มองทะลุปัญหาในกองถ่าย บริหารความกดดัน แบบ “ปิ๊ง อดิสรณ์”
ผมได้รับคำถามว่าการได้กำกับบุพเพสันนิวาส ๒ สร้างความกดดันให้ผมไหม? ซึ่งผมไม่รู้จะกดดันอะไร เพราะหน้าที่ของผมคือการทำหนังให้สำเร็จแต่เมื่อหนังฉายไปแล้ว ให้คนดูตัดสินด้วยตัวเอง
เมื่อเวลาในอาชีพของผู้กำกับ ไม่ได้ถูกกำหนดโดยคน แต่ถูกกำหนดด้วย‘หนัง’ แล้วสมดุลของชีวิตการทำงานในกองถ่ายจะอยู่ตรงไหน แตกต่างอย่างไรกับชีวิตปกติ เผยแนวคิดเบื้องหลังการบริหารงานในกองถ่ายให้สมดุล ผ่าน ‘คุณปิ๊ง อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม’ ผู้กำกับหนังในตำนาน อย่างแฟนฉัน ปี 2546 , รถไฟฟ้ามาหานะเธอ ปี 2552 , บุพเพสันนิวาส 2 ปี 2562 เป็นต้น
ซุนโงกุล พลังใจ “น้าต๋อย เซมเบ้” ต่อสู้วัณโรคกระดูก
"โรคเครียด" ปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ แนะวิธีรับมือแบบสร้างสรรค์ทำตามง่าย
เผยแนวคิดรับมือความคาดหวัง ฐานะผู้กำกับ ‘บุพเพสันนิวาส ๒’
ในรายการCoffee Clubเมื่อวันที่ 25 ส.ค.65 ที่ผ่านมา คุณปิ๊ง อดิสรณ์ เล่ารายละเอียดและที่มาที่ไปของการสร้าง บุพเพสันนิวาส ๒ ว่า ยอมรับก่อนโควิดเป็นโปรเจคที่คาดหวังค่อนข้างสูง ขณะที่ก็ต้องชะงักไปในระยะหนึ่งเพื่อทำตามมาตราการล็อกดาวน์โควิด ทำให้ต้องพักกองถ่ายไป แต่หลังจากผ่านวิกฤตโควิด พร้อมกับผลักดันให้ตัวหนังไปถึงโรงภาพพยนต์ได้นั่น จึงเป็นความรู้สึกประสบความสำเร็จไปมากกว่าที่ตั้งเป้าไว้
เมื่อถามถึงความกดดันในฐานะของผู้กำกับหนัง คุณปิ๊ง บอกว่า ในแง่มุมของการทำภาพยนต์ เขาได้เผชิญกับความรู้สึกกดดันนี้มาตลอด และเชื่อว่า คนทำเบื้องหลังภาพยนต์เองก็เผชิญหน้ากับความกดดันนี้เช่นกัน ดังนั้น สิ่งที่ทำคือตระหนักว่า การทำงานภาพยนต์มันไม่มีอะไรที่ตายตัว มันเป็นสิ่งที่คนทำภาพพยนต์จะต้องเผชิญ เราแค่ต้องยอมรับในความสำเร็จที่หนังจะพาเราไปได้
ผมได้รับคำถามเยอะมาก ว่าการได้กำกับบุพเพสันนิวาส ๒ สร้างความกดดันให้ผมไหม? ซึ่งผมไม่รู้จะกดดันอะไร เพราะหน้าที่ของผมคือการทำหนังให้สำเร็จและนำมันเข้าสู่โรงภาพพยนต์ นั่นเป็นความรับผิดชอบที่ได้รับ แต่เมื่อหนังฉายไปแล้ว ถือเป็นการตัดสินของคนดู เพราะสิ่งนั้นเป็นหนังของเขา เป็นรสชาติแบบที่เขาชอบ ให้คนดูตัดสินด้วยตัวเอง
บริหารกองถ่ายฉบับ ผู้กำกับร้อยล้าน
คุณปิ๊งยังได้อธิบายกระบวนการทำงานว่า ในฐานะผู้กำกับ อาชีพนี้ต้องประสานงานกับคนอื่นตลอดเวลา ในทุกขั้นตอนของการทำหนังจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างน้อย 30-40 คน ดังนั้นเวลาที่จะต้องจัดสรรไม่ใช่เวลาของคน ๆ เดียว โดยเฉพาะผู้กำกับต้องมีเวลาคาบเกี่ยวกับคนอื่นตลอดเวลา ในส่วนที่ทำได้ คือการหาเวลาตรงกลาง จึงเลือกหาเวลาของตัวเองเพื่อสแตนบายให้กับทีมงาน
