ตกขาวผิดปกติ อาการเตือน "มะเร็งปากมดลูก" ที่ไม่ควรละเลย
มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย โรคนี้ไม่ใช่โรคจากรรมพันธุ์ แต่มีสาเหตุสำคัญจากการติดเชื้อไวรัส HPV
จากสถิติพบว่า..ผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก โดยเฉลี่ยปีละ 6,000 ราย และเสียชีวิตสูงถึง 7 คนต่อวัน โดยมีสาเหตุหลักๆ มาจาก “การติดเชื้อ HPV” เชื้อที่สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ และสิ่งที่น่ากลัวไปกว่านั้น..คือเมื่อได้รับเชื้อ HPV แล้วจะไม่มีอาการใดๆ จนกว่าเชื้อจะพัฒนากลายเป็นมะเร็ง!!!
ตกขาว ประจำเดือน...แบบไหนที่เสี่ยง “มะเร็งปากมดลูก”
การมีตกขาวมากผิดปกติ ทั้งที่เป็นน้ำและข้น เป็นมูก ตกขาวมีเลือดหรือหนองปน อาจจะมีกลิ่นหรือไม่มีกลิ่นก็ได้
มะเร็งปากมดลูก...โรคร้ายใกล้ตัวผู้หญิง รู้เร็ว โอกาสรอดชีวิตสูง
ไอ หอบเหนื่อย อาการเตือน "โรคระบบทางเดินหายใจ" ที่ป้องกันได้
อาการเหล่านี้..ล้วนเป็นสัญญาณเตือนถึง “มะเร็งปากมดลูก” ตลอดจนการมีประจำเดือนมามาก ประจำเดือนมานาน การมีเลือดออกทางช่องคลอดหรือมีของเหลวออกทางช่องคลอด มีเลือดออกหรือมีอาการเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์ หรือมีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด หรือปวดท้องน้อยร่วมด้วย
ปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิง...มีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก
- การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย (อายุต่ำกว่า 17-18 ปี) เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่มีความไวต่อสารก่อมะเร็งสูง โดยเฉพาะ..เชื้อ HPV
- การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย เพราะทำให้โอกาสเสี่ยงติดเชื้อ HPV จากฝ่ายชายเพิ่มสูงขึ้น
- การมีบุตรหลายคน หรือมากกว่า 3 คนขึ้นไป โดยมีรายงานพบว่า..การมีบุตรมากทำให้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกเพิ่มสูงขึ้น 2-3 เท่า
- การไม่รักษาความสะอาดบริเวณช่องคลอด หรือปล่อยให้มีแผลอักเสบที่ปากมดลูกโดยไม่รักษา
- รับประทานยาคุมติดต่อกันเป็นเวลานาน (มากกว่า 5 ปี ความเสี่ยงยิ่งเพิ่มขึ้น)
- พฤติกรรมอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการรับประทานผักผลไม้น้อยเกินไป
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีกี่วิธี
- Pap smear เป็นการตรวจภายในร่วมกับการตรวจทางเซลล์วิทยาเพื่อหาความผิดปกติของเซลล์ที่อาจเกิดจากเชื้อมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้น โดยหากแพทย์พบความผิดปกติก็จะทำการเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก เพื่อนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ
- ThinPrep เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ให้ผลการตรวจที่ละเอียดกว่า Pap smear โดยแพทย์จะทำการเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกด้วยอุปกรณ์เฉพาะ ก่อนจะนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ
- HPV Testing เป็นการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกร่วมกับการตรวจ DNA ของเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีความเชื่อมโยงกับมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจระดับชีวโมเลกุล..ที่สามารถค้นหาเชื้อ HPV ได้ในระยะก่อนเกิดเป็นมะเร็งปากมดลูก ทำให้ป้องกันและรักษาการติดเชื้อ HPV ได้ก่อนที่เชื้อจะพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก
แนวทางการรักษามะเร็งปากมดลูก
- การผ่าตัดรักษา ในการรักษาโดยการผ่าตัดนั้น..จะใช้ในการรักษามะเร็งระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ขั้นต้น คือช่วงที่เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นบริเวณปากมดลูกและช่องคลอด
- การใช้รังสีรักษา เป็นการรักษาสำหรับมะเร็งระยะที่ 2 ขึ้นไป หรือในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดรักษาหรือให้ยาเคมีบำบัดได้
- การให้ยาเคมีบำบัด เป็นการรักษาสำหรับมะเร็งระยะลุกลาม โดยอาจใช้การให้ยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว หรือรักษาร่วมกับวิธีอื่น เช่น การใช้รังสี
แม้ปัจจุบันจะมีวิธีการรักษามะเร็งปากมดลูก แต่ส่วนใหญ่มักส่งผลข้างเคียงหลังการรักษา สร้างความทรมานให้กับผู้ป่วย คงจะดีกว่า..ถ้าเราเลือกที่จะ “ป้องกัน” ด้วยการตรวจคัดกรองเป็นประจำ รวมทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
สำลัก อาหารติดคอ แนะวิธีปฐมพยาบาล ลดเสี่ยงเสียชีวิต
"หมอแล็บ" เผยข้อมูลจาก CDC ใส่หน้ากากอนามัยช่วยป้องกัน "ฝีดาษลิง" ได้
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลเปาโล