หิวดึกบ่อย! เสี่ยง Night Eating Syndrome พฤติกรรมเกี่ยวข้องซึมเศร้า
พฤติกรรมผิดปกติการกินพบได้บ่อยในปัจจุบันเนื่องจากความเครียดและปัญหาโรคซึมเศร้า หนึ่งในนั้นคือพฤติกรรมหิวดึกกินบ่อยในช่วงกลางคืน! เช็กอาการ Night Eating Syndrome! คุณอาจเป็นหนึ่งในนั้น
Night Eating Syndrome หรือ พฤติกรรมการกินดึก ที่เกี่ยวพันกับความเครียด ไม่ใช่แค่อาการกินจุบจิบหรือแค่หิวเพราะแม้จะกินอาหารเย็นจนจุใจแล้ว คุณก็จะลุกขึ้นมาหาอะไรกินตอนดึกอยู่ดี และหากไม่ได้กิน คุณอาจจะเกิดอาการหงุดหงิดได้
อาการของผู้ป่วย Night Eating Syndrome
- ไม่หิวตอนเช้าและไม่กินมื้อเช้าก็ได้
- ระหว่างวันรับประทานได้น้อย
- หิวและรับประทานอาหารมากหลังหกโมงเย็นหรือแม้ว่าจะเข้านอนไปแล้วมากกว่า 3 ครั้งต่อคืน เพราะรู้สึกว่าถ้าไม่กินจะนอนไม่หลับ
จัดการความเครียดหลังเสพข่าวการเมือง ก่อนป่วย Political Stress Syndrome (PSS)
“ซึมเศร้า” สัญญาณ-ประเภท ส่งต่อผ่านทางพันธุกรรมได้หรือไม่?
สาเหตุ Night Eating Syndrome
ไม่น่าเชื่อว่าจริงๆ แล้วนี่ไม่ใช่ความผิดปกติของการกิน..แต่มีแนวโน้มมาจากความผิดปกติทางด้านจิตเวช!! ทั้งความเครียดที่มีมากเกินไป อาการซึมเศร้า ความวิตกกังวลและโรคนอนไม่หลับ จึงไม่น่าแปลกเลยที่วัยทำงานจะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจป่วยเป็นโรคนี้ได้โดยไม่รู้ตัว
แน่นอนว่าการกินดึกๆ หรือกินแล้วสลับกับนอนแบบนี้ ไม่เพียงแค่ทำให้เป็นโรคอ้วน…แต่ยังส่งผลให้เกิดโรคท้องอืด ท้องเฟ้อ กรดไหลย้อน โรคกระเพาะ ความดันโลหิตสูง รวมไปถึงการลดประสิทธิภาพการทำงานของสมองที่เกิดมาจากการสะดุ้งตื่นบ่อยครั้งอีกด้วย
พฤติกรรม "การนอกใจ" ทั้งหญิงและชายตามหลักจิตวิทยาและผลการวิจัย
พฤติกรรมนี้รักษา Night Eating Syndrome
- ปรึกษานักโภชนาการเป็นผู้จัดตารางอาหารการกินให้ถูกต้องในช่วงเวลาปกติ
- หลีกเลี่ยงความเครียด พยายามหาวิธีลดความเครียด หรือเข้าพบแพทย์หากมีอาการเครียดจนเป็นโรคนอนไม่หลับ
- พบจิตแพทย์ รักษาด้วยวิธีทางจิตวิทยา ก่อนจะลุกลามป่วยเป็นโรคอื่นร่วมด้วย
- รักษาด้วยฮอร์โมน ในผู้ป่วยบางรายมีสาเหตุมาจากฮอร์โมน แพทย์จึงทำการรักษาด้วยการปรับฮอร์โมนเพื่อให้เข้าสู่ภาวะปกติ
เพราะหากปล่อยให้อาการ Night Eating Syndrome เรื้อรังไปนานๆ ก็อาจนำมาซึ่งโรคร้ายแรงในอนาคตได้ ฉะนั้นควรรักษาเพื่อให้ทั้งระบบร่างกายและสภาพจิตใจแข็งแรงไม่ก่อโรค
ขอบคุณข้อมูลจาก: โรงพยาบาลพญาไท
ภาพจาก : freepik
เช็ค 7 สัญญาณโรคทางจิตเวช พบ 1 ข้อควรปรึกษาจิตแพทย์
5 อาการเด่นโรคจิตเภท เจอ 2 ข้อควรรีบพบจิตแพทย์