“ซีลีเนียม” โคเอนไซม์ของสารต้านอนุมูลอิสระ เปิดแหล่งอาหารจากธรรมชาติ
ชวนรู้จัก “ซีลีเนียม” โคเอนไซม์ของสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง ชะลอวัยแนะ ประโยชน์แหล่งอาหารสำคัญและข้อควรระวังการทานอาหารเสริมซีลีเนียม
ซีลีเนียม (Se) Selenium เป็น non metallic element เป็นโคเอนไซม์ของสารต้านอนุมูลอิสระจัดอยู่ในกลุ่มที่ 16 ของตารางธาตุ เป็นแร่ธาตุที่สำคัญในร่างกายมนุษย์และสัตว์ ถูกสะสมในเนื้อเนื้อเชื่อๆ ที่ร่างกาย พบที่ตับ กล้ามเนื้อ ไต พลาสมา และอวัยวะอื่นๆ ซีลีเนียมจะประกอบเป็นส่วนหนึ่งของไปรตีนที่ถูกเรียกว่า ชีลิโนโปรตีน (selenoprotcins) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ antioxid ช่วยปกป้องจากการทำลายของอนุมูลอิสระที่อาจทำให้เกิดโรคเรื้อรังได้เช่น โรคมะเร็งและโรคหัวใจ เป็นต้น
สารต้านอนุมูลอิสระ จากธรรมชาติ ช่วยชะลอวัย ลดเสี่ยงจอประสาทตาเสื่อม
แหล่งสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ ดูแลสุขภาพ ช่วยชะลอริ้วรอย

แหล่งอาหารที่ซีลีเนียม
- ผัก ผลไม้
- เนื้อสัตว์
- ข้าวโพด
- ธัญพืช
- พืชตระกูลถั่ว อาทิ ถั่วเหลือง
- กระเทียม
- อาหารทะเล เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน เป็นต้น
ซีลีเนียม มีหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคต้อกระจก และมีสารต้านการอักเสบในการรักษาข้ออักเสบ นอกจากนี้ ซีลีเนียมอาจยังมีบทบาทหน้าที่ของซีลีเนียมในร่างกายจะเกี่ยวข้องกับการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากซีลีเนียมมีคุณสมบัติ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยในการสร้างเอนไซม์ glutathione peroxidase ซึ่งมีหน้าที่กำจัดอนุมูลอิสระต่างๆ ที่ทำอันตรายต่อเซลล์ หรือ เปลี่ยนแปลงเซลล์ปกติให้กลายเป็นเซลล์มะเร็ง และยังช่วยในการนำสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น glutathione วิตามินซี และวิตามินอี เป็นต้น กลับมาใช้งานได้อีก ทำให้การกำจัดอนุมูลอิสระมีประสิทธิภาพ มากขึ้น และยังชะลอการแก่ตายของเซลล์ตามธรรมชาติ (apoptosis) ส่งเสริมให้ร่างกายเจริญเติบโตตามปกติ
นอกจากนี้ซีลีโนโปรตีนซึ่งมีซีลีเนียมเป็น องค์ประกอบจะมีหน้าที่เกี่ยวกับโครงสร้างของสเปิร์ม และกล้ามเนื้อ รวมถึงยังมีผลต่อเมแทบอลิซึมของฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนเพศ และอินซูลิน อีกทั้งซีลีโนโปรตีน เช่น iodothyronine deiodinases ซึ่งเป็นเอนไซม์กลุ่มซีลีโนโปรตีนที่สำคัญ มีส่วนช่วยควบคุมการทำงานของฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์
ซีลีเนียมควรระวังเรื่องไหนบ้าง?
- หากมีซีลีเนียม ในร่างกายมากเกินไปอาจส่งผลให้ ผลหลุดง่าย ผิวหนังบวมแดงและลอก รวมทั้งฟันผุ ซึ่งหากรับประทานอาหารเสริมซีลีเนียมควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
- โดยปกติแล้วจะไม่ค่อยพบภาวะ การขาดซีลีเนียม และจำเป็นที่ต้องได้รับซีลีเนียมเสริมในรูปแบบยาควรระมัดระวังอาการแพ้ ซึ่งอาการแพ้จะมีอาการปวดบวม หน้าบวม หายใจลำบาก เป็นต้น
- ในผู้ที่ เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง หรือ มีภาวะขาดไทรอยด์ โรคไตเรื้อรัง หรือ กำลังได้รับการฟอกไต ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ Selenium เสริม
ในผู้ที่ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ แค่รับประทานให้ครบ 5 หมู่และหลากหลายก็จะช่วยให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงแล้ว หากใช้อาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
ขอบคุณข้อมูลจาก :สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และ disthai
สังกะสี (Zinc) ธาตุจำเป็น สร้างโปรตีน ควบคุมการทำงานของร่างกายหลายระบบ
“ทับทิม” อุดมวิตามิน สารพฤกษเคมี ลดการอักเสบ ยับยั้งเซลล์มะเร็ง