“ผักใบเหลียง” ราชินีผักพื้นบ้าน มีสารต้านอนุมูลอิสระและสรรพคุณทางยา
ผักใบเหลียง ผักพื้นบ้านขึ้นชื่อของภาคใต้และแพร่หลายไปทั่วประเทศ นิยมนำมาทำอาหาร เมนูขึ้นชื่อคงไม่พ้นใบเหลียงผัดไข่ เผยประโยชน์และสรรพคุณ
ผักใบเหลียง หรือ ผักใบเหมียง ราชินีแห่งผักพื้นบ้านทางภาคใต้ของประเทศไทย มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม ใบเดี่ยวคล้ายใบยางพารา นิยมนำใบอ่อนและยอดอ่อนมารับประทาน ประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ผัด ต้มกะทิ แกง เลียง จิ้มน้ำพริก หรือเป็นผักแกล้มกับขนมจีน ใบเหลียงมีสรรพคุณทางยา ช่วยลอกฝ้า ทำให้สดชื่น แก้กระหายน้ำ
คุณค่าทางโภชนาการ
ใบเหลียงแร่ธาตุ ประกอบด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินหลายชนิด อาทิ เบต้าแคโรทีน, สาร Gnetin C, สาร resveratrol, สารกลุ่มอนุพันธ์ stilbenoid มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และต้านอนุมูลอิสระ

รวมทั้งวิตามินต่างๆ หลายชนิด โดยใน 100 ก. ของใบเหลียง ประกอบด้วย พลังงาน 83 กิโลแคลอรี นอกจากนี้ในใบเหลียงยังพบสารพฤกษเคมีที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น สารกลุ่ม carotenoid ได้แก่ - carotene, luteinและสารกลุ่ม anthocyanidin เป็นต้น เหมาะที่จะรับประทานเป็นผัก และในรายงานการวิจัยพบว่าการรับประทานสารสกัดจากเมล็ดสูงสุด 5,000 mg ไม่มีผลข้างเคียงที่สำคัญ จึงมีความปลอดภัยในการใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพและกระตุ้นภูมิคุ้มกันเบื้องต้นได้
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของไบเหลียง
- ใบเหลียงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
- ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
- ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด
- ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
- ฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง
- ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ acetylcholinesterase
ผักเหลียงเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจ แต่ว่าข้อมูลการศึกษาวิจัยยังมีน้อย และขาดข้อมูลการศึกษาทางด้านคลินิก ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อที่จะสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาสนับสนุนการใช้ประโยชน์ของผักเหลียงในทางยาหรือด้านอื่นๆ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าของผักพื้นบ้าน นอกเหนือจากการใช้เป็นอาหาร รวมถึงข้อมูลด้านความปลอดภัยในการใช้ด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก