ความเครียดก่อภาวะ Broken Heart Syndrome ภัยเงียบกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
การใช้ชีวิตปัจจุบันคนเราต้องเจอกับความเครียดไม่เว้นแต่ละวัน รู้หรือไม่ อาจส่งเสริมให้เกิด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด หรือ ภาวะหัวใจสลาย หรือ Broken Heart Syndrome ที่แม้ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนแต่เสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันและเสียชีวิตได้
ภาวะหัวใจสลาย หรือ Broken Heart Syndrome เป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด ซึ่งค้นพบครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นในชื่อเรียกว่า Takotsubo Cardiomyopathy พบมากในหญิงวัยกลางคน มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากโรคทางกาย หรือความเครียดด้านจิตใจส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจไม่บีบตัวและอ่อนกำลังลงชั่วคราว หัวใจด้านล่างซ้ายผิดปกติโป่งออกรูปร่างคล้ายไหจับปลาหมึกของญี่ปุ่น อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันและเสียชีวิตได้
"อาการใจสั่น" แบบไหนควรพบแพทย์เสี่ยงสัญญาณโรคหัวใจ
11 ความเสี่ยง “โรคหัวใจ” เช็กอาการเจ็บหน้าอกแบบไหนควรพบแพทย์
สาเหตุ Broken Heart Syndrome ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่
- ความเครียดจากปัญหาต่าง
- ความเครียดทั้งในระยะสั้นและระยะยาวสะสม ทำให้หลอดเลือดหดตัว หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดและล้มเหลวได้
- ฮอร์โมน กลุ่มอาการนี้หรือโรคนี้ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะหมดไป ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทนต่อฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด (Stress Hormone) ในร่างกายได้น้อย อาจทำให้ Broken Heart Syndrome ได้
อาการ Broken Heart Syndrome
- แน่นหน้าอก
- เจ็บหน้าอก
- หอบเหนื่อย
- หายใจลำบาก
- หน้ามืด
- ความดันเลือดต่ำ
การตรวจวินิจฉัย Broken Heart Syndrome อายุรแพทย์หัวใจจะพิจารณาจากอาการ ประวัติความเครียด และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นสำคัญ ประกอบไปด้วย
- ซักประวัติ
- ตรวจเลือด
- ในผู้ป่วย Broken Heart Syndrome ลักษณะคลื่นหัวใจไฟฟ้าผิดปกติเหมือนกราฟไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน สามารถตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram (ECG/EKG)ได้
- ตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) ในผู้ป่วย Broken Heart Syndrome ลักษณะการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายผิดปกติ ความแรงในการบีบตัวของหัวใจจะลดลง หัวใจห้องล่างซ้ายอ่อนกำลัง
- การฉีดสีตรวจหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography : CAG)
ภาวะ Broken Heart Syndrome ส่วนใหญ่ต้องรับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล มีอาการตั้งแต่น้อยจนถึงมากและรุนแรงได้เช่นกัน วิธีการรักษาหากไม่รุนแรงอายุรแพทย์โรคหัวใจจะให้การรักษาด้วยยา สำหรับกรณีที่รุนแรงและมีภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมด้วยอาจต้องมีการใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ และต้องรักษาภาวะเครียดที่เป็นปัจจัยกระตุ้นร่วมด้วย จากรายงานวารสารต่างประเทศส่วนใหญ่หัวใจจะกลับมาปกติ มีโอกาสเสียชีวิตน้อยประมาณ 1% โอกาสเป็นซ้ำได้ 2 – 5%
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังฉีดวัคซีนเชื้อเป็น (mRNA) กลุ่มวัยรุ่นชายเสี่ยงกว่า
การป้องกัน Broken Heart Syndrome
- ทำใจให้สบาย ไม่เครียด ปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิด นั่งสมาธิ
- พูดคุยกับคนในครอบครัวและเพื่อน เพื่อแบ่งปันเรื่องราวและปัญหา อย่าแบกความเครียดไว้คนเดียว
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- สนุกกับชีวิต ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการท่องเที่ยว ทำอาหาร เดินป่า ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ
แน่นอนว่าในบางครั้งเราไม่สามารถควบคุมความเครียดได้ การตรวจเช็กสุขภาพหัวใจนอกจากตรวจเช็กสุขภาพทุกปี เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงต่ภาวะโรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม Broken Heart Syndrome สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้จากความเครียด ทางที่ดีที่สุดคือดูแลหัวใจให้เข้มแข็ง ตั้งรับกับทุกปัญหาด้วยความเข้าใจ จัดการความเครียดอย่างถูกวิธี หากมีอาการผิดปกติแนะนำให้รีบพบแพทย์ทันที
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
เทคนิค "กระโดดเชือก" อย่างถูกต้อง หนีโรคหัวใจ ช่วยระบบหมุนเวียนโลหิต
สัญญาณ “เครียดสะสม”นอนไม่หลับ-คิดวนเวียนละเลยเสี่ยงซึมเศร้า-วิตกกังวล