โรคขาดความเมตตา ภาวะเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ดาบ 2 คม ยุคไซเบอร์
“โรคขาดความเมตตา” ที่เกิดขึ้นจริงแล้วในปัจจุบันโดยเฉพาะในโลกโซเชี่ยวมีเดีย และในรั้วโรงเรียนอย่างที่เราเรียกกันว่าการ “บูลลี่” ทั่วโลกให้ความสนใจเรื่องนี้อย่างมาก เพราะพฤติกรรม “สนุกเขา แต่ไม่สนุกเรา” นั้นนำมาซึ่งความสูญเสียง เราสามารถหยุดพฤติกรรมเหล่านี้ได้เริ่มจากตัวเอง!
คุณหมอโอ๊ต นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะ ผู้อำนวยการอาวุโสโครงการพิเศษพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสาร ประจำศูนย์การแพทย์ รพ.กรุงเทพ อธิบายถึง โรคขาดความเมตตา หรือ Compassion Deficit Disorder (CDD) คนที่ใช้คำนี้เป็นคำแรกคือ ดร. ไดแอน เลวิน (Dianne Levin) ผู้เชี่ยวชาญพัฒนาการเด็กและนักพฤติกรรมเด็กในมหาวิทยาลัยที่เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา ซึ่งลักษณะของโรคเป็นการขาดความเมตตาและเอื้ออาทรณ์ซึ่งกันและกัน
"โรคขาดความเมตตา" มีอยู่จริง! เช็กอาการเข้าข่าย | อาการน่าเป็นห่วง EP.50 | PPTV HD 36
สสส.แนะวิธีรับมือถูกบูลลี่-เยียวยาใจ หลังหญิงวัย 15 ปี ผูกคอดับ
ซึ่งนั้นเป็นพื้นฐานสังคมที่ทำให้อยู่ร่วมกันได้ และพบว่าในวันนี้ สิ่งเหล่านี้หายไปเรื่อยๆ ขณะเดียวกันมีความรุนแรงมากขึ้น พร้อมกับโซเชี่ยลที่เติบโตขึ้น จนกระทั่งมีการบัญญัติว่าอาการและพฤติกรรมแบบนี้เป็นโรคทางบุคลิกภาพแบบหนึ่งและถูกบรรจุไปในกลุ่มโรคด้านบุคลิกภาพทางจิตแพทย์
สาเหตุเกิดโรคขาดความเมตตา
คุณหมอโอ๊ต ระบุว่า ดร. ไดแอน ได้ระบุไว้ว่าเด็กหลังจากยุค 2000 (Y2K) หรือ Gen Z ที่ โตมากับโซเชี่ยล จึงทำให้มีพฤติกรรมแตกต่างจากเด็กเจนก่อนหน้า เช่น ทำและพูดโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบกับคนอื่น ไม่ค่อยรู้สึกยินดียินร้ายกับใครหรืออะไร โดยเฉพาะในโลกโซเชียลเนื่องจาก “ไม่มีตัวตนที่แท้จริง” จึงไม่มีความเกรงใจหรือยับยั้งชั่งใจ ที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเดียวกันไม่ใช่แค่เด็ก แต่ผู้ใหญ่ (เบบี้บูมเมอร์)ที่ใช้เวลาอยู่กับโซเชียลนานๆ ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดได้เช่นกันแม้จะสัดส่วนน้อยกว่า Gen Z ก็ตาม นักวิชาการจึงระบุเอาไว้ว่า “นี้ไม่ใช่เพียงปรากฎการทางสังคม แต่เป็นการป่วยของสุขภาพจิต”
คุณหมอโอ๊ต ยังยกตัวอย่าง เด็ก 2 กลุ่มที่โตมาแตกต่างกัน เด็กกลุ่มที่ 1 เมื่อร้องไห้พ่อแม่จะปลอบอย่างอ่อนโยนด้วยคำพูดและความรู้สึก จะมี human connection หรือความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ มากกว่าเด็กกลุ่มที่ 2 เมื่อร้องไห้จะถูกทำให้หยุดด้วยการยื่นมือถือให้ ที่จะเรียนรู้อะไรที่สั้นและกระชับไม่ได้เรียนรู้เรื่องของสายสัมพันธ์ระหว่างกัน ที่มีมากขึ้นในปัจจุบัน เป็นที่มาของการ “บูลลี่” และโรคขาดความเมตตา
อาการของโรคขาดความเมตตา
- เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง
- ไม่มีความยับยั้งชั่งใจ
- มีพฤติกรรมไซเบอร์บูลลี่
คนที่เป็นจะรู้ตัวหรือไม่ ?
