เป็น “ตะคริว” ตอนกลางคืนบ่อยๆ สัญญาณความผิดปกติที่ไม่ควรมองข้าม
ปวดตึงเป็นตะคริวตอนนอน อย่านิ่งนอนใจเพราะเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติในร่างกาย
นอนหลับอยู่ดี ๆ จู่ ๆ น่องก็ปวดตึงเป็นตะคริวขึ้นมา… เราเชื่อว่าอาการนี้หลายคนคงเคยเผชิญ และแก้ไขปัญหาด้วยการบีบ ๆ นวด โดยไม่ได้ใส่ใจกับมัน
แต่รู้หรือไม่ว่าอาการ “ตะคริว” นี้เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนว่ามีความผิดปกติขึ้นในร่างกายเกิดขึ้น
ปวดแบบไหน… เรียกว่า “ตะคริว”
ตะคริวคืออาการหดเกร็งที่ทำให้กล้ามเนื้อปวดและเป็นก้อนแข็ง
เช็กเลย! หลังกินวิตามินเสริม ช่วยให้สุขภาพดีขึ้นจริงหรือไม่?
ค้นพบใหม่! สารอาหารในผัก-ผลไม้ เป็น“อาวุธสุขภาพ”สู้โควิด-19
ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยที่เราไม่สามารถบังคับได้ บางครั้งก็อาจมีอาการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อมัดที่เกิดการหดเกร็ง ซึ่งจะเป็นอยู่เพียงแค่ช่วงหนึ่งเท่านั้น ทิ้งเวลาไว้ซักพักอาการก็จะดีสักพักอาการจะดีขึ้น
การเป็นตะคริวนี้อาจเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อส่วนใดของร่างกายก็ได้ และอาจเกิดกับกล้ามเนื้อเพียงมัดเดียวหรือหลาย ๆ มัดพร้อมกันก็ได้ ในบางรายอาจมีอาการตะคริวที่ขาในขณะนอนหลับตอนกลางคืนจนสะดุ้งตื่น หรือที่เรียกว่าตะคริวกลางคืน ซึ่งมักเกิดกับกล้ามเนื้อขาและพบได้บ่อยในคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุ
อะไรกันแน่… ที่เป็น “สาเหตุ”
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดตะคริว แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากการที่เอ็นและกล้ามเนื้อไม่ได้ยืดตัวบ่อย ๆ จึงทำให้มีการหดรั้งหรือเกร็งได้ง่าย เมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นมากเกินไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าอาจเกิดจากเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติไป หรืออาจเกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่ดี เป็นต้น
ปัจจัยเหล่านี้… พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง
ถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดตะคริวได้ แต่ก็พอจะบอกคร่าว ๆ ได้ว่าสิ่งที่กำลังจะบอกเหล่านี้ มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดตะคริว
1.การดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อขาดน้ำ
2.ภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะโซเดียมและโพแทสเซียม ได้แก่ ท้องเดิน อาเจียน เสียเหงื่อมาก หรือรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล ซึ่งอาจทำให้เป็นตะคริวรุนแรง คือเกิดกับกล้ามเนื้อหลายส่วนของร่างกาย และมักจะเป็นอยู่นาน
3.ผู้ที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ก็อาจเป็นตะคริวได้บ่อย
ถาม - ตอบเรื่อง "โรคฝีดาษลิง" รู้ระวังไม่ตื่นตระหนก ฝีดาษ ฝีดาษลิง
5 สัญญาณ "อัมพฤกษ์ อัมพาต" รู้เร็วพบหมอไวรักษาได้ทันเวลา
4.หญิงตั้งครรภ์อาจเป็นตะคริวได้บ่อยขึ้น เนื่องจากระดับของแคลเซียมในเลือดต่ำ หรืออาจเกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่สะดวก
5.กล้ามเนื้ออ่อนล้า หรือกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง จากการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือการทำงานหนัก จะทำให้เกิดตะคริวได้บ่อย
6.การได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ อาจเกิดจากการกระแทก ทำให้เกิดการฟกช้ำที่กล้ามเนื้อ
7.กล้ามเนื้อขาดการยืดหยุ่น กล้ามเนื้อที่ตึงจะเกิดตะคริวได้บ่อย
8.กล้ามเนื้อขาดเลือด หากออกกำลังกายอย่างหนักโดยที่ไม่ได้วอร์มอัพ จะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่พอ
9.การนอน นั่ง หรือยืน ในท่าที่ไม่สะดวกนานๆ ก็ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก และเกิดตะคริวได้เช่นกัน
10.ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง หรือหลอดเลือดตีบตัน เช่น ผู้สูงอายุอาจเป็นตะคริวขณะที่เดินนาน ๆ เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่ดี
อาการแบบไหนเสี่ยงเป็น "ลองโควิด" ก่อนไปพบแพทย์
รู้อาการ "แพ้ภูมิตัวเอง (SLE)" โรคร้ายจากภูมิคุ้มกันผิดปกติ
เทคนิคแก้ปัญหาการเกิด “ตะคริว” ระหว่างนอนหลับ
ส่วนคนที่มักจะเป็นตะคริวระหว่างหลับ ควรนอนในท่าที่ผ่อนคลาย อย่าให้กล้ามเนื้อตึง และควรจะห่มผ้าให้ร่างกายอบอุ่น และหากเกิดอาการเป็นตะคริวขึ้นมาในตอนกลางคืนหรือในขณะที่นอน ให้คุณยืดกล้ามเนื้อขา โดยยืดขาให้ตรง กระดกปลายเท้าขึ้น ค้างไว้ 5 วิ ทำแบบนี้ 5-10 ครั้งแล้วนวดกล้ามเนื้อขาเป็นวงกลมจนกว่าจะหาย
และถ้าหากคุณมักจะเป็นตะคริวตอนกลางคืนบ่อย ๆ ก็ควรดื่มนมก่อนนอนเพื่อเพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกายและยกขาให้สูงโดยใช้หมอนรองขาให้ขาสูงขึ้นจากเตียงประมาณ 10 เซนติเมตร หรือประมาณ 4 นิ้วพร้อมทั้งฝึกยึดกล้ามเนื้อมัดที่เกิดตะคริวบ่อย ๆ นอกจากนี้ก็ควรที่จะดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะตะคริวมักเกิดในผู้ที่ขาดการออกกำลังกายและมีร่างกายที่อ่อนแอ
เช็กความแตกต่างของ "ผื่น - ตุ่ม" โรค "ฝีดาษลิง - อีสุกอีใส - เริม"
หมอเผยคนไทยอายุน้อยกว่า 42 ปี ถือว่าไม่มีภูมิคุ้มกันต่อ "ฝีดาษลิง"
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4