“นมแม่”เหมือนยาวิเศษยิ่งทารกป่วย ยิ่งต้องกิน ลดภาวะลำไส้เน่าได้ถึง 50%
นมแม่สำคัญต่อทารกแรกเกิดมาก ที่ต้องได้รับเพียงอย่างเดียวใน 6 เดือนแรก และควรกินควบคู่กับอาหารที่เหมาะสมกับวัยยาวไปจนถึงอายุ 2 ปีโดยเฉพาะเด็กที่น้ำหนักตัวน้อยหรือคลอดก่อนกำหนด ยิ่งป่วยยิ่งต้องกิน เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันสร้างการเจริญเติบโต แนะ10 วิธีขั้นบันไดให้นมทารกป่วย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ทารกแรกเกิดควรได้รับนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก และหลัง 6 เดือนให้เริ่มอาหารตามวัยคู่กับนมแม่จนถึง 2 ปีหรือมากกว่า โดยเฉพาะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกแรกเกิดป่วยนั้น ให้คุณประโยชน์มากมาย ซึ่งในน้ำนมแม่มีสารอาหารที่มีความจำเพาะต่อทารกแรกเกิด มากกว่า 200 ชนิด ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดขาว สารให้ภูมิคุ้มกัน และฮอร์โมน
สธ.ห่วงการตลาด “นมผง” ส่งผลให้มีแนวโน้มคุณแม่ใช้แทน “นมแม่” มากขึ้น
“กล้วยบด” ไม่ใช่อาหารเด็กทารก เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต ย้ำนมแม่ดีที่สุด
หากได้รับอย่างต่อเนื่องจนอายุครบ 6 เดือน จะมีโอกาสเสี่ยงและเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ได้น้อยกว่าทารกที่ไม่ได้รับนมแม่ และที่สำคัญ นมแม่เป็นเสมือนยารักษาโรคและสร้างสายใยรักจากแม่สู่ลูกได้เป็นอย่างดี ยิ่งป่วยยิ่งต้องได้รับนมแม่
ประโยชน์ของนมแม่ที่ทารกแรกเกิดที่จะได้รับ โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนด
- สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
- สร้างระบบชีวภาพของลำไส้ ช่วยในการเติบโตที่ดีให้กับผนังลำไส้
- ช่วยให้มีการเจริญเติบโตของระบบประสาทและหลอดเลือดของทางเดินอาหาร
- อุดมด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน “โคลอสตรัม” ซึ่งเป็นน้ำนมหยดแรกที่แม้มีปริมาณน้อยแต่มีคุณค่ามาก และจำเป็นต่อลำไส้ รวมถึงลดการติดเชื้อในกระแสเลือด ลดภาวะลำไส้เน่า ซึ่งลดได้ถึงร้อยละ 50 และลดโรคจอประสาทตาผิดปกติชนิดรุนแรง
นอกจากนี้น้ำนมแม่มีสารต่อต้านการติดเชื้อหลายชนิด นมแม่มีผลดีต่อการเจริญเติบโตของทารก รวมถึงด้านพัฒนาการทางด้านอารมณ์และสติปัญญา เมื่อทารกได้รับนมแม่จึงเปรียบเหมือนยารักษาโรค และภูมิคุ้มกันโรค ทางสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี มีคลินิกนมแม่ ที่ให้บริการให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา และส่งเสริมให้ทารกได้รับนมแม่ โดยใช้บันได 10 ขั้น สำหรับทารกแรกเกิดป่วย ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยและเด็กป่วย เพื่อทารกจะได้รับนมแม่อย่างต่อเนื่อง และเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง
เตือน “นมข้นหวาน” แทนนมแม่ไม่ได้ เสี่ยงขาดสารอาหาร อันตรายถึงชีวิต
บันได 10 ขั้น ให้นมทารกแรก สำหรับเด็กน้ำหนักน้อย-คลอดก่อนกำหนด
