“ทับทิม” อุดมวิตามิน สารพฤกษเคมี ลดการอักเสบ ยับยั้งเซลล์มะเร็ง
ทับทิม ผลไม้สีสวยหวานกรอบ แถมยังเต็มไปด้วยประโยชน์ มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยในการลดการอักเสบ ช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งได้
ทับทิม (Pomegranate) ผลไม้พื้นเมืองของประเทศเปอร์เซีย อิหร่าน แต่ปัจจุบันก็วางขายให้ผู้บริโภคได้หาซื้อรับประทานกันในหลายๆประเทศ หนึ่งในนั้นคือไทย ซึ่งหลายคนชื่นชอบและตกหลุมรักทั้งรสชาติ หวานกรอบ สนุกทุกครั้งที่ได้กิน และสีสันสีแดงสด สดใสชวนให้รู้สึกชุ่มชื่น
นอกจากความสวยงามแล้ว ทับทิมยังให้คุณค่าโภชนาการสูง มีการศึกษาจากหลายประเทศทั่วโลกพบว่าทั้งส่วนผล ใบ ลำต้น และรากของต้นทับทิม สามารถนำมาใช้บรรเทารักษาอาการโรคต่างๆได้ อุดมไปด้วยวิตามิน สารพฤกษเคมี
มะกรูด ผักคู่ครัวไทย สารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยการนอนหลับได้!
5 สีของผัก ประโยชน์ไม่ซ้ำกินทุกวัน ช่วยปกป้องเซลล์ ต้านมะเร็ง
สารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น โพลีฟีนอล สารพูนิคาลาจิน พูนิคาลิน กรดแอลลาจิก กรดแอลลาจิก แทนนิน วิตามินซี เป็นต้น
จากงานวิจัยมากมายพบว่าสารต้านอนุมูลอิสระทับทิม มีส่วนช่วยในการลดการอักเสบ ช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งได้ โดยเฉพาะเซลล์มะเร็งที่เต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก
ด้านสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า น้ำทับทิมมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระมาก เป็นแหล่งวิตามินซี, วิตามินบี 5 และโพแทสเซียม และยังมีงานวิจัยบอกว่า ดื่มน้ำทับทิมเป็นประจำสามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและการติดเชื้อจากไวรัส ลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก ลูคีเมีย เบาหวาน ไปจนถึงลดการสร้างเม็ดสีใต้ผิวหนัง
อย่างไรก็ตาม น้ำทับทิมในท้องตลาดมีปริมาณน้ำตาล 11 -12% ซึ่งนับว่าอยู่ในเกณฑ์สูง ผู้ที่สนใจจึงควรบริโภคแต่พอดีและไม่มากจนเกินไป หรือลองทำน้ำทับทิมสดกินเองก็เป็นทางเลือกที่ดีเลยทีเดียว
วิธีน้ำทับทับด้วยตนเอง
ส่วนผสม
- เนื้อทับทิม 1 ถ้วยตวง
- น้ำต้มสุก 1 ถ้วยตวง
- น้ำเชื่อม เกลือ (เล็กน้อย)
อุปกรณ์พิเศษ: ผ้าขาวบางหรือตะแกรงตาเล็กๆ
5 กลุ่มอาหารลดความเสี่ยงยับยั้งมะเร็ง ต้านการอักเสบ ปกป้องเซลล์
วิธีทำน้ำทับทิม
- นำเนื้อทับทิมใส่ในผ้าขาวบางหรือตะแกรงขยำหรือใช้ช้อนกดให้น้ำออกมาให้หมด
- ค่อยๆเติมน้ำลงไปในเนื้อทับทิม ขยำซ้ำอีกทีจนแห้ง
- ลองชิมรสชาติ หากไม่ถูกปาก ลองใส่น้ำเชื่อมและเกลือตามชอบ
สิ่งสำคัญที่สุด คือไม่ควรใส่น้ำตาลลงในน้ำมากเกินไป และควรกินแต่พอดีเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลากหลายควบคู่ไปด้วย พร้อมกับการออกกำลังกายที่เหมาะสมอย่าสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง
ขอบคุณข้อมูลจาก : มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยฯ และ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
“กาแฟ”เครื่องดื่มคาเฟอีน-สารต้านอนุมูลอิสระเต็มแก้ว-ใครบ้างไม่ควรกิน!
“ฟลาโวนอยด์” โมเลกุลคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง มีสารต้านอนุมูลอิสระ!