“อะฟลาท็อกซิน”สารก่อมะเร็งที่เพียง 1 ไมโครกรัมเสี่ยงทำลายตับ อันตรายถึงชีวิต
เป็นกระแสสำหรับ ข้อถกเถียงข้าวเก่า 10 ปีกินได้หรือไม่? ซึ่งนักวิชาการมากมาย ห่วงการปนเปื้อนของเชื้อราและสารก่อมะเร็งอย่าง “อะฟลาท็อกซิน” ที่การหุงต้มธรรมดาไม่สามารถทำลายเชื้อได้ เผยข้อมูลการแพทย์ทางวิชาการและวิธีรับมือ
จากกรณีที่นักวิชาการออกมาเตือน กินข้าวเก่า 10 ปี เสี่ยงสารพิษและเจือปนจากการเก่าเก็บที่การรมยารักษาข้าวไว้อาจไม่ทั่วถึง และปมเพาะสารพิษและเชื้อราเอาไว้มากมาย หนึ่งในนั้นคือสารอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษที่อันตรายมากก่อให้เกิดมะเร็งได้ โดยองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า ปริมาณเพียง 1 ไมโครกรัมสามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในแบคทีเรียและทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้
นักวิชาการ ชี้ ข้าว 10 ปีสารพิษจากเชื้อราเพียบ บริโภคเสี่ยงมะเร็ง
อ.อ๊อด ห่วงข้าว 10 ปีมี "อะฟลาท็อกซิน" สารก่อมะเร็งอันตรายมาก
หากได้รับอย่างต่อเนื่องสารอะฟลาท็อกซินมักพบได้ในวัตถุดิบทางการเกษตรที่นำมาแปรรูปและเก็บอย่างไม่เหมาะสม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ประเภทแป้ง ผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มันสำปะหลัง ผักและผลไม้อบแห้ง ปลาแห้ง กุ้งแห้ง กะปิ มะพร้าวแห้ง หัวหอมแห้ง กระเทียมแห้ง พริกแห้ง พริกไทย งา
สารอะฟลาท็อกซินถูกสร้างจากเชื้อราในตระกูล Aspergillus มักพบปนเปื้อนผลผลิตทางการเกษตร หากเก็บไว้ในที่ที่อุณหภูมิและความชื้นสูง อันตรายทั้งในมนุษย์และสัตว์ มีความสามารถในการทนความร้อนได้สูง ซึ่งความร้อนที่ใช้ในการหุงต้มอาหารโดยทั่วไปตามบ้านเรือนนั้น ไม่สามารถทำลายสารดังกล่าวให้หมดไปได้
อันตรายจากสารอะฟลาท็อกซิน
เมื่อมีการปนเปื้อนสารพิษดังกล่าวในอาหารและร่างกายได้รับสารนี้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ เช่น โรคตับอักเสบเรื้อรัง และมะเร็งตับ เป็นต้น ซึ่งความเป็นพิษที่ส่งผลต่อร่างกายของแต่ละบุคคลจะมากหรือน้อยนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณที่รับสารพิษนั้นๆ ความถี่ที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย อายุ และความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายในแต่ละตัวบุคคล
พิษของสารอะฟลาท็อกซินแบบเฉียบพลันนั้นมักเกิดในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่อาการ มักพบว่ามีอาการชัก หมดสติ เนื่องจากความผิดปกติของตับและสมอง น้ำตาลในเลือดลดลง สมองบวม มีการคั่งของไขมันในอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต หัวใจ และ ปอด บางครั้งพบสารอะฟลาท็อกซินในตับผู้ปวยด้วย
สําหรับในผู้ใหญ่หากได้รับสารพิษชนิดนี้ เข้าไปเป็นจํานวนมากหรือแม้เป็นจํานวนน้อยแต่ ได้รับเป็นประจําอาจเกิดการสะสมจนทําให้เกิด อาการชัก หายใจลําบาก ตับถูกทําลาย หัวใจและสมองบวม อะฟลาท็อกซินยังเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับการเกิดไขมันมากในตับ และพังพืดในตับด้วย
สภาผู้บริโภค จี้รัฐตรวจคุณภาพข้าว 10 ปี หากขายได้ ต้องเขียนสลากให้ชัด!
วิธีป้องกันสารอะฟลาท็อกซิน
อะฟลาท็อกซินสามารถถูกทําลายได้ด้วยด่างและคลอรีน ดังนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการป้องกันมิให้สารพิษชนิดนี้ปนเปื้อนตั่งแต่ในวัตถุดิบทางการเกษตรที่นํามาใช้ประกอบอาหาร
ไม่ควรกินอาหารที่แห้ง เก่า เก็บ เพื่อรับสารเหล่านี้เข้าไปในร่างกาย ควรเลือกซื้ออาหารวัตถุดิบแห้งที่อยู่ในสภาพใหม่ บรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ไม่มีเชื้อราต้องไม่มีกลิ่นอับ ส่งกลิ่นเหม็น หรือ ชื้น ไม่เก็บอาหารแห้งเหล่านั้นไว้เป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เกิดการสะสมของเชื้อราได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม และ antifakenew
5 สารปนเปื้อนในอาหารที่พบได้ทุกวัน กินมากเสี่ยงแพ้รุนแรง ก่อมะเร็งได้
เตือน! สาวไม่ดื่มเหล้าป่วย “มะเร็งตับ” คาดมาจากเนยถั่วปนเปื้อน