ขอเถอะ อย่ารับสาย ! “Phone Anxiety” ภาวะกลัวจิตตกไม่กล้าคุยโทรศัพท์
หากเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น และคุณมีอาการตกใจหรือกลัว(ไม่ใช่สายเจ้าหนี้)หรือแม้กระทั่งภาวนาให้ปลายสายไม่รับและสบายใจกว่าที่ได้ใช้วิธีอื่นสื่อสารแทน คุณอาจกำลังประสบกับภาวะ Phone Call Anxiety หรือ Phone Anxiety
Phone Call Anxiety หรือ Phone Anxiety คืออาการกลัวเครียด วิตกกังวล การคุยโทรศัพท์ ไม่อยากโทรออก ไม่อยากรับสาย และรู้สึกอึดอัดทุกครั้งที่ต้องโทรออกหรือรับสาย พยายามหลีกเลี่ยงการโทร เน้นการสื่อสารผ่านการแชท เพราะกลัวการสื่อสารผิดพลาด หรือการต้องตอบโต้แบบทันทีทันใด
จากการสำรวจของพนักงานออฟฟิศในสหราชอาณาจักรในปี 2019 พบว่า 76% ของคนรุ่นมิลเลนเนียล(Gen Y) และ 40% ของเบบี้บูมเมอร์มีความกังวลใจเมื่อเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น ด้วยเหตุนี้กว่าครึ่งของคนหลังGenYจึงหลีกเลี่ยงการโทรโดยสิ้นเชิง
โรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR มีอาการ "คล้ายผีเข้า”
ไม่ทุกข์ ไม่สุข ไม่สน “ภาวะสิ้นยินดี”เฉยเมยแต่เจ็บปวด
สาเหตุหลักของ Phone Anxiety เกิดจากการที่โทรศัพท์มีเพียง ‘เสียง’ ของคู่สนทนาเท่านั้น โดยขาดบริบทอื่นๆ อย่างสีหน้า ท่าทาง หรือสายตา ทำให้ไม่สามารถคาดเดาได้ว่า คู่สนทนากำลังรู้สึกยังไงหรือคิดอะไรอยู่ทำให้เกิดการกังวล เช่นเดียวกับสิ่งที่ตัวเองพูดออกไปด้วย
โดยผู้ป่วยภาวะดังกล่าว
- รู้สึกแพนิคมากเมื่อต้องคุยโทรศัพท์
- ใช้เวลานานกว่าจะโทรหรือรับโทรศัพท์
- กังวลกับสิ่งที่จะต้องพูด
- มีอาการสั่นหรือใจเต้นเร็วและแรงกว่าปกติเมื่อต้องคุยโทรศัพท์ เหงื่อออก หายใจสั้น
- รู้สึกท้องไส้ปั่นป่วน ปากแห้ง
- พยายามหลีกเลี่ยงการคุยโทรศัพท์ หรือหาช่องทางการติดต่ออื่นแทน
- หมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่พูดไปแล้วหลังวางสาย
โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยที่เผชิญกับความกลัวหรือกังวล จะเข้ารับการบำบัดทางจิตที่เรียกว่า Cognitive Behavioural Therapy (CBT) ที่เน้นปรับความคิดและพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ หรือส่งผลเชิงลบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งนักจิตบำบัดก็จะมีวิธีที่เรียกว่า Exposure Therapy โดยการให้ผู้ป่วยเผชิญหน้ากับสิ่งที่พวกเขากลัวเพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ร่วมกับความกลัวนั้นได้ดียิ่งขึ้น ตั้งแต่ให้ผู้ป่วยเตรียมตัวฝึกฝนก่อนรับสายไปพูดคุยโทรศัพท์กับคนที่สนิทและรู้สึกสบายใจ ไปจนถึงประเมินอาการหลังพูดคุยโทรศัพท์เก็บเลเวลจนผู้ป่วยสามารถกลับมาพูดคุยได้ตามปกติซึ่งทุกอย่างจะค่อยๆเป็นค่อยๆไป
“ภาวะหลงผิดคิดว่ารัก”มโนว่าเขามีใจจนถึงขั้นคุกคามจนอีกฝ่ายหวาดกลัว
ทั้งนี้หากกังวลว่าน้ำเสียงแนะนำว่าให้ยิ้ม ก่อนรับโทรศัพท์ เพราะจะช่วยปรับน้ำเสียงของเราให้ดูซอฟต์ สดใสได้และทุกครั้งที่วางสายอย่าลืมบอกกับตัวเราเองว่า “เธอเก่งมากแล้วนะ” เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการโทรศัพท์ครั้งต่อๆ
ป่วยจริงไม่หงายการ์ด “ป่วยจิตเวช” แบบไหนละเว้นโทษได้