ผมเข้าใจว่าคนทำอาชีพนี้ทุกคนจะรู้กันว่า เวลาที่เราต้องใช้ร่วมกัน เป็นเวลาที่หนังกำหนด ณ ช่วงนั้น ณ ตอนนั้น เพราะฉะนั้นเราจะกำหนดไม่ได้ แต่เวลาที่เรากำหนดได้ คือช่วงที่ไม่ได้ออกกองถ่าย ผมจึงพยายามให้เขาใช้เวลาอยู่กับครอบครัว หรือพักผ่อนให้มากที่สุด
พลังใจของตำนานนักพากย์ น้าต๋อย เซมเบ้| Coffee Club Ep. 3 | 15 ส.ค. 65
ก่อนจะมาเป็น คุณปิ๊ง ผู้กำกับร้อยล้าน และ จุดเริ่มต้น ‘หนังแฟนฉัน’
เป็นที่รู้กันว่าในการถ่ายทำหนังสักเรื่อง ต้องใช้วลาในกองถ่ายค่อนข้างสูง ซึ่งคุณปิ๊งก็ประสบปัญหานั้น โดยได้เล่าผ่านรายการ Coffee Club ว่าตนเคยเจอเหตุการณ์ที่คนในครอบครัวไม่เข้าใจในการทำงานอาชีพนี้มาก่อน เพราะที่บ้านยังไม่เห็นงานที่ออกมาเป็นรูปธรรม ไม่เห็นงานเป็นชิ้นเป็นอัน ซึ่งการทะเลาะครั้งนั้น ทำให้คุณปิ๊งยื่นข้อเสนอสุดท้ายกับครอบครัว ว่าขอทำหนังเรื่องสุดท้าย และเรื่องดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของหนังที่สร้างตำนาน อย่างเรื่อง "แฟนฉัน" ที่คุณปิ๊ง ยอมรับว่า ตอนนั้นเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิตในฐานะการทำภาพยนต์
ในช่วงนั้นผมตัดสินใจว่าผมยอมแล้ว ยอมกลับบ้านดีกว่าที่จะเจอแม่ร้องไห้ แต่เรายังเสียดายสิ่งที่เราอยากทำอยู่ เลยเป็นผลให้ผมเอาบทความเรื่องสั้นของเพื่อมาทำเป็นหนังสั้น ชื่อเรื่องว่า ‘อยากบอกเธอรักครั้งแรก’ ซึ่งได้ถูกต่อยอดเป็นเรื่อง ‘แฟนฉัน’
ความท้าทายของการทำภาพยนต์ และบทบาทของ ปิ๊ง อดิสรณ์ ในอนาคต
ในปัจจุบันการดูหนัง หรือ ภาพยนต์เปลี่ยนไปมาก ในฐานะของคนผลิตชิ้นงาน จะต้องมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งว่าตนเองจะทำอะไร ซึ่งต้องแล้วแต่บริบทและโปรเจคของหนังที่จะได้รับ และหากในไอเดียของหนังมีคนที่เหมาะสมกว่า คุณปิ๊ง ก็พร้อมที่จะผลักดันอยู่เบื้องหลังให้ โดยทิ้งท้ายว่า
แม้ว่าการทำงานจะกดดันมากเท่าไหร่ ต้องบริหารเวลาและกองถ่ายหลายสิบคน ในฐานะผู้กำกับ และบทบาทของการทำงานภาพพยนต์ ปิ๊ง อดิสรณ์ เชื่อว่าการทำงานควรทำที่เรารักอย่างมีความสุข และมีความสนุกที่ได้ทำมัน เพราะไม่เช่นนั้นจะไม่รู้ว่าทำไปทำไม
เครียดเรื้อรังเสี่ยงซึมเศร้า แนะ 3 วิธีบำบัดความเครียด
ทำความรู้จัก "Broken Heart Syndrome" เครียดเกินไปอาจทำร้ายหัวใจคุณ