เสพข่าวการเมืองเยอะเสี่ยงโรค Political Stress Syndrome ใครบ้างต้องระวัง ?
รู้หรือไม่ ? การเสพข่าวมากเกินไป จนเครียดและเกิดอารมณ์ฉุนเฉียวกับข่าวนั้น ๆ อาจจะทำให้เกิดเป็นโรค Political Stress Syndrome หรือ PSS โดยไม่รู้ตัว เสี่ยงต่อสภาวะซึมเศร้า ร่วมรู้อาการ- สาเหตุและวิธีป้องกันกับ คุณหมอโอ๊ต นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะ ผู้อำนวยการอาวุโสโครงการพิเศษพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสาร ประจำศูนย์การแพทย์ รพ.กรุงเทพ
คุณหมอโอ๊ต นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะ ผู้อำนวยการอาวุโสโครงการพิเศษพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสาร ประจำศูนย์การแพทย์ รพ.กรุงเทพ เปิดเผยในรายการอาการน่าเป็นห่วง ทาง PPTV ถึง โรค Political Stress Syndrome หรือ PSS จากการเสพข่าวการเมืองมากเกินไป พบมากในกลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา วัยทำงาน และวัยเกษียณ ที่ไม่ใช่เกิดแค่กับคนไทยแต่เกิดขึ้นกับทั่วโลกซึ่งเป็นปกติที่มนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคมจะใส่ใจสิ่งรอบตัวโดยเฉพาะเรื่องที่ใกล้ตัวและส่งผลกระทบโดยตรงอย่างการเมือง
อาการเครียดจากการเมือง "Political Stress Syndrome" | อาการน่าเป็นห่วง EP.67 | PPTV HD 36
ความเครียดก่อภาวะ Broken Heart Syndrome ภัยเงียบกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
แต่ละคนก็มีชุดความคิดของตัวเอง จึงไม่แปลกที่จะเกิดความเห็นต่าง แต่หากใช้เวลากับมันมากๆ มากจนกินเวลาชีวิตหลายส่วนไป ไม่แปลกที่จะเครียด ซึ่งความเครียดนี้แหละส่งผลกระทบกับร่างกายและจิตใจโดยตรง จนกระทั่ง World Health Organization (WHO) ได้ออกมากำหนดเป็นกลุ่มโรค PSS ดังกล่าว
ปัจจัยโรค Political Stress Syndrome หรือ PSS
- เวลาในการเสพข่าวตลอดเวลา
- สภาวะจิตและปัญหาทางอารมณ์แต่เดิมอาทิ ภาวะซึมเศร้า,ควบคุมตัวเองไม่ได้
คุณหมอโอ๊ต ระบุว่าเราอาจจะตั้งเป็นสูตรเฉพาะไม่ได้ว่าควรดูข่าวมากน้อยแค่ไหนในแต่ละวัน เพราะคำว่ามากหรือน้อยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่เราจะเป็นคนบอกได้เอง ถ้าเมื่อไหร่ที่รู้สึกเครียด ปวดหัว มือสั่น ตัวสั่น นั้นคือสัญญาณที่ต้องพักจากข่าวสารได้แล้ว โดยมีผลการวิจัยของกรมสุขภาพจิตและจากประเทศสหรัฐอเมริกาว่าการเสพข่าวแบบนี้ควรใช้เวลาประมาน40นาที- 2 ชั่วโมง หรือ วันละ 3 ครั้ง/ครั้งละ 40 นาที
อาการของ Political Stress Syndrome หรือ PSS แบ่งเป็น 3 ส่วน
- สภาวะจิตใจ เกิดความกังวลมากเป็นพิเศษ ถึงทิศทางการเมือง ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบัน อาจเกิดภาวะซึมเศร้าหมดหวัง ที่มีงานวิจัยทั่วโลกระบุว่าผู้ป่วยซึมเศร้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญหลายเปอร์เซ็นต์ หรือเกิดเป็นความโกรธที่แสดงออกทางพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป
- สภาวะร่างกาย อาการข้างเคียงจากความเครียด ทำให้ร่างกายรวน ปวดศีรษะ ตึงที่บ่าไหล่คอ นอนไม่หลับ สภาวะระบบอื่นๆ เช่นใจสั่นมือสั่น อาหารไม่ย่อยทางอืด
- พฤติกรรมการอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อาจเกิดความร้าวฉานในครอบครัวได้ หากบริหารจัดการไม่ได้
ป้องกัน อาการของ Political Stress Syndrome หรือ PSS
- ลดการเสพข้อมูลลง เลือกแหล่งข่าวที่เป็นมาตรฐานเชื่อถือเป็นกลางที่สุด เพียง 1-2 ที่
- บริหารเวลาให้เหมาะสม
- จัดการความเครียดของตนเอง อาทิ เปลี่ยนไปดูบันเทิง นอน หรือรับประทานอาหาร
- สื่อสารโดยไม่ใช่อารมณ์ตัวเองเป็นที่ตั้ง และยอมรับว่าทุกคนมีสิทธิเป็นของตนเอง
โรคขาดความเมตตา ภาวะเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ดาบ 2 คม ยุคไซเบอร์
ดูแลผู้ป่วย Political Stress Syndrome หรือ PSS
คุณหมอโอ๊ต ระบุว่า ค่อนข้างละเอียดอ่อนและขึ้นอยู่กับควมสัมพันธ์ว่าสามารถพูดกล่าวตัดเตือนได้หรือไม่ คนที่เป็น PSS ค่อนข้างเสพและอยู่กับจอเยอะ ควรชวนออกไปทำกิจกรรมอย่างอื่น หาวิธีดึงเขาออกมาจากการเสพข่าว แต่หากไม่ไหวจริงๆ การปรึกษานักจิตวิทยาก็เป็นทางออกที่ดี เรื่องการเมืองไม่มีใครถูกใครผิดเพราะถูกหล่อหลอมมาไม่เหมือนกันในแต่ละรุ่น โดยเฉพาะวันนี้ที่เราอยู่ร่วมกันอยู่ในหลายเจเนอเรชั่น การเข้าใจความต่างและยอมรับว่าเราไม่มีทางเหมือนกัน และในขั้นต่อไปว่าเราเปลี่ยนใครไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรให้เคารพความเห็นซึ่งกันและกันได้ แม้จะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เมื่อไหร่ที่รู้เท่าทันความต่างก็จะมีวิธีที่ทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบและมีความสุข
ข้อมูลสุขภาพ : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS
จิตแพทย์ แนะ ปชช.เปิดใจความเห็นต่าง หวั่นใช้วาทกรรมสร้างความเกลียดชัง
สัญญาณ “เครียดสะสม”นอนไม่หลับ-คิดวนเวียนละเลยเสี่ยงซึมเศร้า-วิตกกังวล