ไวรัสเดงกี 4 สายพันธุ์ สาเหตุไข้เลือดออก ยิ่งติดซ้ำอันตรายกว่าเดิม!
ไข้เลือดออกเกิดจากไวรัสเดงกี 4 สายพันธุ์ ความแตกต่างที่มีพาหะนำโรคเป็นยุงลาย การติดเชื้อซ้ำเสี่ยงอาการรุนแรง วัคซีนป้องกันได้ทุกสายพันธุ์
ไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะ ซึ่งมี 4 สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะถูกเรียกว่าซีโรไทป์ (Serotype) ได้แก่ DENV-1, DENV-2, DENV-3 DENV-4 โดยส่วนใหญ่แล้วไข้เลือดออกเดงกีมักไม่มีอาการแสดงหรืออาจมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่ในบางรายอาจจะมีอาการรุนแรง จนถึงขั้นช็อกและเสียชีวิตได้ และเป็นโรคที่คาดเดาได้ยากว่าใครจะอาการรุนแรงหรือไม่รุนแรง

สายพันธุ์เดงกี
วงจรการถ่ายทอดของ DENV จำแนกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
- Endemic cycle คือ วงจรของสายพันธุ์ endemic DENV เป็นสายพันธุ์ที่ติดเชื้อและแพร่กระจายอยู่ในมนุษย์ โดยมีพาหะนำโรคคือ ยุง Ae. aegypti เป็นสำคัญ นอกจากนั้นอาจจะเป็นยุง Ae. albopictusหรือ Aedes spp. อื่นๆ ได้
- Sylvatic cycle คือ วงจรของสายพันธุ์ sylvatic DENV ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายอยู่ใน non-human primate reservoir hosts โดยมีพาหะนำโรคเป็นยุง Aedes ชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในป่าแถบแอฟริกาตะวันตกและประเทศมาเลเซีย วิวัฒนาการและนิเวศวิทยาของ endemic cycle และ sylvatic cycle ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกัน(2)
ความแตกต่างของแต่ละสายพันธุ์
DENV แต่ละซีโรทัยพ์ จะมีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน แต่ความแตกต่างที่สำคัญและช่วยในการจำแนก ซีโรไทป์ คือ ลักษณะทางพันธุกรรม หรือ genome sequences ลักษณะของ phylogenies ของแต่ละซีโรไทป์ ที่จำแนกโดยวิธีการ reverse transcription polymerase chain reaction (RT-PCR) ด้วยการตรวจ complete genome sequences ส่วน E gene (รูป 2)(2) พบว่าแต่ละซีโรทัยพ์ สามารถจำแนกซีโรไทป์ และมีการกระจายของเชื้อจากภูมิภาคต่างๆ ดังนี้
- DENV1 มี 5 ซีโรไทป์
- genotype I เป็นสายพันธุ์จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และแอฟริกาตะวันออก
- genotype II เป็นสายพันธุ์จากประเทศไทย ปี 1950 – 1969
- genotype III เป็นสายพันธุ์ sylvatic จากประเทศมาเลเซีย
- genotype IV เป็นสายพันธุ์จากหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตก และทวีปออสเตรเลีย
- genotype V คือทุกสายพันธุ์จากทวีปอเมริกา สายพันธุ์จากแอฟริกาตะวันตก และสายพันธุ์ส่วนน้อยจากทวีปเอเชีย
- DENV2 มี 5 ซีโรไทป์
- Asian genotype I เป็นสายพันธุ์จากประเทศไทย และมาเลเซีย และ Asian genotype II เป็นสายพันธุ์จากประเทศเวียดนาม จีน ไต้หวัน ศรีลังกา และฟิลิปปินส์
- Cosmopolitan genotype เป็นสายพันธุ์ที่มีการกระจายกว้างทั่วโลก ได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย แอฟริกาตะวันออกและตะวันตก หมู่เกาะแปซิฟิค และหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย อนุทวีปอินเดีย และ ภูมิภาคตะวันออกกลาง
- American genotype เป็นสายพันธุ์จากประเทศในลาตินอเมริกา และเป็นสายพันธุ์ที่พบในทศวรรษ 1950 และ 1960 จากประเทศในแถบแคริเบียน อนุทวีปอินเดีย และหมู่เกาะแปซิฟิค
- Southeast Asian/ American genotype เป็นสายพันธุ์จากประเทศไทย เวียดนาม และสายพันธุ์ที่พบในทวีปอเมริกาในระยะ 20 ปีหลัง
- Sylvatic genotype เป็นสายพันธุ์ที่แยกได้จากคน ยุงป่า และการสำรวจลิงป่าในแถบแอฟริกาตะวันตกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- DENV3 มี 4 ซีโรไทป์
- genotype I เป็นสายพันธุ์จากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสายพันธุ์ที่เพิ่งพบจากหมู่เกาะแปซิฟิคใต้
- genotype II เป็นสายพันธุ์จากประเทศไทย เวียดนาม และบังคลาเทศ
- genotype III เป็นสายพันธุ์จากประเทศศรีลังกา อินเดีย แอฟริกา ซามัว และสายพันธุ์จากประเทศไทยในปี 1962
- genotype IV เป็นสายพันธุ์จากประเทศเปอร์โตริโก ประเทศในลาตินอเมริกาและอเมริกากลาง และหมู่เกาะตาฮีติ
- DENV4 มี 4 ซีโรไทป์
- genotype I เป็นสายพันธุ์จากประเทศไทย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ญี่ปุ่น
- genotype II เป็นสายพันธุ์จากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย เกาะตาฮีติ ประเทศในแถบแคริเบียน และทวีปอเมริกา
- genotype III เป็นสายพันธุ์อื่นๆ จากประเทศไทย
- genotype IV เป็นสายพันธุ์ sylvatic จากประเทศมาเลเซีย
ลักษณะทาง genome sequences ของแต่ละซีโรทัยพ์ จะถูกรวบรวมอยู่ในฐานข้อมูลของ NIH genetic sequence database หรือ GenBank
สามารถติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกีได้ถึง 4 ครั้ง จริงหรือไม่?
เชื้อไวรัสไข้เลือดออกทั้ง 4 สายพันธุ์จะเกิดการแพร่ระบาดสลับหมุนเวียนกัน ทำให้ในแต่ละปีมีสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามพบว่าสายพันธุ์ที่ระบาดหลักในประเทศไทยนั้น เป็นสายพันธุ์ 1 และ 2 การแพร่ระบาดที่แตกต่างกันหลายสายพันธุ์จึงเป็นผลให้คนเราอาจไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดนั้นๆ เพราะการติดเชื้อไวรัสเดงกีชนิดหนึ่ง ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสเดงกีแค่ชนิดที่ติดเท่านั้น แต่ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นอาจจะป้องกันสายพันธุ์อื่น ๆ ได้ในชั่วคราว ทำให้ตลอดชีวิตของเราสามารถที่จะติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกีได้มากกว่า 1 ครั้งนั่นเอง
การติดเชื้อซ้ำอาจทำให้อาการรุนแรงมากกว่าเดิม
หากการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกีครั้งที่ 2 เกิดจากสายพันธุ์ชนิดที่แตกต่างจากเดิม อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการแสดงอาการที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากว่าการติดเชื้อซ้ำในครั้งที่ 2 จะเกิดการกระตุ้นภูมิต้านทานของการติดเชื้อในครั้งก่อนแต่เป็นภูมิต้านทานชนิดที่ไม่สามารถป้องกันโรคได้ และทำให้เชื้อไวรัสไข้เลือดออกสามารถกระจายตัวได้มากขึ้น ทำให้มีอาการรุนแรงได้มากขึ้น จึงเป็นผลให้การติดเชื้อในครั้งที่ 2 มีอาการรุนแรงมากกว่าเดิม
ไข้เลือดออก ป้องกันได้ด้วย วัคซีนไข้เลือดออก 4 สายพันธุ์
- วัคซีนไข้เลือดออก ชนิดใหม่ สามารถฉีดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ที่มีอายุระหว่าง 4-60 ปี
- วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันไข้เลือดออกจากทุกสายพันธุ์ ได้ 80.2% และป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้ 90.4%
- ฉีดง่ายสะดวก เพียงแค่ 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน โดยสามารถฉีดได้ทั้งคนที่เคยและไม่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน โดยไม่ต้องตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด
- วัคซีนไข้เลือดออก ผลข้างเคียงที่พบ เป็นเพียงผลข้างเคียงทั่วไป ได้แก่ อาการปวดตรงตำแหน่งที่ฉีดวัคซีน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ โดยส่วนมากมักหายได้เอง ภายในเวลา 1-3 วัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท และ สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย