โควิด-19 รอบสัปดาห์ พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 314 ราย พบผู้เสียชีวิต 1 ราย
สถานการณ์โควิด-19 สัปดาห์ที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อ 314 ราย ผู้เสียชีวิต 1 ราย หมอธีระ ระบุตัวเลขปอดอักเสบก็ถือว่าน้อยที่สุดในรอบ 8 เดือน คาดเดือนตุลาคม 2567 อาจเห็นการระบาดเพิ่ม
กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์โควิด-19 รายสัปดาห์ ระบุว่า ข้อมูลของสัปดาห์ที่ 35 ปี 2567 ระหว่างวันที่ 1- 7 กันยายน 2567 มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาลลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 314 ราย เฉลี่ยรายวัน 45 รายต่อวัน
มีผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ต้นปี 2567 อยู่ที่ 38,236 ราย ปอดอักเสบ 170 ราย ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 70 ราย พบผู้เสียชีวิต 1 รายเป็นผู้สูงอายุ ขณะที่มีผู้เสียชีวิตรวมทั้งแต่ต้นปี 2567 อยู่ที่ 201 ราย
ทั้งนี้การติดเชื้อนอกโรงพยาบาล (ATK+) ไม่นับยอดรวมกับยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่รักษาในโรงพยาบาล
โควิด-19 รอบสัปดาห์ พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 569 ราย พบผู้เสียชีวิต 1 ราย
แพทย์เตือนข้อมูลระบาดวิทยาสิงหาคม2567 พบไข้หวัดใหญ่แซงหน้าโควิด-19
ด้าน รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat วิเคราะห์การระบาดของไทย เทียบกับสัปดาห์ก่อน ป่วยนอนรพ.พุ่งลดลง 44.8% จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบลดลง 19.8% และใส่ท่อช่วยหายใจลดลง 23.1%
คาดประมาณจำนวนคนติดเชื้อใหม่ต่อวันอย่างน้อย 2,243-3,116 ราย
ไทยเรายังคงอยู่ในช่วง grace period ดังที่ได้ประเมินไว้ ยอดป่วยนอนรพ.ถือว่าต่ำสุดในรอบ 10 เดือน นับตั้งแต่ 11 พ.ย.2023 เป็นต้นมา
ในขณะที่จำนวนปอดอักเสบก็ถือว่าน้อยที่สุดในรอบ 8 เดือน แต่ยังคงเป็นหลักร้อยอยู่ ครั้งสุดท้ายที่ต่ำกว่าร้อยคือ 9 ธ.ค.2023 คงต้องใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์
กวาดตาดูสถานการณ์ทั่วโลก KP.3.1.1 ยังเป็นตัวหลัก ในขณะที่ XEC และสายพันธุ์อื่นๆ ยังคงแพร่ระบาดกันอยู่แต่มีสัดส่วนไม่มากนัก
ประเมินว่าหลังสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคม น่าจะเป็นช่วงที่เริ่มเห็นการระบาดเพิ่มขึ้นในไทย หากไม่มีปัจจัยอื่นมากระตุ้นก่อนหน้านั้น อย่างไรก็ตาม พึงระลึกเสมอว่า แต่ละวันยังมีผู้ที่ติดเชื้อและป่วยอยู่ตลอด เพียงแต่ไม่ได้นอนรักษาตัวในรพ. กิจกรรมเสี่ยงต่างๆ ในที่แออัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานสังสรรค์ บันเทิง คอนเสิร์ต และขนส่งสาธารณะ ก็ควรระมัดระวัง ป้องกันตัวด้วย
วัคซีนรุ่นที่ปรับตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกคือ JN.1 ทยอยออกมาให้กับประชากรในหลายต่อหลายประเทศ ซึ่งผ่านการศึกษาพบว่าได้ผลในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ได้ด้วย และแนะนำให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ที่มีโรคประจำตัว
ปัญหา Long COVID ยังคงสร้างผลกระทบต่อผู้ป่วยจำนวนมากทั่วโลก โดยวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ไม่ติดเชื้อหรือไม่ติดซ้ำ รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องเมื่อป่วย และการได้รับวัคซีน
ความใส่ใจสุขภาพ รักษาความสะอาด เลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับคนที่มีอาการป่วย จะช่วยให้เราลดความเสี่ยงในการติดเชื้อระหว่างใช้ชีวิตประจำวันพฤติกรรมของตัวเราเป็นตัวกำหนด