- ขั้นที่ 1 : การให้ข้อมูลนมแม่ในเด็ก
- ขั้นที่ 2 : คุณแม่บีบน้ำนมทุก 2-3 ชั่วโมง / 8 ครั้งต่อวัน
- ขั้นที่ 3 : การเก็บรักษานมที่ถูกต้อง
- อุณหภูมิห้อง เก็บได้นาน 3-4 ชั่วโมง
- อุณหภูมิห้อง (16-26 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 4-8 ชั่วโมง
- กระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งตลอดเวลา (15 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 24 ชั่วโมง
- ตู้เย็นช่องธรรมดา (0-4 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 3-5 วัน และควรเก็บไว้ด้านในสุดของตู้เย็น
- ช่องแช่แข็ง ตู้เย็นแบบประตูเดียว (-15 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 2 สัปดาห์
- ช่องแช่แข็ง ตู้เย็นแบบประตูแยก (-18 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 3-6 เดือน
- ช่องแช่แข็งเย็นจัด ตู้เย็นชนิดพิเศษ (-20 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 6-12 เดือน
- ไม่ควรเก็บน้ำนมไว้ที่ประตูตู้เย็น
- ขั้นที่ 4 : นำนมแม่มาเคลือบปากลูกทุก 3 ชั่วโมง
- ขั้นที่ 5 : ให้พ่อหรือแม่โอบกอดแนบเนื้อ Skin-to Skin-cara
- ขั้นที่ 6 : การดูดเต้าเปล่า
- ขั้นที่ 7 : การเปลี่ยนผ่าน สู่การดูดนมแม่จากเต้า
- ขั้นที่ 8 : การวัดปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับ
- ขั้นที่ 9 : การเตรียมความพร้อมสร้างความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- ขั้นที่ 10 : ระบบติดตามผลจากโรงพยาบาล
ข้อควรรู้เกี่ยวกับสีของน้ำนมแม่
- น้ำนมสีเหลือง : คือหัวน้ำนม เป็นน้ำนมที่คุณแม่ผลิตได้ภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด อุดมไปด้วย สารอาหารและสารสร้างภูมิต้านทาน ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ทารก
- น้ำนมสีใส : เรียกว่า นมส่วนหน้า อุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยพัฒนาสมองของทารก มีปริมาณน้ำมาก ช่วยกระตุ้นการขับถ่ายของทารกได้เป็นอย่างดี
- น้ำนมสีขาวเข้ม : เรียกว่า นมส่วนหลัง ซึ่งมีโปรตีนและไขมันสูงกว่านมส่วนหน้า ช่วยเพิ่มพลังงาน และเสริมสร้างการเจริญเติบโตให้กับทารก
- น้ำนมสีแดง : เกิดจากการที่คุณแม่รับประทานอาหารที่มีสีแดงในปริมาณมาก โดยปกติแล้วน้ำนมจะกลับมาเป็นสีขาวได้ภายในระยะเวลา 2 – 3 วัน นอกจากนี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีก เช่น มีเลือดปนมาในน้ำนมจากการที่มีหัวนมแตก เส้นเลือดฝอยแตกจากการใช้เครื่องปั๊มนมที่มีแรงดูดมากเกินไป หรือความผิดปกติของเต้ามอื่น ๆ ดังนั้นหากพบว่าน้ำนมมีสีแดงปนเปื้อนนานเป็นสัปดาห์ ควรรีบพบแพทย์เพื่อประเมินอาการและหาสาเหตุ
นอกจากนี้น้ำนมอาจมีสีอื่น ๆ ได้ ขึ้นอยู่กับอาหารและยาที่คุณแม่ได้รับ ดังนั้นหากคุณแม่พบว่าสีของน้ำนมเปลี่ยนไป แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : กระทรวงสาธารณสุข และ สภากาชาดไทย
กรมอนามัย เตือน บดข้าวให้ทารกกินอันตรายต่อสุขภาพ ย้ำ นมแม่ดีที่สุด