ประโยชน์ “รากบัว” สมุนไพรจีนฤทธิ์เย็น บำรุงภายใน ลดเสี่ยงอัลไซเมอร์
รากบัว เป็นกระแสอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นผงรากบัวชงพร้อมดื่ม หรือการกินรากบัวสดๆ อีกทั้งยังมาทำอาหารคาวหวานได้อย่างหลากหลายและแพร่หลาย เผยประโยชน์ สรรพคุณฤทธิ์เย็น
รากบัว (Lotus root) ส่วนหนึ่งของบัวหลวง หรือจีนนิยมเรียกกันว่า หน่อยเก๋า หรือกวงพั้ง เป็นต้น ซึ่งคนไทยเรานิยมนำมารับประทานเป็นอาหารกันทั้งแบบดิบและสุก เราอาจจะเห็นได้ทั้ง ของคาวและของหวาน ด้วยสัมผัสกรุบกรอบหอมๆมันๆ ทำให้เป็นของโปรดของใครหลายคน อีกทั้งยังมีประโยชน์และสรรพคุณทางยาอีกด้วย โดยรากบัวนับเป็น สมุนไพรจีนฤทธิ์เย็นและหวาน
ลักษณะทั่วไปของรากบัว บัวจัดเป็นพืชไม้น้ำที่มีรากหรือเหง้าสีขาวอมเหลืองหรือสีงาช้างอยู่ใต้ดินเป็นปล้องๆ ยาวและใหญ่ โดยมีกลิ่นหอมอ่อนๆ และแข็งเล็กน้อย
“ย่านาง” ประโยชน์สมุนไพรเย็น ขจัดพิษกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด
ตะขบ ผลไม้กินเพลิน สรรพคุณและเส้นใยสูง ช่วยดูดซับคอเลสเตอรอลได้
หากนำรากบัวมาตัดตามแนวขวางจะมีลักษณะเป็นรูกลมกลวงๆ อยู่หลายรูเลยทีเดียว และตามก้านใบจะมีหนามอยู่และยาวชูขึ้นโผล่พ้นเหนือน้ำ
สรรพคุณของรากบัวสด
- ช่วยแก้ร้อนใน รากบัวมีฤทธิ์เย็น ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ทั้งยังมีวิตามินซีสูง ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน บรรเทาอาการหวัด
- บำรุงอวัยวะภายใน หัวใจ ตับ ม้าม ไต กระเพาะอาหาร โดยรากบัวมีเส้นใยอาหารสูง ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงกระเพาะอาหาร และรากบัวมีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงหัวใจ ตับ ม้าม ไต
- บำรุงร่างกาย รากบัวมีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุ ช่วยบำรุงร่างกาย นอกจากนี้ รากบัวยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง
- บำรุงสมอง รากบัวมีวิตามินบีรวม ช่วยบำรุงระบบประสาท สมอง โดยรากบัวมีสารอาหารที่จำเป็นต่อสมอง เช่น โคลีน แมกนีเซียม เหล็ก ช่วยเพิ่มความจำ ลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์
สูตรทำน้ำรากบัวคลายร้อน
- เอารากบัวมาฝานเป็นแว่นมากน้อยตามต้องการ ใส่น้ำพอท่วม
- ต้มให้เดือดนาน 10-15 นาที
- แล้วรินดื่มแต่น้ำ วันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว
ถ้าดื่มยากก็อาจเติมน้ำผึ้งได้เพื่อให้รสชาติดื่มง่ายขึ้น แต่ไม่ควรเติมน้ำตาลทราย เพราะยิ่งทำให้ร้อนใน สูตรนี้ใช้ดื่มดับกระหายได้ดีแต่ถ้าใครร้อนในมากให้เปลี่ยนเป็นรับประทานรากบัวสดแทน เพราะมีฤทธิ์แก้ร้อนในได้ดีกว่าน้ำต้มราก
“กระถิน” สมุนไพรช่วยลดน้ำตาลในเลือด แต่พิวรีนสูงก่อนกินต้องระวัง
ข้อควรระวังการกินรากบัว
ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านกระเพาะไม่ควรรับประทานน้ำรากบัวที่คั้นสดโดยตรง แต่ให้เติมน้ำเพิ่มประมาณ 30 เท่า จากนั้นนำไปต้มจนระเหยเหลือ 20 เท่าจากปริมาณเดิม ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปากทุก ๆ 30 นาที แทน ทั้งนี้ถึงรากบัวจะอร่อยแค่ไหนแต่ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ก็สำคัญต่อสุขภาพที่ดีเช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : antifakenews,สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดตาก และ ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย
“กระเจี๊ยบแดง” ประโยชน์สมุนไพร ชะลอไขมันอุดตันในเลือดมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
“เพกา” สมุนไพรพื้นบ้าน วิตามินซีและเอสูงมาก! สรรพคุณ-ข้อควรระวัง