วิธีรับมือ “ลูกงอแงก้าวร้าว”ให้ความสัมพันธ์ครอบครัวแน่นแฟ้นไม่เป็นปัญหาสังคม
เด็กเล็กเป็นอะไรที่ควบคุมยาก จนพ่อแม่หลายคนกลุ้มใจว่าทำไม ลูกเราถึง ทั้งโวยวาย ขัดใจไม่ได้ หนักเข้าก็ปาข้าวของหรือพาลไปทำร้ายผู้อื่น จนเจ็บตัวกันไปข้าง
ปัญหาลูกงอแงเป็นปัญหาปกติที่พ่อแม่หลายคนพบเจอ แต่ในเด็กน้อยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวร่วมด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เพราะพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ถูกต้อง เพราะหากไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง ก็จะส่งผลไปถึงตอนโตได้ ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ต่อตัวเด็กเองและสังคมรอบข้าง
เด็กงอแง และ ก้าวร้าว ? อาจเกิดจากปัจจัยหลัก 3 ประการ
- ปัจจัยทางชีวภาพ เด็กก้าวร้าวอาจมีสาเหตุมาจากความบกพร่องทางชีวภาพร่างกายเมื่อมีความผิดปกติที่รบกวนสมอง
ภาวะ MIS-C ในเด็ก ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ไทยพบป่วยกว่า 100 ราย
ส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์ก็จะทำให้เกิดความก้าวร้าวได้ ซึ่งจะมีผลต่ออารมณ์ของเด็กทำให้ใจร้อนหรือใจเย็นได้
- ปัจจัยทางด้านจิตใจ คือ ลักษณะบุคลิกภาพของเด็กที่เกิดจากการเลี้ยงดูทำให้เกิดมีความมั่นคงทางด้านอารมณ์สูงหรือต่ำซึ่งเด็กที่ถูกเลี้ยงดูโดยการตามใจเอาแต่ใจตัวเองมักมีปัญหาในด้านนี้ซึ่งมักระบายความรู้สึก ด้วยการก้าวร้าว อาละวาด ต่อต้านและไม่สุภาพ
- ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่นพฤติกรรมก้าวร้าวในครอบครัวพฤติกรรมก้าวร้าวผ่านทางสื่อเช่นทีวีวิดีโอเกมฯลฯจนเกิดเป็นการซึมซับ เลียนแบบ และแสดงออกด้วยความก้าวร้าว
สูดหายใจลึกๆ และนับ 1 ถึง 10 อย่างช้าๆ จะช่วยให้ลูกเข้าใจว่าความรู้สึกเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ และผลกระทบจากอารมณ์เหล่านั้นก็อาจทำร้ายคนอื่นได้ ฉะนั้นการสูดหายใจลึกๆ และนับ 1 ถึง 10 ช้าๆ จะช่วยให้อารมณ์สงบลงได้หรือหากลูกแสดงความโกรธออกมาไม่รุนแรงนัก เช่น หน้าบึ้ง,ร้องไห้,โวยวายอยู่คนเดียว
“โรคติกส์”อาการยุกยิกแบบฝืนไม่ได้อาจสะท้อนความเครียดในเด็ก
ควรปล่อยให้เขาอยู่กับตัวเอง ไม่ควรไปห้าม หรือสั่งให้หยุด เพราะจะเป็นการสั่งและแสดงออกว่าเราไม่ยอมรับและไม่เข้าใจ ลองปล่อยให้เขาอยู่กับตัวเองสักพักก็จะดีขึ้นเอง เมื่อไหร่ที่ลูกเริ่มแสดงพฤติกรรมที่รบกวนผู้อื่น ให้แยกออกมาอยู่ในมุมที่สงบ พร้อมสอนให้เขาเข้าใจว่าการรบกวนผู้อื่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เมื่ออารมณ์สงบแล้วลูกก็จะกลับมาเป็นปกติ แต่ถ้ายังไม่หยุดและเริ่มที่จะอาละวาดให้คุณพ่อคุณแม่หยุดให้ความสนใจเขา จนกว่าลูกจะสงบลง พร้อมสอนให้รู้ว่าพ่อแม่จะเข้ามาหา เมื่อเขาสงบอารมณ์ลงแล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
“โลชั่นบำรุงผิว” จำเป็นหรือไม่สำหรับเด็กทารกที่ผิวยังบอบบาง
เจอเนื้อคู่แล้ว!? เปิดเหตุผล ทำไม “คู่รัก” ถึงหน้าตา-นิสัยคล้ายกัน