“ดอกคาโมมายล์” สมุนไพรต้านการอักเสบ ตัวช่วยผ่อนคลายหลับสบาย
ปัจจุบันดอกคาโมมายล์ มีการนำมาพัฒนาเป็นหลากหลายผลิตภัฑณ์ ทั้งภายนอกและภายใน และเป็นที่รู้จักกันมากใน ชา,เจลลี่ หรือแม้กระทั้งอาหารเสริมแบบแคปซูลที่มีดอกคาโมมายล์ผสมอยู่ที่ล้วนแล้วแต่ช่วยในการนอนหลับและผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในด้านการต้านอักเสบและต้านเชื้อจุลชีพและเชื้อโรคบางชนิดอีกด้วย
คาโมมายล์ เป็นพืชในวงค์เดียวกับ ดาวเรือง ดาวกระจาย มีสองสายพันธุ์คือ เยอรมันคาโมมายล์และโรมันคาโมมายล์ แต่คาโมมายล์สายพันธุ์เยอรมันจะเป็นที่รู้จักและนิยมใช้มากกว่า ส่วนที่ใช้คือดอกซึ่งมีลักษณะเป็นดอกช่อที่มีดอกย่อยรอบนอกมีกลีบสีขาวขนาดใหญ่ ดอกย่อยตรงกลางขนาดเล็กมีกลีบดอกสีเหลือง ใช้ในอุตสาหกรรมยา อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และน้ำหอม โดยมีสรรพคุณมากมายได้แก่ ทำให้สงบคลายกังกล ช่วยให้หลับ ลดอาการระคายเคืองทางเดินอาหาร ขับลม ลดอาการปวดเกร็งท้อง ลดการปวดประจำเดือน
4 ท่านอนผิดๆ ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ แนะปรับเพื่อคุณภาพการหลับที่ดีขึ้น
7 เคล็ดลับสำหรับคนหลับยาก คุณภาพการนอนดีได้โดยไม่ต้องพึ่งยา
ต้านการอักเสบในช่องปาก คอ ผิวหนัง และช่วยสมานแผล น้ำมันจากดอกคาโมมายล์มีกลิ่นคล้ายแอฟเปิ้ลนอกจากสรรพคุณทางยาแล้วยังมีการใช้แต่งกลิ่นในอาหารและเครื่องสำอาง
จากรายงานการวิจัยพบว่าดอกคาโมมายล์มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายอย่างได้แก่ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (antiinflammatory) ป้องกันการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ (antispasmotic) คลายวิตกกังวล (anxiolytic effect) ต้านออกซิเดชัน (antioxidant) และต้านเชื้อจุลชีพ (antimicrobial)
- ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
รายงานการวิจัยพบว่าสารสกัดดอกคาโมมายล์ด้วยน้ำ และแอลกอฮอล์ น้ำมันหอมระเหย และสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ และเทอร์พีนอยด์ที่เป็นองค์ประกอบในสารสกัดและน้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ต้านการอักเสบทั้งในหลอกทดลองและสัตว์ทดลอง โดยพบว่า สารสกัดดอกคาโมมายล์มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูที่ถูกทำให้อักเสบที่หูจากน้ำมันละหุ่ง โดยพบว่าสารสกัดจากดอกสดให้ผลยับยั้งได้ดีกว่าดอกแห้ง การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบที่ผิวหนังในอาสาสมัคร พบว่าครีมและขี้ผึ้งคาโมมายล์ใช้ภายนอก มีต้านการอักเสบได้ดีเมื่อเทียบกับยาขี้ผึ้ง hydrocortisone
- ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร ต้านการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ และรักษาแผลในทางเดินอาหาร
สารสกัดและน้ำมันหอมระเหยจากดอกคาโมมายล์ และสารที่เป็นองค์ประกอบมีฤทธิ์ต้านการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อลำไส้ของสัตว์ทดลองที่เหนี่ยวนำให้เกิดการหดเกร็งด้วยสาร acetylcholine และ histamine แต่มีฤทธิ์อ่อนกว่า papaverine สารสกัดดอกคาโมมายล์ด้วยเอทานอลในน้ำและสาร (-)-alpha-bisabolol สามารถยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารสัตว์ทดลองที่เหนี่ยวนำด้วย indromethacin ความเครียด และแอลกอฮอล์ โดยสามารถลดความเป็นกรดและเพิ่มปริมาณมิวซินในกระเพาะอาหาร
