อาการโควิด 2568 หลังระบาดหนัก เผยจุดอับที่โควิดชอบอยู่ได้นานหลายวัน!
โควิด 2568 อาการที่ไม่รุนแรงแต่ต้องเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยง ย้ำว่าเป็นเชื้อที่แพร่กระจายได้ง่ายมาก เปิดจุดและสภาพแวดล้อมที่โควิดชอบ หมั่นล้างมือ สวมแมสก์ในพื้นที่แออัดหรือระบบระบายอากาศไม่ดี ป้องกันได้
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเริ่มระบาดครั้งแรกที่ประเทศจีนในปลายปี 2562 แม้เวลาจะผ่านมาแล้วหลายปี แต่โควิด-19 ยังคงอยู่ และมีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่อยู่เป็นระยะ ทำให้ยังพบผู้ป่วยได้ในหลายพื้นที่ทั่วโลก แต่ในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ อาจมีอาการรุนแรง เช่น หายใจลำบาก ปอดอักเสบ หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้เช่นเดิม

อาการทั่วไปของโควิด-19 ในปัจจุบัน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรงหรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อย เช่น
- ไอแห้ง เจ็บคอ
- คัดจมูก
- ปวดกล้ามเนื้อ
- อ่อนเพลีย
- ไข้ต่ำ
- สูญเสียการรับรู้รสหรือกลิ่น
โควิด-19 ติดต่ออย่างไร?
- การไอ จาม พูด ร้องเพลง หรือหายใจหากคุณมีการพูดคุย สนทนากับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 แบบใกล้ชิดและไม่ได้สวมใส่หน้ากากอนามัย คุณมีโอกาสเสี่ยงที่เชื้อไวรัสในทันที โดยเชื้อจะเข้าไปเกาะที่เซลล์ในเยื่อบุจมูกและขนจมูก
- การสัมผัส เนื่องจากเชื้อโควิด-19 สามารถติดได้ด้วยเพียงการสัมผัส เนื่องจากมีอนุภาคน้อยกว่า 5 ไมครอน ซึ่งเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กทำให้แห้งและกลายเป็นละอองลอย จึงลอยอยู่ในอากาศได้นาน
ในปัจจุบันก็เริ่มมีผู้ป่วยติดเชื้อ มีผู้ป่วยอาการโควิดรอบใหม่สูงขึ้นเรื่อยๆ และอาการก็มีความคล้ายคลึงกับไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัดทั่วไป แต่ผู้ป่วยโควิดนั้นจะมีอาการจมูกไม่ได้กลิ่นอยู่ด้วย
ทำไมเชื้อ COVID-19 ถึงแพร่สู่กันได้ง่าย
เชื้อ COVID-19 เป็นเชื้ออนุภาคเล็กมากสามารถเข้าไปเกาะในเยื่อบุจมูกและขนจมูกของเราได้ ทำให้เซลล์ไวรัสก่อตัวแล้วแพร่กระจาย โดยผ่านการหายใจเข้า-ออกของเราได้ โดยเมื่อเชื้อ COVID-19 เข้าไปฟักตัวในร่างกาย โดยจะใช้เวลา 5-14 วัน ทำให้กว่าผู้ติดเชื้อจะรู้ตัวก็ใช้เวลาหลายวัน และในช่วงนี้ผู้รับเชื้ออาจจะยังไม่ทราบว่าเชื้อกำลังฟักตัวจึงไม่ได้กักตัว ออกไปข้างนอกและแพร่เชื้อไปโดยไม่รู้ตัว
โควิดติดจากผู้ที่ไม่มีอาการได้ไหม
การแพร่ของเชื้อโควิดนั้นสามารถแพร่ได้หลากหลายช่องทาง โควิดติดทางไหนได้อีกก็มีอีกช่องทางหนึ่งคือ จากผู้ที่ไม่มีอาการแต่อยู่ในระยะฟักตัว ซึ่งอาจจะแพร่เชื้อไปได้ในระยะเวลา 20-30 วัน แต่เชื้อที่ได้รับจะอยู่ในระยะเริ่มแรก ทำให้ผู้ที่ได้รับเชื้อต่อไปอาจจะไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อย
เชื้อโควิดติดต่อทางอากาศได้ไหม
การทดลองทางวิทยาศาสตร์ยังค้นพบว่าโควิดสามารถแพร่เชื้อได้ทางอากาศอีกด้วย โดยเชื้อโควิดจะลอยอยู่ในอากาศหลายนาทีจนถึงชั่วโมง แต่ถ้าในบริเวณนั้นมีอากาศหมุนเวียนหรือถ่ายเทได้ดี ก็สามารถสลายไปได้ ดังนั้นถ้าหากไม่อยากรับเชื้อโควิด ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ปิดและพื้นที่แออัด เนื่องจากในบริเวณดังกล่าวผู้คนจะแย่งอากาศหายใจกัน และมีโอกาสที่เชื้อจะลอยตัวอยู่ได้นานเพราะไม่มีอากาศเข้ามาถ่ายเท
โควิดติดผ่านสิ่งของได้ไหม
ใครที่กำลังสงสัยว่าโควิดติดทางไหนได้อีก โควิดติดของไหม ซึ่งในปัจจุบันเราพบว่า การสัมผัสสิ่งของต่อจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 คุณก็มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อได้ เนื่องจากเชื้อ COVID-19 มีอายุขัยอยู่ได้นานชั่วโมง ซึ่งเชื้อโควิด-19 สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้แต่ละสภาพแวดล้อม ดังนี้
- ลูกบิดประตูจะอยู่ได้นาน 8 ชั่วโมง
- กระดาษทิชชู่จะอยู่ได้นาน 12 ชั่วโมง
- โต๊ะผิวเรียบจะอยู่ได้นาน 1-2 วัน
- วัสดุที่เป็นพลาสติกจะอยู่ได้นาน 3-4 วัน
- แก้วน้ำจะอยู่ได้นาน 2 วัน
- โทรศัพท์จะอยู่ได้นาน 4 วัน
- น้ำจะอยู่ได้นาน 4 วัน
- ธนบัตรจะอยู่ได้นาน 5 วัน
- ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาจะอยู่ได้นาน 1 เดือน
- ในสถานที่ปิด อากาศถ่ายเทไม่ดี เชื้อจะอยู่ลอยได้นาน 3 ชม.
จะเห็นได้ว่าการแพร่เชื้อของโควิด-19 นั้นสามารถแพร่กระจายได้นานหลายวัน ซึ่งวิธีที่จะลดปริมาณเชื้อนี้ได้ง่ายๆ คือ การล้างมือให้สะอาดก่อนที่จะรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงไม่ใช้มือที่สัมผัสสิ่งของแล้วนำมาสัมผัสบริเวณใบหน้า ทั้งนี้หากคุณเริ่มมีไข้ ตัวร้อน ไม่สบาย ควรรีบตรวจ ATK หากป่วยเป็นโควิด-19 คุณสามารถทานฟ้าทะลายโจร และรักษาตัวแบบ home isolation แต่ถ้าในผู้สูงอายุติดโควิดควรเข้ารักษาตัวกับทางโรงพยาบาล เพราะอาจมีอาการอาจจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ป้องกันโควิด-19 อย่างไรในปัจจุบัน?
แม้หลายคนจะหยุดใส่หน้ากากแล้ว แต่การดูแลตัวเองยังสำคัญ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่เสี่ยง
- สวมหน้ากากเมื่ออยู่ในพื้นที่แออัดหรือระบบระบายอากาศไม่ดี
- หมั่นล้างมือให้สะอาด
- เว้นระยะห่างกับผู้อื่น
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าโดยไม่จำเป็น
- รีบเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำเมื่อกลับถึงบ้าน
- หากมีอาการป่วย ควรตรวจ ATK และพักรักษาเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
โควิด-19 อาจกลายเป็นโรคประจำถิ่น แต่เรายังต้องไม่ประมาท และเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองให้ปลอดภัยอยู่เสมอ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการ และ โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์