิดกับคนไทย จะมีมากเท่ากับคนป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งผู้ป่วยหากพบเป็นโรคสมองเสื่อมจะมีชีวิตอยู่ได้อีก 7-10 ปี โดยพบว่าคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จะเป็นโรคสมองเสื่อม 10% ส่วนคนอายุ 85 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อม 40-50% ซึ่งขณะนี้ยังไม่มียารักษาโรคสมองเสื่อม มีเพียงแค่ยาชะลอเท่านั้น อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่ใช้สมองอยู่เรื่อย ๆ จะสมองเสื่อมช้ากว่าคนที่ไม่ได้ใช้สมองคิดอะไรเลย เราสามารถชะลอความเสื่อมของสมองโดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการทำงาน
ประเทศสหรัฐอเมริกาทำการสำรวจพบว่า ปี 2000 พบคนเป็นโรคสมองเสื่อม 5 ล้านคน และในอีก 50 ปีข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นเป็น 15 ล้านคน เพราะทุก 5 ปี คนจะเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นเท่าตัว โดยจะพบมากในเพศหญิงเพราะอายุยืนกว่าเพศชาย
ตอนนี้คนไทยเป็นโรคสมองเสื่อมประมาณ 1 ล้านคน คาดว่าในอีก 5 ปี จะเพิ่มเป็น 2 ล้านคน
นายแพทย์โยธินบอกว่า เราต้องรู้เท่าทันโรคสมองเสื่อม เพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคสมองเสื่อม กว่าจะรู้ตัวก็จำอะไรไม่ค่อยได้แล้ว เนื่องจากโรคสมองเสื่อมมีหลายแบบ บางคนมีภาวะสมองถดถอยแบบไม่รู้ตัว หรือบางคนอยู่บ้านปลูกต้นไม้อย่างเดียวก็อาจจะทำให้สมองเสื่อมได้
ดังนั้น คนสูงวัยจึงต้องหากิจกรรมทำหรือให้ทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมอง เช่น การอ่านหนังสือ การออกกำลังกาย และการฟังเพลง จะช่วยชะลอความเสื่อมของสมองได้
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถตรวจภาวะสมองเสื่อมได้ค่อนข้างแม่นยำโดยเจาะจงไปที่โรคอัลไซเมอร์ที่คนส่วนใหญ่กังวล กลัวว่าหากอายุมากขึ้นไม่อาจจะเลี่ยงจากโรคนี้ได้ เพราะเมื่ออายุมากขึ้น สมองของมนุษย์จะเริ่มเหี่ยวลง ทำให้สมองเล็กลง แต่จะสะสมสาร “เบต้าอมีลอยด์” เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสารนี้จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อเซลล์ประสาท ลดการเชื่อมโยงกันของเซลล์ประสาท ทำให้ความจำเสื่อม ดังนั้นคนที่มีภาวะความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ สามารถสำรวจตัวเองได้เบื้องต้น โดยเฉพาะคนที่ครอบครัวมีประวัติเป็นอัลไซเมอร์ต้องสันนิษฐานว่าเราก็มีโอกาส เสี่ยงเช่นเดียวกัน และผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปอยู่ในภาวะความจำถดถอย ก็มีโอกาสเสี่ยงเช่นเดียวกัน
3 ระยะอัลไซเมอร์ แพทย์เผยหมั่นบริหารสมองช่วยลดความเสี่ยง 113%
วิธีป้องกันโรคสมองเสื่อมเพิ่มเติม
- บำรุงด้วยอาหารป้องกันสมองเสื่อม อาทิ จมูกข้าว, ไข่แดง, ผักผลไม้, ถั่ว ตลอดจนการกินปลาทะเลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง กินอาหารไขมันต่ำ และหลีกเลี่ยงอาหารเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง
- ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดิน,จ๊อกกิ้ง หรือขี่จักรยาน เป็นประจำ
- ตรวจสุขภาพประจำปี
- หลีกเลี่ยงเหล้า-บุหรี่
- ผ่อนคลายความเครียด นอนให้เพียงพอ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ อินเตอร์เนชั่นแนล และ โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
อาหารคนไขมันในเลือดสูง ควรเลือกกินแบบไหน ? เผยสัญญาณโรค
"ออกกำลังกาย" อาจทำให้นอนไม่หลับได้? ควรเว้นกี่ชม.ช่วยเพิ่มการนอนที่ดี