รู้จัก “แอสปาร์แตม” ที่ WHO เตรียมขึ้นบัญชีสารก่อมะเร็ง-สุขภาพพัง
รู้จัก “แอสปาร์แตม” สารทดแทนความหวานที่ WHO เตรียมขึ้นบัญชีก่อมะเร็ง ทดแทนความหวานของน้ำตาลทรายได้กี่เท่า พร้อมไขข้อสงสัยอันตรายอย่างไร
หลายเมนูอาหารหรือเครื่องดื่มแก้วโปรดของคนส่วนใหญ่ ต่างมีน้ำตาลที่มากเกินไป ซึ่งมีส่วนทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และป่วยโรคอ้วน เบาหวาน หรือความดันโลหิตสูงได้ ทำให้หลายคนหันไปบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของ “สารทดแทนความหวาน” หรือ “เครื่องดื่มสูตรไดเอท” แทน แต่ตั้งแต่เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา กลับเริ่มมีผลงานวิจัยออกมาว่า การบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มสูตรไร้น้ำตาล หรือน้ำตาลน้อยเหล่านี้
WHO เตรียมบรรจุสารก่อความหวาน “แอสปาร์แตม” เป็นสารที่อาจก่อมะเร็ง
องค์การอนามัยโลกเตือนอย่าใช้ "สารแทนความหวาน" ลดน้ำหนัก
กลับส่งผลเสียมากกว่าที่คิด เพราะสารนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองในคนเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่บริโภคสารทดแทนความหวานเลย
นอกจากนี้ ล่าสุดยังมีผลการวิจัยออกมาอีกว่า สารทดแทนความหวานชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า “แอสปาร์แตม” ซึ่งมักพบในน้ำอัดลม น้ำผลไม้ และหมากฝรั่งปราศจากน้ำตาล อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ด้วย
จนทำให้ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เผยแพร่แนวทางแนะนำไม่ให้ผู้บริโภคใช้สารทดแทนความหวานเพื่อควบคุมน้ำหนัก และเตรียมขึ้นบัญชีสารนี้ให้กลายเป็นสารที่อาจก่อมะเร็งในมนุษย์ ในเดือนกรกฎาคมนี้
รู้จัก “สารทดแทนความหวาน”
"สารทดแทนความหวาน" หรือ "น้ำตาลเทียม" (Artificial Sweeteners) เป็นสารที่ผลิตขึ้นมาเพื่อเติมรสชาติหวานให้กับอาหารและเครื่องดื่มแทนน้ำตาลธรรมชาติ ซึ่งส่วนมากจะให้พลังงานหรือแคลอรี่ต่ำ หรือในบางครั้งก็อาจไม่มีแคลอรี่เลย ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำตาลเทียม โดยมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ดังนี้
- แอสปาร์แตม (Aspartame) ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 180-200 เท่า
- อะเซซัลเฟม-เค (Acesulfame-K) ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 7,000-13,000 เท่า
- นีโอแทม (Neotame) ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 600 เท่า
- แซคคาริน (Saccharin) หรือขัณฑสกร ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 200-700 เท่า
- สตีเวีย (Stevia) หรือสารสกัดจากหญ้าหวาน ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 280 – 300 เท่า
- ซูคราโลส (Sucralose) ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 600 เท่า
อย่างไรก็ตาม “แอสปาร์แตม” เป็นสารแทนความหวานที่มีรสชาติใกล้เคียงน้ำตาลทรายมากที่สุด จึงเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
อันตรายของน้ำตาลเทียม
การศึกษาสารทดแทนความหวาน ยังมีผลการวิจัยออกมาไม่มากนัก ซึ่งยังต้องการผลการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น แต่ข้อมูลเบื้องต้นพบว่าน้ำตาลเทียมเหล่านี้อาจเชื่อมโยง 6 ปัญหาสุขภาพ ดังต่อไปนี้
1.)เพิ่มความอยากอาหาร
งานวิจัยบางชิ้น แสดงให้เห็นว่าสารทดแทนความหวาน สามารถกระตุ้นสมองให้เกิดความอยากอาหารได้ โดยเฉพาะการบริโภคแอสปาร์แตม มีหลักฐานชี้ชัดว่าการกินเป็นประจำทำให้หิวและอยากกินของหวานเพิ่มขึ้น
2.)เพิ่มน้ำหนักตัว
คนอาจคิดว่าสารทดแทนความหวานสามารถช่วยควบคุมน้ำหนักได้ เพราะไม่มีแคลอรี เนื่องจากใช้ปริมาณเพียงนิดเดียว ก็สามารถให้ความหวานได้เหมือนกินน้ำตาลทรายหลายช้อนโต๊ะ แต่กลับมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่าการดื่มเครื่องดื่มสูตรไดเอทในระยะยาวกลับเพิ่มไขมันในร่างกายในผู้สูงอายุและเพิ่มค่าดัชนีมวลกายที่สูงขึ้นในเด็ก
3.)เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง (metabolic syndrome)
การวิจัยได้ค้นพบความเชื่อมโยงของการบริโภคสารทดแทนความหวานกับการพัฒนาของภาวะอ้วนลงพุง หรือ “metabolic syndrome” ที่เพิ่มความเสี่ยงหลายอย่างต่อปัญหาสุขภาพที่สำคัญๆ ได้แก่
- ไขมันรอบเอว
- ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง
- คอเลสเตอรอล HDL ต่ำ
- ความดันโลหิตสูง
- น้ำตาลในเลือดสูง
4.)ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี
แม้ว่าสารทดแทนความหวานจะไม่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด แต่ก็มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าอาจเพิ่มระดับอินซูลินในเลือด เนื่องจากรสหวาน ทำให้ตับอ่อนอาจเข้าใจผิดว่าเป็นน้ำตาลได้ ส่งผลให้การใช้สารทดแทนความหวานในระยะยาวมีผลต่อภาวะการดื้อต่ออินซูลินในร่างกาย
ดังนั้นแม้ว่าสารทดแทนความหวานจะไม่เพิ่มน้ำตาลในเลือดโดยตรง แต่ส่งผลกระทบต่อระดับการควบคุมน้ำตาลในเลือดของร่างกาย
5.)ไมโครไบโอมในลำไส้เปลี่ยนแปลง
แบคทีเรียในลำไส้ทำปฏิกิริยากับสารทดแทนความหวานต่างไปจากน้ำตาลจริง ซึ่งค้นพบว่าสารสังเคราะห์เหล่านั้นจะเข้าไปเปลี่ยนไมโครไบโอมในลำไส้ และลดทอนความสมดุลของแบคทีเรียที่ดีออกไป จึงเป็นอันตรายต่อลำไส้ และอาจนำไปสู่
- ท้องอืด
- การทำให้สิ่งกีดขวางรอบลำไส้บางลง
- ไมเกรน
- สภาวะภูมิต้านตนเอง
- อารมณ์เปลี่ยนแปลง
- ความหงุดหงิด
- ความวิตกกังวล
6.)เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ
การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ที่จัดทำโดยสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) รายงานว่า การบริโภคเครื่องดื่มผสมสารทดแทนความหวานบ่อยๆ เพิ่มอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและเหตุการณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ
งานวิจัยใหม่เผย “น้ำตาลเทียม” ปัจจัยเสี่ยงก่อโรคหัวใจ-หลอดเลือดสมอง
ผลการวิจัยล่าสุด ตรงข้ามกับการศึกษาเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา
ผลการวิจัยทั้งหมดข้างต้นนี้ ถือเป็นผลการศึกษาที่ตรงกันข้ามผลการวิจัยเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมาอย่างสิ้นเชิง ที่พบว่าสารแทนความหวานอิริทรินอล (Erythritol) นั้นปลอดภัย จนมีกฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้ทั่วโลกในอาหารและเครื่องดื่ม
อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ปราศจากน้ำตาลที่มีอิริทริทอล แนะนำให้กลุ่มผู้ที่เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือกลุ่มอ้วนลงพุง กินได้เพื่อแนวทางในการควบคุมน้ำตาลและปริมาณแคลอรี่เท่านั้น
นี่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของ “สารทดแทนความหวาน” และถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องยอมรับอันตรายของสารสังเคราะห์เหล่านี้!
สารแทนความหวานไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่จำเป็นในการบริโภคอาหารและไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนั้นหากเรายังมีสุขภาพที่ดี ไม่ได้ป่วยเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวานอยู่แล้ว เราควรลด หลีกเลี่ยง และควบคุมปริมาณน้ำตาลหรือความหวานของตัวเองตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ สำนักข่าวรอยเตอร์
คนไทยติดหวาน เสี่ยง NCDs แนะลดน้ำตาล ดื่มน้ำเปล่าดีที่สุด
เตือนเทรนด์ “อิ๊วโซดา” เสี่ยงน้ำตาล-โซเดียมสูงเกินลิมิตสุขภาพพัง