ของมันต้องมี! เช็กพฤติกรรมซื้อเพราะจำเป็นหรือเป็นโรคเสพติดการช้อปปิ้ง!
รู้ทัน โรคเสพติดการช้อปปิ้ง เช็กพฤติกรรมว่าเพราะจำเป็นต้องใช้หรือเสพติดการช้อปปิ้งป้องกันกระเป๋าฉีกเป็นหนี้สินไม่รู้จบ
โรคเสพติดการช้อปปิ้ง Shopping Addiction หรือ Oniomania เป็นความผิดปกติทางพฤติกรรมชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะคือ ผู้ป่วยจะหมกหมุ่นกับการใช้จ่าย และอยากช้อปปิ้งตลอดเวลา โดยที่สามารถหักห้ามใจ หรือหยุดการกระทำของตนเองได้ จนก่อให้เกิดผลสัยขาดสภาพคล่องทางการเงินในที่สุด
อาการของโรคเสพติดการช้อปปิ้ง ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า หากคุณมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ 4 ข้อขึ้นไป นั่นแปลว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคเสพติดการช้อปปิ้ง
- ใช้จ่ายเกินตัว เกินความจำเป็น ไม่บอกให้ครอบครัว
“ดาบสองคม” โซเชียลมีเดียจุดเริ่มต้นความรุนแรงหากเสพติด
“คลั่งรัก” แบบ Limerence ป่วยทางจิต หมกหมุนจนเสียอาการ
- รู้สึกผิดหรือละอายใจหลังจากซื้อของมาแล้ว จนเอาไปคืน
- ชอบใช้บัตรเครดิตมากกว่าเงินสด
- เพื่อให้หายโมโห หายเศร้า หายเหงา ทำให้อารมณ์ดีขึ้น และรู้สึกแย่มากหากไม่ได้ซื้อ
- ครุ่นคิดเรื่องปัญหาการเงินของตัวเองตลอดเวลา
- เริ่มรู้สึก อยากขโมยของ เพราะหักห้ามใจให้ซื้อไม่ได้
- ยอมจ่ายบิลช้า หรือเลือกเปิดบัตรเครดิตใบใหม่มาเพื่อช้อปปิ้ง
- หมกมุ่นกับการช้อปปิ้งตลอดเวลา
- ช้อปปิ้งเยอะขึ้น เพื่อให้รู้สึกพอใจเหมือนที่ผ่านมา
- เอาแต่ช้อปปิ้งจนกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น หลบงานไปช้อปปิ้ง
- ตั้งเป้าหมายเลิกช้อปปิ้งแล้วแต่ทำไม่ได้
ทำไมบางคนถึงเป็น โรคเสพติดการช้อปปิ้ง
โรคเสพติดการช้อปปิ้งมักมีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านจิตใจ ส่วนใหญ่แล้ว เมื่อรู้สึกเหงา เศร้าเสียใจหรือควบคุมอารมณ์ไม่ได้ จึงเลือกใช้เงินแก้ปัญหา โดยผู้เชี่ยวชาญเผยว่าเป็นสะการสะท้อนภาวะจิตใจ ความรู้สึก หรือแผลบางอย่างที่พวกเขาพยายามเก็บซ่อนไว้ลึก ๆ ในจิตใจ เพราะไม่อยากเผชิญหน้ากับมัน
อีกสาเหตุที่เป็นไปได้ก็คือ ความเกี่ยวข้องระหว่างการช้อปปิ้งกับการทำงานของสมอง โดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยอินเดียนา (Indiana University) ประเทศสหรัฐอเมริกา เผยว่า สมองจะหลั่งสารโดพามีน (Dopamine) และสารเอนดอร์ฟิน (Endorphin) ที่ได้ชื่อว่าเป็นสารเคมีแห่งความสุขออกมามากเกินไป พอเป็นอย่างนั้นนาน ๆ เข้า พวกเขาก็เสพติดความรู้สึกที่เกิดขึ้น และเสพติดการช้อปปิ้งในที่สุด
ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคเสพติดการช้อปปิ้ง
- โรคเสพติดการช้อปปิ้ง มักเกิดในวัยรุ่นและเพศหญิง ส่วนใหญ่จะเริ่มในช่วงวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และอาการของโรคจะค่อย ๆ ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
- มีการศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งที่เผยแพร่เมื่อปีค.ศ. 2015 ระบุว่า ชอบเข้าสังคมและคนที่มีอารมณ์หวั่นไหวง่าย หรืออารมณ์ไม่เสถียร มักเกิดโรคเสพติดการช้อปปิ้งได้ง่ายกว่าขณะที่คนที่ชอบเข้าสังคมอาจใช้การช้อปปิ้งเป็นเครื่องมือในการขยับสถานะทางสังคมของตัวเอง ส่วนคนที่มีอารมณ์หวั่นไหวง่ายอาจช้อปปิ้งเพื่อกำจัดอารมณ์ด้านลบของตัวเอง
เช็ก 10 สัญญาณความสัมพันธ์ ความรักที่ดีหรือเป็นพิษ
- หางานอดิเรกหรือกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การออกกำลังกาย การฟังเพลง
- หาตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้าให้เจอ ลองหาสาเหตุดูว่า ปัจจัยหรือเหตุการณ์อะไรที่มักกระตุ้นให้คุณอยากออกไปช้อปปิ้ง เช่น หากคุณรู้ตัวว่าชอบออกไปช้อปปิ้งหลังจากประชุมจนเครียด ในเมื่อคุณเลี่ยงการประชุมไม่ได้ ก็ควรรับมือกับความเครียดจากการประชุมด้วย
- อยู่ให้ห่างสิ่งล่อตาล่อใจ หากคุณอยากให้โรคเสพติดการช้อปปิ้งของตัวเองดีขึ้น คุณควรอยู่ในห่างสิ่งล่อตาล่อใจอย่างร้านค้าและออนไลน์ต่างๆ
- พกเงินสดไปแค่พอดีซื้อของจำเป็นจริง ๆ จำกัดการใช้เงินของตัวเอง ไม่พก บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และทางที่ดี ก่อนออกไปซื้อของ คุณควรทำลิสต์สิ่งของที่ต้องซื้อไว้ให้ชัดเจน อย่าไขว้เขวเป็นอันขาด
- ปรึกษาแพทย์-ผู้เชี่ยวชาญ อย่ามัวแต่อายหรือกลัวขายหน้า เพราะเราเชื่อว่าทั้งคนในครอบครัวเพื่อน คนรัก หรือแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญ ทุกคนพร้อมจะให้ความช่วยเหลือกับคุณอยู่แล้ว
โรคนี้เหมือนจะไม่ร้ายแรง แต่ทำกระเป๋าคุณฉีกเป็นหนี้เป็นสินไม่รู้จบได้แน่นอน จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย ทำให้มีปัญหากับคนรัก เพื่อน หรือครอบครัว และอาจทำให้บางคนกลายเป็นขโมย จนอาจโดนจับเข้าคุกได้ด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : hellokhunmor