“โรคไม่รู้จักความลำบาก” ปัญหาการสปอยล์ลูกมากเกินไปของพ่อแม่ยุคใหม่
ปัญหาสังคม มักเกิดจากปัจจัยการเลี้ยงดูเป็นหลัก หนึ่งในนั้นคือเทคโนโลยีและการสปอยล์จนเกินไป จนเด็กเกิดเป็น “โรคไม่รู้จักความลำบาก” ที่เป็นเรื่องควรให้ความสำคัญเพื่อให้ดีกับทั้งตัวเองและสังคมภายนอก ก่อนที่ลูกของคุณจะกลายเป็นเด็กไม่น่ารักสำหรับทุกคน
โรคไม่รู้จักความลำบาก เกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ที่ไม่เคยปล่อยให้ลูกลำบาก จริงอยู่ที่ไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้ลูกลำบาก แต่ความรักความผูกพันต้องอยู่ภายใต้ความเป็นจริงของโลก เพราะลูกน้อยไม่ได้อยู่กับเราจลอดชีวิต การเลี้ยงแบบไข่ในหินอาจส่งผลร้ายกับเด็กมากกว่าที่คิด ดังนั้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักความรับผิดชอบ การแบ่งปัน ความมีวินัย ตลอดจนความลำบาก เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะปล่อยลูกออกไปรับมือกับโลกภายนอกได้ในอนาคต
ดาวน์ซินโดรม รักษาไม่หายแต่สุขได้ด้วยการดูแลอย่างเข้าใจ
เลี้ยง "ลูกน้อย" ให้อยู่หน้าจอ อาจก่อปัญหาหลายด้าน
ปัจจัยส่งเสริมให้ลูกโรคไม่รู้จักความลำบาก
- เทคโนโลยีครอบงำ “อย่าร้องนะ เอาไปดูนะลูก” นั้นคือประโยคเบสิกที่พ่อแม่ยุคใหม่ปัดความรับผิดชอบเพื่อให้ลูกไม่งอแง นั้นคือ การส่งเสริมให้ลูกน้อยอยู่กับเทคโนโลยีมากกว่าใช้เวลาพูดคุย ทำให้ลูกติดอยู่กับหน้าจอตลอดเวลา
- ทำให้สบายจนเคยตัว การไม่ฝึกให้ลูกทำอะไรด้วยตัวเอง มีพี่เลี้ยงหรือพ่อแม่คอยดูแล 24 ชั่วโมงจนทำให้ลูกไม่เรียนรู้ที่จะทำอะไรด้วยตัวเองเมื่อโตขึ้นจึงส่งผลให้ทำอะไรเองไม่เป็น
- ปกป้องลูกเหมือนไข่ในหิน เพราะคิดว่าทุกอย่างน่ากลัวไปซะหมด ทำให้บ่อยครั้งลูกต้องถูกจำกัดอยู่แต่ในพื้น Comfort zone หรือพื้นที่ปลอดภัยจนทำให้เด็กไม่ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคมภายนอก ทำให้ยิ่งอันตรายเมื่อต้องออกไปเจอโลกภายนอกโดยลำพัง
- ไม่ปล่อยให้ลูกลำบาก “ตัวเองเคยลำบาก ไม่อยากให้ลูกต้องลำบากตาม” ประโยคนี้ไม่ใช่ข้ออ้างของการไม่สอนถูกและสปอยล์ทุกอย่าง เพราะหากไม่ปล่อยให้ลูกทำอะไรด้วยตัวเองอาจที่ทำให้เด็กขาดความอดทนเมื่อเจอความลำบาก เริ่มจากการ ฝึกให้ลูกช่วยงานบ้าน หรือไปซื้อของให้ ทำกิจกรรมอาสาหรือออกเที่ยวหาประสบการณ์ร่วมกัน เป็นต้น เพื่อให้ลูกฝึกคิดและทำด้วยตัวเอง
- ตามใจลูกจนเกินไป อีกหนึ่งปัญหาของครอบครัวสมัยใหม่ ที่คุณพ่อคุณแม่มักจะยุ่งกับการทำงาน จนไม่ค่อยมีเวลาให้กับลูก และหาทางออกในการชดเชยสิ่งที่ลูกขาดด้วยการตามใจ หรือ แก้ปัญหาด้วยเงิน ทำให้ลูกเคยตัวว่าเอะอะโวยวายนิดหน่อยก็ได้ของที่ต้องการแล้วไม่ใช่ว่าต้องให้ออกไปทำงานหนัก แต่สอนให้เขารู้จักดูแลตัวเองได้ อะไรที่พอจะทำเองได้ก็ทำเอง ไม่ใช่รอให้คนอื่นมาทำให้
ข้อมูลสุขภาพจาก : โรงพยาบาลเปาโล
"ไข้หวัดใหญ่" โรคยอดฮิตใน "เด็ก" ที่มาพร้อมฝน
โรคหลอดเลือดสมองใน "เด็ก" ชักเกร็งกระตุก พ่อแม่ควรระวัง!