ยา วิตามิน อาหารเสริม ไม่ควรกินคู่กับอะไร? เป็นโทษมากกว่าประโยชน์
ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วิตามิน ยังคงเกิดความนิยมอย่างแพร่หลาย ช่วยเสริมสุขภาพได้ เผยควรกินคู่กับอะไรช่วยเสริมการทำงาน และไม่ควรกินคู่กับอะไรที่ขัดขวางการทำงาน มากกว่าประโยชน์ อาทิ อินซูลิน ไม่ควรรับประทานกับ มะระขี้นก ว่านหางจระเข้ เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงเสริมการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดทำให้น้ำตาลลดลงมากเกินไป เป็นต้น
รู้หรือไม่ ? ก่อนที่จะรับประทานยา วิตามิน สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ ร่วมกัน จึงควรศึกษาให้ดีก่อน ว่าแต่ละอย่างมีสรรพคุณอย่างไร ถ้ารับประทานร่วมกันแล้วจะก่อให้ประโยชน์หรือโทษอย่างไรบ้าง
5 กลุ่มยาวิตามินและอาหารเสริม ที่ไม่ควรรับประทานร่วมกัน
ยารักษาเบาหวานหรือ อินซูลิน (Insulin)
ไม่ควรรับประทานกับ มะระขี้นก ว่านหางจระเข้ โสม แมงลัก พืชตระกูลลูกซัด ผักเชียงดา และ อาหารเสริมที่มีแร่ธาตุโครเมียม (Chromium)

เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงดังนี้ จะเสริมการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดทำให้น้ำตาลลดลงมากเกินไป อาจเกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ สายตาพร่า เหงื่อออกมาก หิวบ่อย อ่อนเพลีย
ยาลดความดันโลหิตและยาลดไขมันในเลือด
ไม่ควรรับประทานกับ น้ำเกรปฟรุต ทำให้ปริมาณยาสูงหลายเท่าในกระแสเลือด อาจส่งผลให้เกิดพิษจากยาได้ ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Aspirin, Warfarin)
ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ไม่ควรรับประทานกับ
- น้ำมันคานูล่า
- น้ำมันดอกคำฝอย
- น้ำมันปลา
- น้ำมันดอกอีฟนิ่ง
- ตังกุย
- กระเทียม
- แป๊ะก๊วย
- ขิง
เพราะจำทำให้เสริมฤทธิ์ของยาทำให้เลือดออกง่ายขึ้น หากทานปริมาณที่มาก (ควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ เช่น ปรุงในอาหารได้ตามปกติ แต่ไม่ควรทานในรูปของอาหารเสริมหรือสารสกัดเข้มข้น)
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ไม่ควรรับประทานกับ ผักใบเขียว ยอ ชาเขียว ถั่วเหลือง บรอกโคลี และ อาหารเสริมโคเอ็นไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10) อาจทำให้ลดฤทธิ์ของยาหรือต้านการออกฤทธิ์ของยาทำให้ระดับยาในเลือดไม่เพียงพอต่อการรักษา
ยาปฏิชีวนะกลุ่ม fluoroquinolone เช่น ยา norfloxacin, ciprofloxacin และยาปฏิชีวนะกลุ่ม tetracycline
ไม่ควรรับประทานกับ นม โยเกิร์ตหรือยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะอาหาร และแคลเซียม เพราะยาสามารถเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับประจุบวกของธาตุแคลเซียม (ในนมและโยเกิร์ต) และแคลเซียม แมกนีเซียม อลูมิเนียม (ในยาลดกรด) ทำให้ยาดูดซึมได้ลดลง ระดับยาในเลือดไม่เพียงพอต่อการรักษา
5 กลุ่มยา วิตามินและอาหารเสริม ที่ควรรับประทานร่วมกัน
- วิตามินเอ ดี อี หรือเค หลังอาหารมื้อใหญ่หรือมื้อที่มีไขมันจากสัตว์หรือจากพืช หรืออาหารเสริมกลุ่มน้ำมันปลา ช่วยให้วิตามินดูดซึมได้ดีในร่างกาย
- ธาตุเหล็ก เสริมด้วยวิตามินซี หรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น
- แคลเซียม เสริมด้วยวิตามินดี หรืออาหารที่อุดมด้วยวิตามินดี เช่น เห็ด นม ปลา ชีส ช่วยให้แคลเซียมดูดซึมได้ดีขึ้นในลำไส้เล็ก
- คอลลาเจนเปปไทด์ ชนิดโมเลกุลเล็ก เสริมด้วยวิตามินซี ช่วยเสริมการทำงานของกันและกันในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนของผิวพรรณ
- โคเอนไซม์คิวเท็น หลังอาหารมื้อใหญ่หรือมื้อที่มีไขมันจากสัตว์หรือจากพืช ช่วยให้โคเอนไซม์คิวเท็นดูดซึมได้ดีในร่างกาย
ยา วิตามิน สมุนไพร และอาหารเสริมจึงเปรียบเสมือนดาบสองคม หากรับประทานร่วมกันโดยไม่ได้ระมัดระวังอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ โดยไม่รู้ตัว แต่ในปัจจุบันเราสามารถตรวจระดับวิตามินแร่ธาตุในร่างกายได้โดยการเจาะเลือด เพื่อค้นหาวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการจริง นำไปสู่การเลือกรับประทานอาหารหรืออาหารเสริมในแบบเฉพาะบุคคล
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์