ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง เกิดขึ้นได้ไม่ใช่ขี้เกียจ บ่งชี้ความเครียดรุนแรง
ใครก็อ่อนเพลียได้โดยเฉพาะเวลาทำงาน แต่หากรู้สึกอ่อนเพลียมากเกินไปและตลอดเวลาเช็กอาการเหล่านี้ก่อนเข้าสู่ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง
กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง หรือ Chronic Fatigue Syndrome : CFS คือ ความผิดปกติที่ซับซ้อนแต่บ่งชี้ได้จากความเหนื่อยล้ารุนแรง ซึ่งยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดหรือมีทฤษฏีเกี่ยวกับสาเหตุของโรคนี้ แต่มีการสันนิฐานไปถึงการติดเชื้อไวรัส ไปจนถึงความเครียดทางจิตใจ กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรังนั้นพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยสามารถส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในทุกช่วงอายุโดยอาจทำให้กิจกรรมทางกายและจิตย่ำแย่ลง และคงอยู่เป็นระยะเวลานาน พักผ่อนแล้วก็ยังไม่หายไป
8 พฤติกรรมเสี่ยง! ทำให้เกิดอาการ “ปวดหลังเรื้อรัง”
"เดิน-นั่ง" นานๆ ทำให้ปวดขาและข้อเท้า ลดอาการเมื่อยด้วย 5 ท่าบนเก้าอี้
อาการของกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง
- ความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
- การสูญเสียความทรงจำและสมาธิ ความจำถดถอย
- เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลือง บริเวณคอหรือใต้รักแร้โต
- ปวดกล้ามเนื้อ แบบไม่ทราบสาเหตุ
- ปวดศีรษะ
- รู้สึกนอนไม่เต็มอิ่ม
- มึนและวิงเวียนศีรษะ
- อ่อนเพลียแบบรุนแรงเป็นเวลามากกว่า 24 ชั่วโมง หลังจากออกกำลังกายหรือใช้สมอง
สมมุติฐานที่ยังไม่แน่ชัด
- การติดเชื้อไวรัส เนื่องจากบางคนแสดงอาการของกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรังหลังจากติดเชื้อไวรัส นักวิจัยจึงตั้งคำถามว่าไวรัสอาจไปกระตุ้นความผิดปกตินี้หรือไม่ ไวรัสที่น่าสงสัยได้แก่ ไวรัสเอ็ปสไตน์ บาร์ (Epstein-Barr virus),ไวรัสฮิวแมนเฮอร์ปีส์ชนิดที่ 6 (human herpes virus 6),ไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาวในหนู (mouse leukemia viruses) แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่พบความเชื่อมโยงใดๆ
- ปัญหาของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าความบกพร่องนี้รุนแรงพอจะทำให้เกิดกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรังหรือไม่
- ความไม่สมดุลของฮอร์โมน บางครั้งผู้ที่มีอาการของกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรังก็มีระดับฮอร์โมนในเลือดที่ผิดปกติ
- ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง อายุ ที่พบมากในคนวัย 40 หรือ 50 ปี รวมถึงความเครียด ที่จัดการได้ยาก อาจส่งผลให้เกิดกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรังได้
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
- ความผิดปกติเกี่ยวกับการนอน (Sleep Disorders)ความอ่อนเพลียเรื้อรังอาจเกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการนอน งานศึกษาวิจัยเรื่องการนอนชิ้นหนึ่งพบว่า หากการนอนของคุณถูกรบกวนด้วยโรคหรือภาวะสุขภาพเกี่ยวกับการนอน เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข โรคนอนไม่หลับ
- ปัญหาสุขภาพความเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย เป็นอาการทั่วไปของปัญหาสุขภาพหลายต่างๆ หลายชนิด เช่น โรคโลหิตจาง โรคเบาหวาน ภาวะขาดไทรอยด์
- ความบกพร่องของหัวใจและปอดปัญหาสุขภาพหัวใจหรือสุขภาพปอดอาจทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลียมากกว่าปกติได้ แต่คุณก็สามารถทดสอบประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจและปอดได้ ด้วยการตรวจสมรรถภาพของหัวใจ (Exercise Stress Test/EST หรือ Exercise Tolerance Test/ETT)
- ปัญหาสุขภาพจิตความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคไบโพลาร์ โรคจิตเภท (Schizophrenia)
ไม่อยากอาหาร ผอมเร็ว อ่อนเพลีย หนึ่งในสัญญาณ "โรคมะเร็งตับ"
การเยียวยาตัวเอง
- มีจังหวะของตัวเอง พยายามควบคุมให้กิจกรรมอยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่ควรหักโหมทำกิจกรรมต่างๆ มากเกินไป เช่นการหักโหมงานหนัก ในวันที่รู้สึกว่าร่างกาย หรือจิตใจไม่พร้อม
- ลดความเครียด พยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ก่อความเครียด ผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลง นั่งสมาธิ หรืออ่านหนังสือที่ชอบ
- ฝึกวินัยในการนอน เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา ลดการนอนหลับระหว่างวัน หลีกเลี่ยงคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และนิโคติน
- เลือกวิธีบำบัดแบบแพทย์ทางเลือก เช่น การฝังเข็ม การนวด รวมถึงการเล่นโยคะ ก็อาจช่วยให้อาการของคุณดีขึ้นได้
ทริกระหว่างวัน : หาเครื่องดื่มแก้วโปรดวางไว้ใกล้ตัว จิบเบาๆ เพื่อผ่อนคลายความเมื่อยล้าและจิตใจได้
อ่อนเพลีย เครียดง่าย เบื่ออาหาร อาจเพราะร่างกายขาดวิตามิน!
เหนื่อยง่าย หลังป่วยโควิด-19 รู้ชัดจะหายหรือไม่ ต้องดูแลอย่างไร