วิธีเลือกกินอาหารล้างไขมันในเลือด! ลดโรคแทรกซ้อนจากไขมันในเลือดสูง!
ไขมันในเลือดสูง นับเป็นภาวะอันตรายและภัยเงียบที่เราแทบจะไม่รู้ตัวเลยว่าเสี่ยงภาวะนี้อยู่แต่กลับสร้างปัญหาโรครุมเร้าสารพัด ทั้งเบาหวานความดันสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดต่างๆ วันนี้เรามาแนะทริกกินอะไรดีช่วยลดไขมันเลว-กินอะไรเพิ่มโภชนาการที่ดีให้ร่างกาย!
ไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia) ภาวะที่หลายคนมองข้าม เพราะแม้แต่คนไม่อ้วนก็มีภาวะดังกล่าวได้ ซึ่งนับเป็นปัจจัยการก่อโรคมากมาย ซึ่งสำคัญต่อการเกิดหลอดเลือดตีบตัน โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี่ยงหัวใจ ดังนั้น ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจึงมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาตได้ และอย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าคอเลสเตอรอลเป็นสิ่งที่ไม่พึ่งปรารถนา เป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งโรคหัวใจ ดังนั้นหนทางที่ดีที่สุดในการลดไขมันเลวในร่างกาย ซึ่งจำเป็นต้องลดอาหารบางประเภท
9 วิธีในการได้รับ "โปรตีน" มากขึ้นในทุกมื้ออาหาร
ไขมันในเลือดสูง ควรกินอะไร? ป้องกันคอเลสเตอรอล-ไตรกลีเซอไรด์สูง
อาหารที่ต้องเลี่ยงเพื่อลดไขมัน
- อาหารไขมันสูง อย่างอาหารประเภททอด น้ำมันลอย เช่น ปาท่องโก๋ ไก่ทอด กล้วยทอด ฯลฯ
- อาหารที่มีกะทิ เช่น แกงกะทิ ขนมหวานที่มีกะทิ ฯลฯ
- ไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู เนื้อสัตว์ติดมัน หนังไก่ ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู เนื้อสัตว์แปรรูป เช่นไส้กรอก เบคอน แฮม
- หลีกเลี่ยงหรือจำกัดไขมันจากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว
- ไขมันจากขนมที่ทำจากเนย นม ไข่ กะทิ เช่น ผลิตภัณฑ์เบเกอรี ไอศกรีมนม น้ำสลัดครีม ขนมบัวลอย กล้วยบวชชี
- พบในเครื่องดื่มที่มีนมเป็นส่วนผสม นมข้นหวาน ครีมเทียม เช่น มิลค์เชค กาแฟ 3 in1 ชานมไข่มุก ชาเย็น กาแฟเย็น
- ไขมันทรานส์ พบในเนยขาว ครีมเทียม เนยเทียม มาการีน โดนัท คุกกี้ พาย อาหาร ฟาสต์ฟู้ด เช่น เฟรนฟรายส์ แฮมเบอร์เกอร์ ขนมกรุบกรอบต่าง ๆ ของทอด ไก่ทอด
6 กลุ่มอาหารช่วยลดไขมัน และเทคนิคลดน้ำหนักให้ได้ผล
อาหารที่ควรเพิ่มเพื่อลดไขมัน
- อาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ข้าวโอ๊ตที่บดหยาบๆ ผลไม้ ข้าวซ้อมมือ หรือข้าวกล้องแทนข้าวขัดขาว
- พืชตระกูลถั่ว หรืออาหารที่ทำจากถั่วอย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ เช่น ซุปถั่ว สลัดถั่ว แซนวิสถั่ว น้ำเต้าหู้ เต้าฮวย นี้คือสุดยอดโภชนาการที่มีโปรตีนเยอะ และมีสารต้านอนุมูลอิสระด้วย
- เพิ่มผลไม้และผัก 5 เวลาทุกๆวัน โดยเป็นอาหารเช้า อาหารว่าง กินเสริมหลังอาหารกลางวัน อาจจะกินผลไม้อีกครั้งช่วงบ่ายๆ แล้วตอนเย็นทานเป็นสลัดแทน ที่สำคัญควรกินผลไม้ให้กินพร้อมเปลือก แทนที่จะคั้นเป็นน้ำ เพราะน้ำผลไม้จะไม่ค่อยเหลือไฟเบอร์
- หันมากินกระเทียม ไม่ว่าจะเป็นกระเทียมสดหรือปรุงกับอาหาร ล้วนแต่ช่วยลดการผลิตคอเลสเตอรอลทั้งนั้น
- อาหารที่มีโภชนาการสูง อย่างหัวหอม ปลาแซลมอน น้ำมันโอลีฟ อัลมอนด์ วอลนัท และอะโวคาโด ถึงแม้พวกนี้จะมีไขมันสูง แต่ก็เป็นไขมันชนิดดี ซึ่งช่วยทำให้ คอเลสเตอรอลลดลงได้
- อาหารที่มีสารแอนตี้ออกซิเดนส์สูงๆ เช่น
- อาหารวิตตามิน C สูง เช่น แคนตาลูป สตรอเบอรี มะละกอ ส้ม บรอเคอรี และน้ำองุ่น เป็นต้น
- อาหารวิตามิน E สูง เช่น เม็ดดอกทานตะวัน อัลมอนด์ วอลนัท ถั่วเหลือง เป็นต้น
นอกจากการเลือกรับประทานอาหารแล้ว ควรใส่ใจในการปรุงที่ควรใช้น้ำมันแต่น้อย จำกัดการกินอาหารประเภททอดและกะทิ โดยให้เลือกกินได้วันละ 1 อย่าง กินเนื้อสัตว์ที่เป็นเนื้อล้วน แยกเอาส่วนที่เป็นไขมันและหนังออกหันมากินอาหารประเภทต้ม ต้มยำ ยำ นึ่ง ย่าง อบ แทนอาหารทอด ที่สำคัญควรลดละเลิก บุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีส่วนทำให้ไขมันในเลือดสูงด้วย ที่สำคัญควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช และ โรงพยาบาลกรุงเทพ
ภาพจาก : freepik