คุณหมอโอ๊ต ระบุว่า อันที่จริงโรคขาดความเมตตา คือ สุขภาพจิตที่ไม่แข็งแรง ไม่ถึงกับการเป็นโรคที่รักษาด้วยยาแล้วหาย ซึ่งมีหลายระดับและเฉพาะบุคคล ซึ่งอาจจะรู้ตัวหรือไม่ก็ได้ ซึ่งมีคนบางจำพวกที่คิดว่า สิ่งที่คิดและทำเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ที่อาจจะรู้ตัวอีกทีเมื่อมีปัญหาทางกฎหมายตามมา ที่เห็นข่าวฟ้องร้องกันในปัจจุบัน
โรคขาดความเมตตา พัฒนาไปสู่เหตุการณ์อื่นๆได้หรือไม่ ?
คุณหมอโอ๊ต เปิดเผยว่า โรคขาดความเมตตาสามารถพัฒนาไปสู่ปัญหาอื่นๆได้ เช่นกัน กราดยิง หรือก่อเหตุวิวาทกัน ก็ถือว่าเป็นขั้นสุดจากโรคดังกล่าว ตนเองมองว่าหากผู้ป่วยไม่รู้ตัวคนรอบข้างก็มีส่วนที่จะช่วยรักษาได้ ด้วยการสังเกตพฤติกรรม
โรคดังกล่าวต้องแก้ด้วยตัวเอง สังคมถึงจะดีขึ้น
แก้ปัญหา-รักษาโรคขาดความเมตตา?
- ในส่วนของครอบครัวและส่วนบุคคล ผู้ปกครองต้องช่วยกันดูแล การพัฒนา EQ และความสัมพันธ์ในครอบครัว สำคัญมากๆ ในช่วง 2-5ปีแรกเกิด โดยการให้ความรู้โลกโซเชียลภายใต้การควบคุม และจำกัดระยะเวลาการใช้ ไม่ใช่แค่โซเชียลเท่านั้นแต่หมายรวมถึงของเล่นต่างๆ และเกมที่ทันสมัยมากขึ้นที่อาจมีเนื้อหาไม่เหมาะสมสอดแทรกมา ที่ในชีวิตจริง “ไม่สามารถเริ่มต้นใหม่ได้เหมือนในเกม”
- ระดับนโยบายวงกว้าง ในเรื่องของการศึกษา หรือการจ้างงานที่ต้องมีระบบระเบียนที่ซับพอร์ตและป้องกัน หากพบใครที่มีพฤติกรรมเหล่านี้อาจมีระบบด้านสุขภาพจิตที่รองรับ
สอนลูกติดเกราะป้องกันบูลลี่และไซเบอร์บูลลี่ลดปัญหาแผลใจระยะยาว
รร.เปิดวงจรปิด-เด็กกระโดดตึกเอง เร่งหาสาเหตุ!
หยุดโรคขาดความเมตตาได้หากรู้จักสัญญาณเตือน
- หากมีพฤติกรรมเสพติดโซเชียล
- เพื่อนในโซเชียลน้อยลง
- ความสัมพันธ์คนในครอบครัวและรอบข้างแย่ลง
หากรู้ตัวแล้วไม่สามารถหยุดพฤติกรรมด้วยตนเองสามารถปรึกษาจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อคำแนะนำที่เหมาะสมได้ ซึ่งยังไม่สายที่จะปรับพฤติกรรมตนเองใหม่
สำหรับเหยื่อที่ถูกบลูลี่
คุณหมอโอ๊ต ขอให้กำลังใจและไม่มีใครสมควรที่จะถูกทำร้าย ซึ่งการตอบโต้ด้วยตนเองอาจจะยก จึงแนะนำว่าให้ขอความช่วยเหลือกับคนรอบข้างที่ไว้ใจได้อย่าเกรงใจหรือกลัวที่จะขอความช่วยเหลือ หากไม่กล้าที่จะพูดคุยกับคนรอบข้างสามารถปรึกษา สายด่วนสุขภาพจิต1323 ได้เช่นกัน
คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว และคุณก็ไม่ได้เป็นจุดศูนย์กลางของโลกใบนี้ ทุกคนต้องเรียนรู้คนละครึ่งทาง
ข้อมูลสุขภาพ : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS
“Dead Inside” ภาวะใจพังตายจากข้างใน ปล่อยเรื้อรังอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้า