- ผลต่อระบบประสาท คลายกังวล ฤทธิ์ทำให้สงบ ทำให้หลับ
สารสกัดดอกคาโมมายล์มีฤทธิ์คลายวิตกกังวล ทำให้สงบอ่อนๆ และทำให้นอนหลับดีขึ้นโดยพบว่าสารออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ apigenin ออกฤทธิ์โดยการจับกับ benzodiazepine receptors นอกจากนี้ในสารสกัดยับพบสาร GABA ปริมาณเล็กน้อย ซึ่ง GABA เป็นสารสื่อกระแสประสาท (neurotransmitter) ทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมอง ช่วยเกิดการผ่อนคลาย
การทดลองทางคลินิกในประเทศญี่ปุ่นพบว่า การรับประทานเจลลี่คาโมมายล์มีผลลดอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้อารมณ์ดี การศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการวิตกกังวลระดับปานกลางและประเมินด้วยแบบวัดภาวะวิตกกังวล Hamilton Anxiety Rating Scale (HAM-A) พบว่าการรับประทานสารสกัดดอกคาโมมายล์ติดต่อกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ช่วยลดอาการวิตกกังวลอย่างมีนัยสำคัญ
- ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ
น้ำมันและสารจากดอกคาโมมายล์มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัสก่อโรคหลายชนิด อาทิ อาหารเป็นพิษ ด้วย
จะเห็นว่าดอกคาโมมายล์นั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งภายในและภายนอก การดื่มชาชงจากดอกคาโมมายล์ ช่วยขับลม บรรเทาอาการอักเสบและแผลในทางเดินอาหาร คลายกังวล และนอนหลับดีขึ้น โดยใช้ดอกประมาณ 3 กรัม ชงด้วยน้ำร้อนประมาณ 150 CC แช่ประมาณ 5-10 นาที แล้วกรองกากออก ดื่มวันละ 3-4 ครั้ง นอกจากนี้การสูดดมไอระเหยจากการแช่ดอกคาโมมายล์ด้วยน้ำร้อน หรือการกลั้วคอ และบ้วนปากด้วยชาคาโมมายล์วันละหลายๆ รอบจะช่วยลดการอักเสบของยื่อบุผิวในช่องจมูก ปากและลำคอได้ น้ำมันหอมระเหยจากดอกคาโมมายล์ยังใช้แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่างๆ รวมถึงใช้ในสุคนธบำบัด
กรมการแพทย์เตือน "โรคจากการนอนหลับ" เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
ผลข้างเคียงจากการใช้ดอกคาโมมายล์พบได้น้อย แต่อาจพบได้ในผู้ที่แพ้ดอกคาโมมายล์หรือพืชในตระกูลเดียวกัน (Asteraceae) ซึ่งจะมีอาการผิวหนังอักเสบ จาม น้ำมูกไหล ลิ้นและริมฝีปากบวม โดยไม่พบความเป็นพิษในสัตว์ทดลองที่ได้รับสารสกัดดอกคาโมมายล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน และไม่พบการระคายเคืองผิวหนังจากการใช้ภายนอก
การใช้คาโมมายล์อย่างไรให้ปลอดภัย
- โดยทั่วไปมีการใช้คาโมมายสในรูปแบบซา ซึ่งสามารถรับประทานได้ทุกเพศทุกวัย
- ระมัดระวังการบริโภคคาโมมายล์พร้อมกับยาบางชนิด เช่น ยาวาร์ฟาริน หรือยาไซโคลสปอริน
- ควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม หากบริโภคมากเกินไปหรือถี่เกินไป อาจมีอาการง่วงซึม หรืออาเจียนได้
- หญิงตั้งครรภ์ หรือหญิงให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภค
- การใช้คาโมมายล์หรือสารสกัดจากคามมายล์เพื่อช่วยลดอาการนอนไม่หลับ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ทุกครั้ง โดยเฉพาะผู้มีโรคประจำตัวและใช้ยาประจำ
ข้อมูลจาก : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ,ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย
ปรับพฤติกรรมการกิน แก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับแบบไม่ต้องพึ่งยา
ผลวิจัยพบกินหลัง 3 ทุ่ม เพิ่มความเสี่ยงมะเร็ง20% แนะอย่ากินและนอนทันที