“แคร์รอต” ผักสีส้มช่วยลดระดับไขมันในเลือด ป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว
แคร์รอต ผักยอดนิยมที่เต็มไปด้วยประโยชน์คาดไม่ถึง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ ป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว ลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระ!
แคร์รอต(Carrot) ผักสีส้ม ยอดนิยมที่สามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนู ด้วยรสชาติหวานนิดๆ และกลิ่นเฉพาะตัว หรือแม้แต่จะกินสดก็สดชื่นคล้ายกินผลไม้ อีกทั้งยังอุดมไปด้วยสารอาหารจำพวกวิตามิน แร่ธาตุ เส้นใย อีกทั้งยังมีแคลอรีที่ต่ำ ปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน อยู่ที่ประมาณครึ่งถ้วย พลังงาน 25 แคลอรี ให้วิตามินและแร่ธาตุต่อความต้องการของร่างกาย 1 วัน ทั้ง วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินเค โพแทสเซียมและไฟเบอร์ แคลเซียมและธาตุเหล็ก อีกทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระหลากหลายชนิดที่อาจช่วยบำรุงสายตา
“ฟักทอง” ไฟเบอร์-เบต้าแคโรทีนสูงแคลอรีต่ำ กินมากตัวเหลืองจริงหรือไม่?
ไขมันในเลือดสูง ควรกินอะไร? ป้องกันคอเลสเตอรอล-ไตรกลีเซอไรด์สูง
อีกจากนี้ผักสีส้มยังมีสารเบต้าแคโรทีน แก้โรคตาฝ้าฟาง บำรุงผิว และเนื้อเยื่อต่างๆ ให้ทำงานได้ดี ช่วยยับยั้งความเสื่อมของอวัยวะสำคัญในร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงเลือดให้ไหลเวียนสะดวก และช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย เมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกเปลี่ยนเป็น วิตามินเอ ซึ่งช่วยในการรักษาโรคตาแทบทุกชนิด
- สารฟอลคารินอล ทำงานร่วมกับสารเบต้าแคโรทีน สามารถต้านอนุมูลอิสระ อันเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง
- แคลเซียมแลคเตท ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ ป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว ลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต และความดันโลหิตสูงอีกด้วย
- เบต้าแคโรทีน พบปริมาณมากในแคร์รอตสีส้ม มีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระ สามารถดูดซึมได้ดีขึ้นหากรับประทานแบบปรุงสุก แต่หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้ผิวเป็นสีส้มได้
- อัลฟ่าแคโรทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเหมือนกับเบต้าแคโรทีน สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอเพื่อใช้ในร่างกายได้
- แอนโธไซยานิน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในแคร์รอตสีม่วง
- ไลโคปีน พบมากในแคร์รอตสีแดงและสีม่วง ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคมะเร็ง
- โพลิอะเซทิลีน อาจช่วยป้องกันมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งชนิดอื่น
อย่างไรก็ตามหากรับประทานแคร์รอตที่มีเบต้าแคโรทีนมากเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะผิวสีส้มหรือสีเหลือง (Carotenemia) ซึ่งโดยทั่วไปไม่เป็นอันตราย ซึ่งแคร์รอตเองสามารถรับประทานดิบหรือปรุงสุกได้ แต่อาจเป็นข้อยกเว้นในบางคนที่มีอาการภูมิแพ้ อาจต้องปรุงสุกก่อนรับประประทาน ซึ่งเบต้าแคโรทีนในแคร์รอตอาจดูดซึมได้ดีในแคร์รอตปรุงสุก
8ประโยชน์"กล้วย"ป้องกันโรคทางสมองมีฤทธิ์ต้านมะเร็งช่วยลดซึมเศร้าได้
การรับประทานเบต้าแคโรทีนนั้น หากต้องการรับประทานเพื่อบำรุงสุขภาพ ป้องกันความเสื่อมถอยของร่างกาย เราควรรับประทานในรูปอาหาร แต่หากต้องการรับประทานเพื่อการรักษาภาวะความเสื่อมที่เป็นอยู่ ก็สามารถเลือกรับประทานในรูปแบบอาหารเสริมได้ โดยควรให้อยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตามการบริโภคแคโรทีนอยด์หรือเบต้าแคโรทีนในรูปแบบของอาหารเสริมมากเกินไปอาจเป็นเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล,hellokhunmor และ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพจาก : freepik
“กระท้อน” ผลไม้หน้าฝน อุดมไฟเบอร์-วิตามิน ป้องกันน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
“ถั่วดำ” ตัวช่วยลดเสี่ยงโรคหัวใจอย่างมีนัยยะ-ล้างพิษได้มากกว่า 10 เท่า